3 ตัวอย่าง ธุรกิจครอบครัว ปรับใช้ AI ลดต้นทุน-เพิ่มมูลค่า ต่อยอดความสำเร็จอย่างยั่งยืน

Family Business
14/08/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 4966 คน
3 ตัวอย่าง ธุรกิจครอบครัว ปรับใช้  AI ลดต้นทุน-เพิ่มมูลค่า ต่อยอดความสำเร็จอย่างยั่งยืน
banner
จากคำกล่าวที่ว่า “ธุรกิจครอบครัว” (Family Business) มักล่มสลายในการส่งมอบกิจการสู่รุ่นที่ 3 โดยมีข้อมูลระบุว่า ธุรกิจที่สืบทอดเกิน 3 รุ่น มีอัตราอยู่รอดเพียง 12% ด้วยเหตุผลคือ การสืบทอดธุรกิจนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและมีความซับซ้อนอยู่ไม่น้อย

หลายครอบครัวที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจมายาวนาน แต่กลับต้องเผชิญปัญหาในช่วงส่งไม้ต่อแบบรุ่นสู่รุ่น จากสาเหตุ เช่น  เป็นการรับช่วงต่อที่ถูกบังคับ, ความใกล้ชิดเกินไป ทำให้ขาดความเคารพ หรือตั้งตัวได้แล้วทายาทมักถูกเลี้ยงดูแบบตามใจ ทำให้ไม่รู้สึกถึงความกดดันที่ต้องเข้ารับช่วงต่อของกิจการ รวมถึงการไม่ปรับตัวเข้ากับยุคสมัย ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Digital Disruption เป็นต้น 



การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของ ‘ธุรกิจครอบครัว’

อย่างไรก็ดี การดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป โดยแทบทุกธุรกิจ ล้วนมีจุดมุ่งหมายใหม่ที่เหมือนกัน คือ การปรับระบบการทำงานแบบเดิม สู่โลกแห่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจที่ดำเนินกิจการโดยครอบครัว

โดยพบว่าหลายกิจการมีการปรับใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ AI จนกลายเป็นจุดเปลี่ยนเชิงกลยุทธ์ที่นำไปสู่ความสามารถในการปรับตัว มีความยืดหยุ่น และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

บทความนี้ เรามีตัวอย่างของ ธุรกิจครอบครัวที่สร้าง Volume Growth ให้กิจการ ไปพร้อมกับการขยายธุรกิจ ลดต้นทุน - เพิ่มมูลค่า ด้วยการปรับใช้ AI ในธุรกิจให้เกิดประโยชน์ และสืบทอดกิจการให้เติบโตอย่างยั่งยืน ดังต่อไปนี้  



• ธุรกิจครอบครัว สู่ การพัฒนา ‘ฟาร์มอัจริยะ’ ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

เรื่องราวของธุรกิจครอบครัวตระกูล ‘ไตรโชค’  ที่ทำการเกษตรโดยเป็นเจ้าของฟาร์มเมล่อน เมื่อปี 2529 ด้วยความตั้งใจจะพัฒนาอาชีพเกษตรกรให้เป็นอาชีพที่มีรายได้มั่นคง ซึ่งในช่วงแรกฟาร์มแห่งนี้ปลูกเมล่อนเพียง 100 ต้นเท่านั้น แต่ด้วยการเป็นนักพัฒนาที่อยู่ในสายเลือด

ทำให้คุณสุวิทย์ สามารถพัฒนา ‘นาวิต้าฟาร์ม’ จนกลายเป็นแบรนด์ที่ขึ้นชื่อเรื่องเมล่อนสายพันธุ์ญี่ปุ่นเกรดพรีเมียม และยังแตกกิ่งก้านสาขาต่อยอดธุรกิจ ‘ฟาร์มคอนเน็คเอเชีย’ เพื่อยกระดับเกษตรกรรมของไทยด้วยการนำระบบ IoT ที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทยมาปรับใช้อีกด้วย



สำหรับธุรกิจ ฟาร์มเมล่อน นำไปสู่การต่อยอดนวัตกรรม ‘ตู้คอนโทรลอัจฉริยะ’ โดย ‘ฟาร์มคอนเน็ค เอเชีย’ เกษตรก้าวหน้าแบบไร้โรงเรือน เพื่อผลิตและจำหน่าย IoT Controller and Sensors และจัดทำระบบบริหารจัดการน้ำสำหรับแปลงเกษตร

โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เป็น ‘ตู้คอนโทรลอัจฉริยะ’ ระบบ Smart IoT Controller และ Sensors สามารถเก็บข้อมูลสภาพอากาาศ ดิน น้ำ ฝนได้ทั้งหมดเพื่อนำมาทำ Data Analiytics และสร้าง Crop Profiles สำหรับแต่ละพืช แต่ละพื้นที่ 



การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้เป็นธุรกิจครอบครัวที่ลดความเสี่ยงและความเสียหายลงได้ และยังสามารถปรับตัวได้เร็วขึ้นจากข้อมูลแบบเรียลไทม์ของ Sensors ซึ่งหากสำเร็จถึงเป้าหมายสูงสุด จะสามารถออกแบบระบบควบคุมแบบเรียลไทม์ (Real-time Controller) เพียงกดปุ่ม Start ปุ่มเดียวเท่านั้น ทุกอย่างจะเป็นกระบวนการอัตโนมัติทั้งหมด ลบภาพการเกษตรแบบเดิม สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน




• ‘โรงสีข้าวอัจฉริยะ’ จากทายาทรุ่น 3 สร้างเกษตรก้าวหน้าด้วย ‘AI’ 

เส้นทางธุรกิจของบริษัทยนต์ผลดี จำกัดเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการ Business Transformation จนกลายเป็นธุรกิจผลิตและประกอบอุปกรณ์เครื่องจักรโรงสีข้าว ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และได้รับความไว้วางใจจากโรงสีและโรงปรับปรุงคุณภาพข้าวชั้นนำทั้งในและต่างประเทศมาอย่างยาวนาน 

คุณกานต์ จิตสุทธิภากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด ดำเนินธุรกิจผลิตและพัฒนาเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตข้าว พร้อมติดตั้งและวางระบบอย่างครบวงจร เล่าว่า บริษัทเกิดขึ้นจากธุรกิจครอบครัว (Family Business) เริ่มขึ้นในรุ่นคุณปู่เมื่อ 72 ปีที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อ 'โรงหล่อยนต์ผลดี’เส้นทางธุรกิจจากรุ่นปู่ สู่รุ่นหลาน'

โดยรับงานหล่อโลหะ ชิ้นส่วนและอะไหล่เรือ พร้อมทั้งรับงานซ่อมแซมและปรับปรุงเครื่องจักรอื่น ๆ  ในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าทางน้ำโดยในขณะนั้นเรือยังเป็นพาหนะที่ใช้ในการค้าขายเป็นหลัก และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจนส่งต่อไปยังทายาทธุรกิจรุ่นต่อมาอย่างมั่นคง

จุดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่จนนำมาสู่ความสำเร็จ คือหลังจากที่มีสมาชิกในครอบครัวสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศแล้วกลับมาช่วยงานในธุรกิจครอบครัว ได้เริ่มนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามายังอุตสาหกรรมข้าว ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าจนถึงปัจจุบัน 



ต่อมาเมื่อถึงรุ่นตน ซึ่งได้เรียนจบด้านอุตสาหกรรมเกษตร เมื่อกลับมาช่วยดูแลธุรกิจครอบครัว (Family Business) ต่อจากรุ่นคุณพ่อ จึงเริ่มมีแนวคิด Business Transformation ยกระดับบริษัทไปสู่องค์กรที่มีความทันสมัยมากขึ้นทั้งในแง่ของการบริหารธุรกิจ การบริหารงานบุคคล รวมทั้งมีการบูรณาการระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ ประยุกต์เข้ากับระบบเครื่องจักรเดิมภายในโรงงาน ให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้เพิ่มมากขึ้น


 
นอกจากนี้ แนวคิดของบริษัท คือการจัดทำระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตที่จะสร้างรายได้ให้บริษัทและลูกจ้างอย่างมั่นคงควบคู่ไปพร้อมกัน ขณะเดียวกัน ยังนำซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร คือ MRP และ ERP มาใช้ภายในบริษัท

ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนจัดการห่วงโซ่อุปทาน การผลิต การเงิน และกระบวนการอื่น ๆ ทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ ในองค์กรเป็นไปโดยอัตโนมัติและสะดวกขึ้น อาทิ การตรวจสอบระบบบัญชี การจัดซื้อ หรือแม้แต่การบริหารจัดการวัตถุดิบเพื่อจัดการและวางแผนความต้องการวัตถุดิบในองค์กร ทำให้วินิจฉัยและวิเคราะห์ต้นทุนแบบเรียลไทม์ได้ ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตในการดำเนินงานมากขึ้น 




• ตอบโจทย์ - ยกระดับวิถีเกษตรใน ธุรกิจครอบครัว สู่ Smart Farmer มุ่งใช้เทคโนโลยี ‘โดรน’ เพิ่มผลผลิต

