ทำความรู้จัก ‘Personalized Marketing’ การตลาดแบบตอบโจทย์ ตรงใจ สำหรับ SME โดยใช้ Customer Data ให้ลูกค้าเป็น ‘คนพิเศษ’

SME Update
02/12/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 1413 คน
ทำความรู้จัก ‘Personalized Marketing’ การตลาดแบบตอบโจทย์ ตรงใจ สำหรับ SME โดยใช้  Customer Data ให้ลูกค้าเป็น ‘คนพิเศษ’
banner
‘Personalized Marketing’ หากจะอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็คือการตลาดเฉพาะบุคคล ที่แบรนด์สินค้าจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ด้วยการนำ Data หรือข้อมูลของลูกค้าที่ชื้อสินค้าหรือใช้บริการของผู้ประกอบการ SME มาต่อยอด วางกลยุทธ์ในการทำการตลาด โดยการทำงานร่วมกันจากหลาย ๆ ฝ่ายเพื่อทำให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

เมื่อ SME ทราบข้อมูลลูกค้าที่อยู่ในมือ และเข้าถึงได้จากทุกฝ่าย การวิเคราะห์ข้อมูลก็เข้าถึงได้จากทุกฝ่ายเช่นกัน เช่น เราสามารถจัด Segment จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่ทุกฝ่ายก็เข้าถึงได้ ทำให้พนักงานหรือระบบดูแลลูกค้าสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ถูกจุด เช่น รู้ว่าลูกค้าคนไหนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

Case Study

กลยุทธ์ของ Starbucks ร้านกาแฟสุดหรูที่ขายกาแฟราคาแพง แต่แลกกับการนั่งได้นาน พร้อมรับประสบการณ์ที่เหนือกว่าร้านไหนๆ

Starbucks มีการปรับกลยุทธ์ให้เป็นไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง เช่นการโฟกัสไปที่การให้บริการแบบเดลิเวอรี่ เพื่ออำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชอบดื่มกาแฟในช่วงเช้า โดยก่อนหน้านี้ Starbucks ได้ทดลองให้บริการร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่าง Uber บริการจัดส่งอาหารมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2018
 


การปรับตัว ปรับร้านให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่

Starbucks Pick-Up คือร้านรูปแบบใหม่ของสตาร์บัคส์ ที่เน้นให้ลูกค้าทำการสั่งและจ่ายเงินผ่านทางแอปพลิเคชันของร้านล่วงหน้า เมื่อไปถึงร้านก็สามารถหยิบเอาเมนูที่สั่งเอาไว้ไปได้เลย สาขาแรกตั้งอยู่ใกล้กับสถานีเพนน์ของนิวยอร์ก

รวมถึงการที่ Starbucks ได้ประกาศแผนเพื่อช่วยโลกในเรื่องของการลดการใช้น้ำ, การลดจำนวนขยะ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เหลือ 50% ภายในปี 2030 เพราะเล็งเห็นถึงเทรนด์ที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่คำนึงถึงความยั่งยืน
 
อีกหนึ่งตัวอย่างของธุรกิจที่ปรับรูปแบบการผลิตสินค้าเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค และ Customize ให้ตอบโจทย์เฉพาะกลุ่ม คือ แบรนด์ ‘พูลแอนด์สปาโปรดักส์’ 
 
“ยุคนี้ ไลฟ์สไตล์คนเปลี่ยนไป จะเห็นว่าเจ้าของบ้านในราคาเริ่มต้นที่ 20 ล้านก็มีสระว่ายน้ำส่วนตัวในบ้านแล้ว ซึ่งบ้านอยู่อาศัยไม่จำเป็นต้องเป็นสระขนาดมาตรฐาน แต่คนจะนิยมสร้างสระเล็ก ๆ ขนาดมีตั้งแต่ 2x6 เมตร ขึ้นไปซึ่งก็อยู่กับพื้นที่ นอกจากนี้โครงการบ้านที่มีสระว่ายน้ำในบ้านสิ่งที่ดึงดูดการขาย การสร้าง Value ให้บ้านจึงเน้นการสร้างสระว่ายน้ำในบ้าน เพื่อให้ขายง่ายขึ้น” 



“Wellness” เทรนด์รักสุขภาพมาแรง
 
ปัจจัยจากพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่หันมาปรับวิถีการใช้ชีวิตโดยมุ่งเน้นสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์การรักษาสุขภาพกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่มาแรง และเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ 

