‘บลู ริเวอร์ โปรดักส์’ ผู้ส่งออกผักและผลไม้ ซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง ตอบโจทย์มาตรฐานออร์แกนิคสากล

SME in Focus
12/12/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 4686 คน
‘บลู ริเวอร์ โปรดักส์’ ผู้ส่งออกผักและผลไม้ ซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง ตอบโจทย์มาตรฐานออร์แกนิคสากล
banner
‘บริษัท บลู ริเวอร์ โปรดักส์ จำกัด’ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผักและผลไม้สด เพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ วางโครงสร้างการจัดการซัพพลายเชนไว้เป็นระบบอย่างเข้มแข็ง สามารถควบคุมคุณภาพได้ตั้งแต่ต้นทางการปลูก ไปจนถึงการพัฒนาเพื่อเตรียมส่งออก ถือเป็นสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ



คุณสุนทร ศรีทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท บลู ริเวอร์ โปรดักส์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเป็นผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายผลไม้และผักสดมายาวนานกว่า 20 ปี โดยมีความเชี่ยวชาญตลอดกระบวนการและห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจ ทั้งในฐานะผู้ปลูก ผู้บรรจุหีบห่อ และผู้ส่งออกไปจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก

ปัจจุบันบริษัทมีสินค้าหลายประเภทที่ผลิตด้วยความเอาใจใส่เพื่อส่งมอบให้ผู้บริโภค ประกอบด้วย 
1.ผักและผลไม้สด ที่ผ่านกระบวนการปลูกแบบมาตรฐานและไร้สารตกค้าง
2. ผักและผลไม้สด ที่มีกระบวนการปลูกแบบออร์แกนิค100% 
3. ชุดผัก READY TO EAT/COOK ที่ผู้บริโภคนำมาประกอบอาหารแบบง่าย ๆ
4. ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานของ Fair Trade 
5. ผลไม้ออร์แกนิคแปรรูปในแบบบรรจุภัณฑ์กระป๋องและกระปุกแก้ว 



ทั้งนี้ นอกจากบริษัทจะมีแปลงเกษตรเป็นของตัวเองกว่า 20 ไร่แล้ว ยังมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายเกษตรพันธสัญญาเกือบ 500 ครัวเรือน โดยมีทีมนักวิชาการที่เชี่ยวชาญเข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการปลูกพืชให้มีคุณภาพ และสอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานด้านออร์แกนิค ของกลุ่มลูกค้า รวมทั้งเงื่อนไขทางการค้าในแต่ละประเทศ เช่น GlobalGAP, GRASP, Fairtrade, F2F, SMETA, Organic EU / CANADA และ IFOAM 

“ที่เราสามารถผลิตสินค้าให้ผ่านมาตรฐานด้านออร์แกนิคได้นั้น เพราะเราเป็นผู้ประกอบการที่สามารถเข้าไปจัดการซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมนี้ได้ทุกกระบวนการ เริ่มตั้งแต่มีทีมวิชาการเข้าไปกำหนดให้เกษตรกรเครือข่ายต้องปลูกตามที่เราออกแบบโปรแกรมให้ การมีกระบวนการขนส่งที่มีมาตรฐาน มีขั้นตอนการแปรรูปที่มีคุณภาพ ไปจนถึงขั้นตอนการส่งออก ด้วยกระบวนการตรวจสอบที่เข้มงวดจากมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป หรือ EU หรือประเทศต่าง ๆ ตามที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เกษตรกรและเราต้องเดินหน้าไปพร้อมกันจึงจะสามารถยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรได้”



วางโครงสร้างซัพพลายเชนอย่างเป็นระบบ

อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยพืชผลทางการเกษตรบางชนิดเป็นสินค้าที่ให้ผลผลิตตามฤดูกาล ดังนั้น บริษัทจึงมีการวางแผนเพื่อกระจายความเสี่ยงและป้องกันปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอย่างรอบด้าน เช่น หากเป็นผลไม้ตามฤดูกาลอย่างลิ้นจี่ ก็จะมีการกระจายความเสี่ยงด้วยการรับซื้อจากหลายพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น อัมพวา ไทรโยค และเชียงใหม่ เนื่องจากสินค้ากลุ่มนี้สามารถให้ผลผลผลิตตามสภาพภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่ต่าง ๆ ได้



