เมียนมา‘ขุมทอง’การค้า-การลงทุน ไทย-เทศร่วมวงไพบูลย์

SME Go Inter
30/03/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2113 คน
เมียนมา‘ขุมทอง’การค้า-การลงทุน ไทย-เทศร่วมวงไพบูลย์
banner
‘เมียนมา’ กลายเป็นขุมทองแห่งใหม่ที่กลุ่มนักลงทุนทั่วโลกเช่นเดียวกับนักลงทุนชาวไทยต่างก็แห่เข้าไปร่วมลงทุนไม่ขาดสายซึ่งข้อได้เปรียบของนักลงทุนไทยนอกจากวัฒนธรรมเมียนมาคล้ายคลึงไทยแล้วทั้งสองประเทศยังมีชายแดนติดกันตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ทำให้มูลค่าชายแดนปี 2561มีมูลค่า 193,326.56 ล้านบาท ทั้งมีอัตราการขยายตัวที่ดีต่อเนื่อง

ภายหลังเปิดสะพานมิตรภาพแม่สอด-เมียวดี สะพานมิตรภาพไทย - เมียนมาแห่งที่ 2 เชื่อม อ.แม่สอด จ.ตาก กับเมือง เมียวดี ที่รัฐกะเหรี่ยงเมื่อกลางเดือนมีนาคม 2562 ที่ผ่านคาดการณ์ว่าจะทำให้มูลค่าการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ปี 2562 พุ่งทะลุมากกว่า 2 แสนล้านบาทเนื่องจากระบบขนส่งสะดวกสบายมากกว่าสะพานมิตรไทย-เมียนมาแห่งที่ 1

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme


นางออง ซาน ซู จี ผู้นำเมียนมา กล่าวระหว่างร่วมพิธีเปิดสะพานมิตรภาพแห่งใหม่ ว่า เมียนมาพร้อมที่จะทำงานร่วมกับไทย ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่ดีนับตั้งแต่เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันครบ 70 ปี

เมื่อปี 2561 หลังเปิดให้บริการสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 อย่างถาวรจะส่งเสริมการค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้มูลค่าชายแดนเพิ่มมากขึ้น  นอกจากนี้สะพานมิตรภาพจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจแม่โขง และเชื่อด้วยว่าจะช่วยเชื่อมโยงประเทศสมาชิกอาเซียนตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกตะวันตก

สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 เชื่อม EWEC

สำหรับโครงการสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 นี้ได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นเมื่อเดือน พ.ค. 2555 การก่อสร้างมูลค่า 3.9 พันล้านบาท สะพานยาว 270 เมตร ใช้เวลาสร้างแล้วเสร็จ 4 ปี โดยสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา จะเชื่อมทอดตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC)  ส่วนหนึ่งของกรอบความ ร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่น แผนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในภูมิภาค ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกเชื่อมเมืองดงฮา ประเทศเวียดนามกับเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ของนครย่างกุ้งผ่านทางประเทศกัมพูชาและประเทศไทย

แผนมุ่งที่พัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ และย่างกุ้งตามแนวระเบียงตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งจะช่วยภาคธุรกิจที่มี ฐานอยู่ในกรุงเทพฯ ขยายห่วงโซ่การผลิตไปยังนครย่างกุ้งที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา โดยที่ส่วนของระเบียงตะวันออก และตะวันตกยังไม่เป็นทางหลวงระหว่างประเทศเพราะปัญหาคอขวด เช่น ขาดถนนคอนกรีต ปัญหาการจราจรในฤดูฝนและการจำกัดน้ำหนัก

ขณะเดียวกันทางญี่ปุ่นวางแผนที่จะลดระยะเวลาเดินทางให้สั้นลงโดยสร้างสามสะพานในรัฐกะเหรี่ยง มอญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งระเบียงตะวันออก-ตะวันตกคาดว่า จะลดเวลาขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นระยะทาง 870 กิโลเมตรจากติละวาถึงกรุงเทพมหานคร(กทม.)ให้เหลือหนึ่งวันครึ่ง

