Ageing Society กระแสโลก – อาเซียน และบริบทของไทย

SME in Focus
08/04/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 5188 คน
Ageing Society กระแสโลก – อาเซียน และบริบทของไทย
banner
การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและขณะนี้โลกของเราได้กลายเป็น สังคมสูงอายุ ไปแล้ว จากข้อมูลปี 2560 โลกมีประชากรประมาณ  7,550  ล้านคน

ขณะที่สถานการณ์ของประชากรโลกกับประเด็นผู้สูงอายุในปัจจุบัน ประชากรโลกมีประชากรอายุ 60  ปีขึ้นไป 962 ล้านคน หรือคิดเป็น 12.7%ของค่าเฉลี่ยทั้งหมด เรียกได้ว่าโลกของเราได้กลายเป็น “สังคมสูงอายุ” ไปแล้ว

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

โดยทวีปที่มีประชากรสูงอายุมากที่สุดคือ ยุโรป มีอัตราผู้สูงอายุสูงสุด คือ ร้อยละ 24.7 รองลงมา คือ ทวีปอเมริกาเหนือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 21.7 และ ทวีปเอเชีย ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 12.2

แต่ถ้าดูการสูงวัยของประชากรเป็นรายประเทศ ‘ญี่ปุ่น’ เป็นประเทศที่มีอัตราผู้สูงอายุสูงที่สุดในโลกคือสูงถึงร้อยละ 33.4 หรือเท่ากับหนึ่งในสามของคนญี่ปุ่นจะมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ประเทศที่มีอัตราผู้สูงอายุสูงที่สุด 10 อันดับแรกของโลกนอกจากญี่ปุ่นแล้ว ประเทศอื่นๆ อีก 9 ประเทศล้วนอยู่ในทวีปยุโรป



ในขณะที่ประชากรรวมทุกกลุ่มอายุของโลกกำลังเพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่ช้าลงเพียง ร้อยละ 1.4 ต่อปี ในทางกลับกัน ปริมาณค่าเฉลี่ยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่สูงถึง ร้อยละ 5.8 ต่อปี  หรือติดเป็น 4 เท่าตัว นี่จึงเรียกว่ากระแส ‘เกิดน้อยและตายช้า’ ด้วยอัตรานี้ทำให้มีการประมาณการณ์ว่าในอีก 15 ปีข้างหน้าโลกจะเป็นโลกแห่งผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ คือมีสัดส่วนผู้สูงอายุถึงร้อยละ 20 ทั้งขาดแคลนประชากรวัยทำงาน


สังเกตว่าได้ว่าอีกเพียง  0.1% อาเซียนก็ก้าวสู่การเป็นประชาคมผู้สูงอายุ และเชื่อว่าหากมีการเก็บสถิติในปัจจุบันคงเป็นไปแล้ว โดย สิงคโปร์ มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดคือ 19.5 % ของค่าเฉลี่ยประชากรทั้งประเทศ ก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปัจจุบัน ขณะที่ไทย รั้งอันดับ 2 มีสัดส่วนผู้สูงอายุ 17.1 % และ อันดับ 3. คือเวียดนามมีอัตราส่วนผู้สูงอายุ 11.1%

สังคมสูงอายุ

ไทยการรับมือสังคมผู้สูงอายุ

มิติผู้สูงอายุในประเทศไทย ที่ก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society มาตั้งแต่ปี 2550 และในปี 2564 นี้ เราจะก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ หรือ Aged Society และจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด หรือ Super-aged Society ในเวลาไม่เกิน 15 ปีข้างหน้า

ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างอายุของประชากร ไทยได้เปลี่ยนไปอย่างมากจากที่เคยมีเด็กมาก เช่นในปี 2513 ประเทศไทยมีประชากร เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีมากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของ ประชากรทั้งหมด แต่ในปี 2560 สัดส่วนประชากร วัยเด็กลดต่ำลงเหลือเพียงร้อยละ 18  ขณะที่สัดส่วนผู้สูงอายุ ซึ่งมีเพียง ร้อยละ 5 ในปี 2513 ได้เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 17 ในปี 2560 ดังนั้นด้วยค่าเฉลี่ยนี้ หากไม่อะไรเปลี่ยนแปลงมีแนวโน้มได้ว่าในอีกปี 20 ข้างหน้า ไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุ ถึงร้อยละ 20 ของค่าเฉลี่ยประชากรทั้งประเทศ

ด้วยเหตุนี้สังคมไทยต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ จากข้อมูลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2560 ในเรื่องแหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุ พบว่า แหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุ 3 ลำดับแรก คือ รายได้จากบุตร ,จากการทำงาน และ เบี้ยยังชีพ/สวัสดิการ ด้วยเหตุนี้ประเด็นสำคัญคือการสร้างหลักประกันรายได้ของผู้สูงอายุเพื่อให้สามารถยังชีพได้

สำหรับการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย อาทิ

1.ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในอนาคต และมีทัศนคติที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุที่ยังคงเป็นพลังและหลักชัยของสังคม

2.การออมที่เหมาะสมกับช่วงวัยต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันทางรายได้ที่มั่นคงเมื่อยามสูงวัย รวมถึงส่งเสริมการสร้างหลักประกันทางรายได้ที่มิใช่เงินออม เช่น การปลูกต้นไม้ไว้เป็นบำนาญยามเกษียณ เป็นต้น

3.การสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก เยาวชน และวัยทำงาน

4.การวางแผนชีวิตของผู้สูงอายุและครอบครัวอย่างเหมาะสม เพื่อรองรับสังคมสูงวัย

5.สร้างกลไกการอภิบาลระบบเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่มีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับการวางแผนวัยเกษียณมากขึ้นทั้งในรูปแบบการออมเงินในด้านต่างๆ รวมทั้งการใส่ใจสุขภาพให้แข็งแรง ซึ่งนับเป็นตัวอย่างการเตรียมการที่ดี ทั้งสังคมไทยที่เป็นลักษณะการเกื้อกูลแบบครอบครัวใหญ่ ทั้งความกตัญญูและความรับผิดชอบ ทำให้สถานการณ์สังคมผู้สูงอายุในภาคสังคมไม่วิกฤตนัก

ขณะเดียวกัน กลุ่มผู้สูงอายุแบบคุณภาพ และกลุ่มรายได้ดี พื้นฐานครอบครัวมีรายได้ดี ยังก่อเกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจในรูปแบบของธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่ธุรกิจให้ความสนใจอย่างมาก เพราะดิมานด์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี และ ระบบสวัสดิการ การดูแล และรายได้กลุ่มวัยเกษียณที่ดีขึ้น ยิ่งทำให้ตลาดกลุ่มนี้มีความน่าสนใจ ไว้คราวหน้าเรามาโฟกัสเทรนด์ของสังคมผู้สูงอายุของไทยกับการทำธุรกิจการเป็นแหล่งพำนักของผู้สูงอายุทั่วโลก ซึ่งเทรนด์นี้ยังคงร้อนแรงต่อเนื่อง
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
234 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
405 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
323 | 20/03/2024
Ageing Society กระแสโลก – อาเซียน และบริบทของไทย