คุณศิวพงศ์ บุญสาลี ทายาทรุ่น 2 และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SAK เล่าถึงที่มาของการก่อตั้งบริษัท ‘ศักดิ์สยาม เมกเกอร์ โดรน’ ว่า ศักดิ์สยามลิสซิ่งมีความมุ่งมั่นและต้องการสนับสนุนให้เกษตรกรไทยเข้าถึงเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อยกระดับวิถีการทำเกษตรสู่ Smart Farmer และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ร่วมทุนกับคุณปภังกร โชคทวีชัยเจริญ ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจโดรนเพื่อการเกษตร (Agricultural Drone) ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่สอดคล้องกันคือ ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการแก้ Pain Point ที่เป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกรไทย

คือ การขาดแคลนแรงงาน การควบคุมต้นทุนการผลิต และวิธีการทำไร่ทำสวนแบบเก่าที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น อาทิ การเดินฉีดพ่นปุ๋ย พ่นยาที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเกษตรกรไทย รวมถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ค่อนข้างน้อย



คุณศิวพงศ์  เผยว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร จึงมองว่าอยากหาวิธีช่วยสร้างรายได้ ลดต้นทุน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น คือทำแล้วมีเงินเหลือเก็บมากขึ้น หาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต แต่สามารถลดต้นทุนได้ โดยมองว่าเทคโนโลยีโดรนของคุณปภังกร น่าจะตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี จึงร่วมกันผลิตโดรนแบรนด์ ‘เมกเกอร์โดน’ ออกสู่ท้องตลาด



การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยควบคุมปัจจัยการผลิต จึงเป็นอีกแนวทางที่ทำให้เกษตรกรยุคใหม่ลดต้นทุนการผลิตได้ ขณะเดียวกันก็ได้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพมากขึ้น ซึ่งโดรนสามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ เนื่องจากการใช้แรงงานคนกับเทคโนโลยีโดรนมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน 

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีโดรนมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการเพาะปลูก ทั้งการประหยัดเวลาและแรงงาน ลดการสัมผัสสารเคมีโดยตรงของผู้ฉีดพ่น ยกระดับสู่ความยั่งยืน ไม่เพียงแค่ในแง่ของการเติบโตทางธุรกิจครอบครัว แต่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเกษตร และผลักดันภาคการเกษตรไทยไปสู่ Smart Farmer ได้อย่างแท้จริง




ทั้งนี้ จะเห็นว่า เทคโนโลยี ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล  โดย AI คือสิ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องจักรต่าง ๆ มีความคิดอ่าน หรือสามารถตอบสนองสิ่งต่าง ๆ ได้คล้ายกับมนุษย์ ครอบคลุมตั้งแต่การทำเรื่องง่าย เช่นการตอบโต้ขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงการเรียนรู้เรื่องยากอย่างการคำนวณแผนการตลาด หรือแม้แต่การคำนวณหุ้น

ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจของครอบครัว ที่มี AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการ Transforms สู่ระบบอัตโนมัติ จึงช่วยให้การดำเนินงานมีความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ เพิ่มความได้เปรียบทางธุรกิจ ที่สำคัญคือลดความเสี่ยงจากการล่มสลายของการสืบทอด และพลิกสู่การขยับขยายให้ธุรกิจเติบโต ได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น 


ติดตามบทความ  "7 ไกด์ไลน์ ชี้ทางทายาทธุรกิจให้สานต่อธุรกิจครอบครัวอย่างราบรื่น" ในบทความครั้งหน้า

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เคล็ดลับเสริมแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวผ่านการทำงานแบบพี่น้อง ที่มีข้อจำกัดมากกว่าการบริหารธุรกิจธรรมดา

เคล็ดลับเสริมแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวผ่านการทำงานแบบพี่น้อง ที่มีข้อจำกัดมากกว่าการบริหารธุรกิจธรรมดา

ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของธุรกิจครอบครัว (Family Business) คือ การส่งต่อธุรกิจครอบครัวให้แก่ผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวรุ่นต่อไป เนื่องจากผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวอาจจะเป็นทายาทธุรกิจที่เป็นพี่น้องร่วมสายเลือดเดียวกัน…
pin
4004 | 27/04/2024
5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

นับตั้งแต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวที่มีรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป…
pin
5301 | 09/04/2024
อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ธุรกิจครอบครัวยุคดิจิทัล ต้องเผชิญความท้าทายจาก Disruption อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เทรนด์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคจากสถานการณ์รอบตัว…
pin
6370 | 30/03/2024
3 ตัวอย่าง ธุรกิจครอบครัว ปรับใช้  AI ลดต้นทุน-เพิ่มมูลค่า ต่อยอดความสำเร็จอย่างยั่งยืน