ทั้งนี้ เนื่องจากเครือข่ายเกษตรกรของบริษัทกระจายอยู่ในหลายพื้นที่และมีลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่เพาะปลูกแตกต่างกัน ดังนั้น จึงต้องมีการออกแบบโปรแกรมให้กับเกษตรกรโดยแตกต่างกัน ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิดที่ปลูก หรือความเอื้ออำนวยของพื้นที่เพาะปลูก เช่น หากเป็นพืชไร่ที่เกษตรกรมีพื้นที่เพาะปลูกน้อย หรือหากเป็นพืชผักที่มีการดูแลช่วงเพาะปลูกหลายขั้นตอน ก็อาจต้องรวมกลุ่มกันเพื่อให้กระบวนการจัดการมีความคล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น

โดยก่อนจะทำข้อตกลงทุกครั้ง บริษัทจะมีหน่วยงานที่บริหารจัดการด้านความสัมพันธ์ที่รับช่วงต่อจากทีมวิชาการเข้าไปหารือและวางแผนร่วมกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด เพื่อหาแนวทางให้เกิดความสะดวกในการทำงานอย่างราบรื่น ซึ่งจะส่งผลให้ระบบซัพพลายเชนของบริษัทเกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย



สร้างความเข้าใจให้เกษตรกรเห็นถึงกลไกของตลาด

คุณสุนทร กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างน่าสนใจว่า ก่อนบริษัทจะเข้าไปให้การส่งเสริมจะมีการวิเคราะห์ด้านการบริหารต้นทุนและราคาจำหน่ายด้วยความเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกษตรกรได้รับการแบ่งปันผลกำไรสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมและมีความคุ้มค่า ภายใต้การประกันราคาสินค้าที่มีมาตรฐานและให้ผลตอบแทนที่ดี

ขณะเดียวกัน ยังมุ่งสื่อสารไปยังเกษตรกรให้มีความเข้าใจถึงกลไกของตลาดสินค้าเกษตร ว่าราคาผลผลิตแต่ละอย่างย่อมมีปัจจัยทำให้ราคารับซื้อแตกต่างกัน เช่น ราคาสินค้าธรรมดาอาจต่ำกว่า ราคาสินค้าออร์แกนิค เป็นต้น ทั้งยังชี้ให้เห็นถึงต้นทุนการดำเนินงานแต่ละกระบวนการอย่างละเอียด ตั้งแต่การแปรรูปไปจนถึงการวางจำหน่ายถึงผู้บริโภค จึงทำให้เกษตรกรเห็นถึงความจริงใจในการทำธุรกิจของบริษัท และเกิดความสัมพันธ์ที่ดีจนมีการทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนาน



ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับซัพพลายเชนสินค้าทางการเกษตร

เรื่องนี้ บริษัทได้ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลไม้ด้วยการยกระดับสินค้าพืชผักและผลไม้เพื่อการส่งออก โดยใช้กระบวนการผลิตผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาสินค้าให้มีอยู่ได้นานขึ้น เช่น การยืดอายุของผลผลิตลำไยให้อยู่ได้นานกว่า 45 วัน เพื่อให้สะดวกต่อการขนส่งทางเรือไปยังต่างประเทศได้ เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ยังมีเทคโนโลยีเครื่องสแกนมะพร้าว ด้วยระบบ NIR ที่มีความรวดเร็ว แม่นยำ สามารถวิเคราะห์จำนวนชั้นเนื้อของมะพร้าวอ่อน และช่วยลดความเสี่ยงในการส่งออกมะพร้าวที่มีชั้นเนื้อไม่ได้ตามเกณฑ์ไปยังผู้บริโภค อีกทั้งยังช่วยลดความสูญเสียจากการแตกของมะพร้าวในระหว่างการขนส่ง ซึ่งเกิดจากการส่งออกมะพร้าวที่อ่อนเกินไปได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีที่เป็นระบบจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถตรวจสอบเกี่ยวกับกระบวนการปลูกหรือการใช้ยาได้อย่างสะดวก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เกษตรกรจะส่งตรงมายังโรงงาน ทำให้บริษัทลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนลงได้เป็นอย่างมาก และมีการควบคุมมาตรฐานได้ดียิ่งขึ้น



ยกระดับ ตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งออกอย่างเข้มงวด

สำหรับแนวทางการตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนส่งออก บริษัทจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะหากสินค้าที่ส่งออกไปมีสารปนเปื้อนหรือศัตรูพืชหลงเหลืออยู่ก็อาจทำให้สินค้าโดนแบนได้ โดยบริษัทได้มีแนวทางตามมาตรการสุขอนามัย

เพื่อส่งออกไปต่างประเทศตามข้อกำหนดและเงื่อนไขนำเข้าของประเทศผู้นำเข้า ด้วยการดำเนินการตรวจสารปนเปื้อน พร้อมกับการกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องตามมาตรฐานและหลักวิชาการ เช่น การนำพริกไปแช่ในน้ำร้อนที่ระดับอุณหภูมิ 48 องศาเซลเซียส เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีหนอนแมลงแอบแฝง หรือศัตรูและโรคพืชติดไปยังประเทศปลายทาง เป็นต้น