คุณกุลศรา เผยว่า กระแส Wellness ช่วงหลังโตขึ้นเยอะ ซึ่งสระว่ายน้ำที่จะได้ความนิยมอีกรูปแบบหนึ่งจะคล้ายกับออนเซ็น แต่ไปไกลกว่าอีกสเต็ปหนึ่ง เช่น มีสตรีม ซาวน่า มีบ่อที่เป็นน้ำร้อน-น้ำเย็น เพิ่มฟีเจอร์ที่เป็นลูกเล่นของบ่อ หรือสปานั้น ๆ
 
สระว่ายน้ำ สำหรับน้องหมา 
 
เป็นสระอีกหนึ่งรูปแบบที่เป็นเทรนด์สำหรับคนรักสัตว์เลี้ยงได้เป็นอย่างดี รูปแบบคล้ายกับ Wellness เจ้าของและสัตว์เลี้ยงได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน กึ่งคาเฟ่ที่มี Activity ต่าง ๆ รวมถึงมีสระให้น้องหมาได้ออกกำลังกายและว่ายน้ำคลายร้อน



อีกหนึ่งรายที่มีการสร้างกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลได้ คือการศึกษาตลาด สู่การครีเอท New Product
 
จากการศึกษาตลาดชาในเมืองไทย พบว่าชานำเข้าจะมีการปรุงแต่งกลิ่นด้วยรสชาติต่าง ๆ เช่น สตรอว์เบอร์รี กีวี่ แอปเปิล มิกซ์เบอร์รี สร้างไอเดียให้กับ คุณจารุวรรณ์ ในการนำชามาผสมกับสมุนไพรไทย โดยพยายามคง Essential Oil ของสมุนไพรแต่ละชนิดให้ได้มากที่สุด แล้วนำมาผสมกับชาของบริษัท ก่อเกิดเป็น ‘ชาไทย’ ในความหมายของ ‘สุวิรุฬห์ ชาไทย’ 
 
โดยเริ่มต้นจาก ‘ตะไคร้’ เนื่องจากนึกถึงเมนูอาหารที่คนต่างชาติรู้จักประเทศไทยก็คือต้มยำกุ้ง แล้วในส่วนประกอบบริษัทจะดึงอะไรมาใช้ได้ หลังจากนำมาทดลองผลิตโดยเป็นสูตรชาทำเอง ขายในสิ่งที่เราดื่ม ก่อนใช้เวลากว่า 6 เดือน ปรับสูตรการผลิตให้นิ่ง และเนื่องด้วยตะไคร้ที่ซื้อมาแต่ละรอบจะให้รสชาติไม่เหมือนกัน ดังนั้นบริษัทจึงต้องเจาะจงสายพันธุ์ตะไคร้เพื่อให้รสชาติมีความเสถียร
 
และด้วยความที่กลุ่มเป้าหมายเป็น Gen รุ่นใหม่ อายุน้อยลง จากการจำหน่ายเป็นกิโลกรัมก็มีการครีเอทออกแบบแพ็กเกจจิ้งใหม่ โดยทำเป็นกระป๋องขนาดพอเหมาะ ซึ่งได้รับผลตอบรับค่อนข้างดีจากทั้งชาวต่างชาติและคนไทย

ดังนั้น บริษัทจึงมีการผลิตสินค้าต่าง ๆ ออกมาหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค นอกเหนือจากตะไคร้ เช่น ขิง กระเจี๊ยบ มินต์ ใบเตย มะตูม มะรุม ใบหม่อน ส่งผลให้ยอดจำหน่ายในปีแรกที่เริ่มผลิตอยู่ที่เกือบ 200,000 กระป๋อง ก่อนกลายเป็นโปรเจ็คต์ที่ประสบความสำเร็จมาจนถึงปัจจุบัน สร้างตัวตน - ภาพลักษณ์ความเป็น ‘สุวิรุฬห์ ชาไทย’ ให้ทั้งชาวต่างชาติและคนไทยได้รู้จัก




อย่างไรก็ตาม หาก SME ใช้เครื่องมือการตลาดอย่าง Personalized Marketing เพื่อตอบโจทย์กับลูกค้าได้แท้อย่างจริง จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจให้เกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืน ด้วยความรู้สึกพิเศษที่แบรนด์มอบให้ เปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้กลายเป็น ลูกค้าประจำที่มี Royalty กับแบรนด์ของคุณได้อย่างยั่งยืน

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1052 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1393 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1674 | 25/01/2024
ทำความรู้จัก ‘Personalized Marketing’ การตลาดแบบตอบโจทย์ ตรงใจ สำหรับ SME โดยใช้  Customer Data ให้ลูกค้าเป็น ‘คนพิเศษ’