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจแม่สอด-เมียวดี

นายสมศักดิ์ สุขสมโสตร์ นายด่านศุลกากรแม่สอด ชายแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สอด จ.ตาก กล่าวถึงมูลค่าการค้าชายแดน ตามสถิติการค้าชายแดน ด่านศุลกากรแม่สอด-เมียวดี ปี 2561 มีการส่งออก มูลค่า 72,065.146 ล้านบาท ขณะที่การนำเข้า 6,222.952 ล้านบาท มีมูลค่ารวม 78,288.098 ล้านบาท

สินค้าส่งออกที่สำคัญอันดับต้นๆ ได้แก่ เครื่องดื่มชูกำลัง,รถจักรยานยนต์,โทรศัพท์พร้อมอุปกรณ์, น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล, น้ำตาล

ส่วนสินค้านำเข้ามูลค่าสูงอันดับต้นๆ ได้แก่ โคและกระบือ,เมล็ดถั่วลิสง,เศษเหล็ก,โทรศัพท์มือถือ,แร่พลวงและสิ่งประดิษฐ์ทำด้วยไม้

นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีนคร(ทน.)แม่สอด จ.ตาก  กล่าวว่า ปัจจัยบวกที่ทำให้ค้าชายแดนเพิ่มขึ้นไม่หยุด เนื่องจากแม่สอดอยู่ติดกับ รัฐของเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นรัฐมอญ, กะเหรี่ยง, ว้า, คะฉิ่น ซึ่งประชากรร่วม 30 ล้านคน ดังนั้นแม่สอดเป็นเซ็นเตอร์ที่สำคัญในเรื่องการท่องเที่ยวและการค้าชายแดน ทำให้ตรงนี้เป็นประตูAECที่สำคัญและเส้นทางสำคัญในการพัฒนาประเทศ เป็นเกตเวย์ และเป็นเส้นทางจากประเทศไทยที่แม่สอด ออกไปเมียนมา ไปอินเดีย และถึงยุโรปได้ด้วย หลังจากรัฐบาลไทยได้ยกฐานแม่สอดเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ(แม่สอด) แม่สอดจึงเป็นอำเภอที่สำคัญของไทยในด้านธุรกิจการค้าและการส่งออก

จีน-ญี่ปุ่นทะลักลงทุนเมียวดี

ปัจจุบัน เมียนมาได้เปิดเขตเศรษฐกิจเมียวดีเช่นกัน โดยใช้เขตพิเศษเมียวดีเป็นเซ็นเตอร์ ของแม่สอดมี 3 อำเภอเป็นเซ็นเตอร์ ฝั่งเมียวดีค่อนข้างบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์ของที่ดินค่อนข้างจะรวดเร็วและเบ็ดเสร็จ การอนุมัติ อนุญาตง่าย ทำให้นักลงทุนไม่ว่าจะเป็นคนไทย จีน ญี่ปุ่น รวมทั้งพื้นที่อยู่ไกลชายแดนเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดใกล้เคียงกับ จ.เมียวดี, ก่อกะเระ และพะอาน เข้าทำการค้าอย่างคึกคัก ส่งผลให้การลงทุนเมียวดีคึกคักกว่าแม่สอด ในการพัฒนาการก่อสร้างจีนไปลงทุนเมียวดีนับหมื่นล้านบาท มีทั้งโรงแรม คอนโดมิเนียมและศูนย์การค้า

ด้านแม่สอดทางรัฐบาลก็ให้ความสำคัญเช่นกัน แต่มีข้อจำกัดเรื่องข้อกฎหมายหลายอย่าง ทางสภาอุตสาหกรรมและหอการค้าฯ อยากให้มีกฎหมายเฉพาะเกิดขึ้นที่เขตพิเศษนี้ คือ แม่สอด, แม่ละมาด, พบพระ เพื่อให้กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารแบบเบ็ดเสร็จ เพราะบ้านเราหน่วยราชการเยอะ ถือกฎหมายคนละฉบับ ควรจะมีเจ้าภาพหลักในการบริหารจัดการเบ็ดเสร็จที่แม่สอดเลย เพราะว่าบางอย่างการอนุมัติ อนุญาต การสัมปทานต่างๆ ต้องส่งไปที่กระทรวงที่เกี่ยวข้อง บางขณะก็ล่าช้า ทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดิน เรื่องของผังเมือง การใช้สิ่งแวดล้อมอะไรต่างๆ มีปัญหา เป็นไปลักษณะที่ไม่สามารถบริการให้ถูกใจนักลงทุน ไม่เหมือนฝั่งเมียวดี