ทำสินค้าออร์แกนิคต้องวิเคราะห์องค์ประกอบอย่างรอบด้าน

เรื่องนี้ตนมองว่า ด้วยตลาดอาหารออร์แกนิคมีสัดส่วนเพียง 2% ของตลาดอาหารทั้งหมดในโลก ดังนั้น ทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ต้องการจะทำสินค้าออร์แกนิคต้องมีการวิเคราะห์องค์ประกอบของตลาดอย่างรอบด้าน ทั้งการหาตลาดและกระบวนการผลิต พร้อมทั้งต้องมีการประเมินความเสี่ยงให้ดี

เนื่องจากสินค้าประเภทนี้จะใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงไม่ได้จึงอาจทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นทั้งโรคและศัตรูพืชที่จะเข้ามาคุกคามได้ง่าย จึงต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ รวมทั้งยังมีปัจจัยด้านลักษณะภูมิประเทศในแต่ละพื้นที่เป็นตัวแปรสำคัญ จึงทำให้ได้ผลผลิตแตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีสัดส่วนเพียง 2% แต่ในปัจจุบันสถานการณ์แนวโน้มตลาดสินค้านี้ยังคงเติบโตเพิ่มขึ้น 2 ดิจิตในทุกปี และเป็นที่น่าสนใจเพราะตลาดอาหารออร์แกนิคทั่วโลกมีมูลค่าสูงหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ หากผู้ประกอบการสามารถพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับกฎหมายและตอบโจทย์กับผู้บริโภคแต่ละประเทศได้ ก็จะเป็นโอกาสที่ดีและมีโอกาสนำเม็ดเงินเข้าประเทศและสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจได้

ซึ่งหากผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตรวจประเมินเพื่อขอใบรับรองพร้อมกัน ก็จะช่วยให้การดำเนินการมีความคล่องตัวมากขึ้น และลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณที่ถูกใช้เกี่ยวกับการยื่นขอใบรับรองได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ควรตระหนักว่าการจะผลิตสินค้าป้อนสู่ตลาดออร์แกนิคต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์และประเมินความเสี่ยงให้รอบด้านอยู่เสมอ



สร้างทัศนคติที่ดีให้เกษตรกรพัฒนาสู่ซัพพลายเชนที่ยั่งยืน

คุณสุนทร กล่าวในช่วงท้ายว่า การจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าทางการเกษตรให้ประสบความสำเร็จได้ ผู้ประกอบการต้องสร้างการตระหนักรับรู้คุณค่า และประโยชน์ที่ได้รับจากการทำออร์แกนิค เพื่อนำไปสู่ทัศนคติการยกระดับมาตรฐานผลผลิต ซึ่งเกษตรกรเองต้องเปิดใจและทำความเข้าใจเรื่องกลไกของตลาดไว้ด้วย หากเข้าใจในองค์ประกอบเหล่านี้อย่างรอบด้าน ก็จะนำไปสู่การเป็นซัพพลายเชนของธุรกิจการเกษตรที่เข้มแข็ง

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่มีความสนใจในการทำเกษตรออร์แกนิคมากยิ่งขึ้น เพราะมีความรู้ความเข้าใจในกลไกของตลาด และอยากพัฒนาอาชีพเกษตรกรที่รุ่นพ่อแม่สร้างไว้ให้มีมูลค่าเพิ่ม ด้วยกระบวนการทำงานที่มีมาตรฐาน ต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ‘คุณสุนทร ศรีทวี’ ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะในฐานะผู้ประกอบการหรือภาคธุรกิจ ต้องมีการวางโครงสร้างและการจัดการที่ดี เพื่อนำไปสู่การสร้างซัพพลายเชนที่เข้มแข็งจากต้นทางอย่างเกษตรกร ส่งต่อไปยังตลาดหรือผู้บริโภคได้อย่างปลอดภัย ภายใต้กลไกการตลาดที่มีเสถียรภาพ ส่งผลให้ ‘บลู ริเวอร์ โปรดักส์’ เติบโตควบคู่กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน


รู้จัก ‘บลู ริเวอร์ โปรดักส์’ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 
https://www.blueriver.co.th/about-us/
https://www.facebook.com/Blueriverproducts

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
74 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
189 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
812 | 17/04/2024
‘บลู ริเวอร์ โปรดักส์’ ผู้ส่งออกผักและผลไม้ ซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง ตอบโจทย์มาตรฐานออร์แกนิคสากล