3 ดาวเด่นขับเคลื่อนเศรษฐกิจลาวปี 62

SME Go Inter
23/01/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2677 คน
3 ดาวเด่นขับเคลื่อนเศรษฐกิจลาวปี 62
banner
หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาล สปป.ลาวได้มีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศใน สปป.ลาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนักลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และจีน ด้วยเหตุนี้ ทำให้ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาคการนำเข้าของ สปป.ลาวมีอัตราขยายตัวต่อเนื่อง โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่ง สปป. ลาว ระบุว่า ปี 2561 สปป.ลาว มีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวม 10,540 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 105 ของแผนงานประจำปี 2561 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9  เมื่อเทียบกับปี 2560

โดยการนำเข้ามีมูลค่า 5,424 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 การนำเข้าส่วนใหญ่นำเข้ามาเพื่อใช้ในงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางรถไฟลาว - จีน เขื่อนไฟฟ้า ประกอบด้วย เครื่องจักรกล อุปกรณ์ก่อสร้าง ยานพาหนะ ชิ้นส่วนอะไหล่ เครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าช  ซึ่งมีตลาดนำเข้าสำคัญจาก ไทย จีน และเวียดนาม คิดเป็นร้อยละ 88 ของการนำเข้าทั้งหมด

ด้านการส่งออกมีมูลค่า 5,115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ไฟฟ้า แร่ทอง ทองแดง ชิ้นส่วนกล้อง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องนุ่งห่ม ยางพาราและอื่นๆ และมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ไทย จีน และ เวียดนาม คิดเป็นร้อยละ 87 ของการส่งออกทั้งหมด


ดร.สุพัน แก้วมีไซ รัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุนแห่ง สปป.ลาว เปิดเผยว่าในปี 2562 ภาคอุตสาหกรรม การบริการ และเกษตรกรรม มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น และจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้ขยายตัวร้อยละ 6.7 รายรับเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 2,726 ดอลลาร์สหรัฐ รายรับมวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อคนประมาณ 2,317 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ภาคการลงทุนในสามกลุ่มอุตสาหกรรมใน สปป.ลาว มี 3 กลุ่มที่คาดว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีจากปัจจัยด้านดีมานด์ในประเทศประกอบด้วย

1.ภาคเกษตรกรรม คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับปกติ ทั้งนี้ ในปี 2561 ฐานการผลิตของภาคเกษตรกรรมได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทำให้มูลค่าการผลิตไม่สูงมาก และรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้สนับสนุนเงิน 600 พันล้านกีบ (ประมาณ 70.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อแก้ไขและฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ อาทิ ระบบชลประทาน พันธุ์ข้าว ปุ๋ย และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งคาดว่าจะทำให้การผลิตของภาคเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยเฉพาะ แขวงสะหวันนะเขต และคำม่วน ที่มีศักยภาพในการผลิตข้าว และคาดว่าในปี 2562 ภาคเกษตรกรรมจะยังคงขยายตัวในระดับปกติคือ ร้อยละ 2.8 ถึงร้อยละ 3

2.ภาคการก่อสร้างและพลังงานไฟฟ้า คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 20 และ ร้อยละ 9 ตามลำดับ เนื่องจากโครงการก่อสร้างทางรถไฟลาว – จีน คาดว่าจะมีความคืบหน้ากว่าร้อยละ 60 ในปี 2562 ซึ่งในปี 2561 มีความคืบหน้าร้อยละ 42 โครงการก่อสร้างทางด่วนเวียงจันทน์ – วังเวียง ที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปี 2562 โครงการก่อสร้างเส้นทางคู่ขนาน R3 แขวงบ่อแก้ว (ชายแดนจีน – สปป. ลาว – ไทย) โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจใหม่สีทันดอน การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ การก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าที่จะเสร็จ อีก 12 เขื่อน อาทิ  เขื่อนไฟฟ้าดอนสะโรง โรงไฟฟ้าไซยะบูลี เขื่อนไฟฟ้าน้ำเงี้ยบ 1 เขื่อนไฟฟ้าน้ำหินบูน และอื่นๆ รวมกำลังการผลิตไฟฟ้าประมาณ 11.91 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง และการผลิตในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เช่น ทองคำ ทองแดง ตะกั่ว ในแขวงเซกอง จะมีการขุดค้น แปรรูปและส่งออกเพิ่มเติม

3.ภาคการบริการ อสังหาริมทรัพย์และการค้าปลีก คาดว่า จะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระดับดี การค้าปลีกคาดว่าจะเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 10 เนื่องจากการบริโภคในครัวเรือนมีการขยายตัว ประชากรเป็นวัยหนุ่มสาวและมีกำลังซื้อมากขึ้น นอกจากนี้ ภาคการบริการและการท่องเที่ยวจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากรัฐบาล สปป.ลาวจะเปิดตัวการท่องเที่ยวลาว – จีน ในปี 2562 นี้ด้วย

ทั้งนี้ในปี 2561 ไทยมีการส่งออกไป สปป.ลาว มีมูลค่า 121,633.78 ล้านบาท (ม.ค.-พ.ย.)  มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 0.55 แม้จะไม่ถือว่าเป็นตลาดที่มีการขยายตัวดีนักในด้านของการเป็นตลาดส่งออกของไทย ทว่าในกลุ่มของการเข้าไปลงทุนใน สปป.ลาว กลับมีมิติที่น่าจับตา เพราะเป็นที่ทราบดีว่าในปัจจุบันมีกลุ่มนักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนใน สปป.ลาวเป็นจำนวนมาก ทั้งในภาคเกษตร บริการ ค่าปลีก อสังหาริมทรัพย์ ไฟฟ้าและพลังงานเชื้อเพลิง การสื่อสารและการธนาคาร ทั้งยังเป็นตลาดที่เปิดกว้างการลงทุนในทุกรูปแบบ


อย่างไรก็ตาม แม้ สปป.ลาวเปิดกว้างในด้านการลงทุนจากต่างชาติ ทว่าในปัจจุบัน สปป.ลาวให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจสมัยใหม่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนมากขึ้น ดังนั้นการหวังเข้าไปปักหมุดใน สปป.ลาว ควรมีการศึกษากฎการลงทุนในแต่ละแขวงอย่างถี่ถ้วน เพราะเชื่อว่าในอนาคต รัฐบาล สปป.ลาวจะมีกฎระเบียบและมาตรการด้านการลงทุนที่เข้มข้นมากขึ้น เพราะ สปป.ลาวต้องการพัฒนาภาคการผลิตสมัยใหม่ ทั้งยังต้องการปกป้องการเข้ามาลงทุนอย่างมีบทบาททางเศรษฐกิจของจีนและเวียดนาม ซึ่งก็เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของนักลงทุนไทย

 

อ้างอิงข้อมูล : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6059 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1936 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4915 | 23/10/2022
3 ดาวเด่นขับเคลื่อนเศรษฐกิจลาวปี 62