ทั้งนี้หน่วยงานด้านการกำกับดูแลการลงทุนและการจดทะเบียนบริษัทของเมียนมา หรือ DICA (Directorateof Investment and Company Registration)คาดการณ์ว่าในปี 2018-2019 (2561-2562) เมียนมาจะสามารถดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI: Foreign Direct Investment) ได้สูงถึง 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับ FDI ในปี 2017-2018 ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากโครงการลงทุนทั้งสิ้น 222 โครงการ

อย่างไรก็ดี FDI มีมูลค่าลดลงจากในปีงบประมาณ 2016-2017 ซึ่งมีการลงทุนจากต่างชาติจำนวน 135 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 6.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯเมื่อเปรียบเทียบในช่วง 5-6 เดือนตั้งแต่เดือนเม.ย.-ส.ค. 2561 มีมูลค่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในขณะช่วงเดือนเม.ย. - ก.ย. 2560 มีมูลค่าสูงถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นักลงทุนในกลุ่มประเทศเอเชีย เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และไทยนั้นไม่ได้มีการหยุดชะงักมากนัก

เมียนมา

ทุนไทยแห่ปักฐานเมียนมามูลค่า 3.7แสนล้าน

นายปณิธาน  ปวโรฬารวิทยา ประธานสภาธุรกิจไทยเมียนมา กล่าวว่า การลงทุนของบริษัทต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตการลงทุนในเมียนมา วันที่ 31 ส.ค. 2560 มีทั้งสิ้น 1,366 รายจาก 49 ประเทศ มูลค่าการลงทุนที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว 74,046.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 2.34 ล้านล้านบาท คำนวณที่ 31.6 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยนักลงทุนที่ได้รับใบอนุญาตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไทย ฮ่องกง และ สหราชอาณาจักร

ในส่วนของไทยมีทั้งสิ้น 112 ราย มูลค่าการลงทุน 11,013.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ประมาณ 3.74 แสนล้านบาท) โดยการลงทุนของต่างชาติในเมียนมาที่มีจำนวนผู้ลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรกอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต (801 ราย) น้ำมันและก๊าซ  (154 ราย) โรงแรมและท่องเที่ยว และกิจการเหมืองแร่ (กิจการละ 71 รายเท่ากัน) ขนส่งและโทรคมนาคม (52ราย) และปศุสัตว์และประมง (44 ราย)

อย่างไรก็ตามการลงทุนสะสมของไทยในเมียนมาอยู่อันดับ 3 ทั้งในแง่การได้รับใบอนุญาตและมีการลงทุนจริง จากก่อนหน้านี้ในแง่การลงทุนที่เกิดขึ้นจริงไทยเคยหล่นลงไปอยู่อันดับ 6 แต่ตอนนี้ก็ขึ้นมาอันดับ 3 โดยเป็นรองจากจีน และสิงคโปร์

ในภาคของการลงจีนเราพอเข้าใจได้เพราะเป็นนักลงทุนรายใหญ่อยู่แล้ว ส่วนสิงคโปร์ มันซับซ้อนมากกว่านั้น เพราะส่วนหนึ่งเป็นนอมินีของหลายประเทศที่ไปเปิดบริษัทที่สิงคโปร์แล้วใช้ชื่อไปลงทุนในเมียนมา ซึ่งสามารถได้สิทธิพิเศษจากการลงทุนภายในอาเซียนด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตาม ภาพการลงทุนของเมียนมาในปัจจุบันนี้ นับว่าคึกคักมากที่สุดในอาเซียน
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6067 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1939 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4925 | 23/10/2022
เมียนมา‘ขุมทอง’การค้า-การลงทุน ไทย-เทศร่วมวงไพบูลย์