เดินหน้า "ธุรกิจครอบครัว" ปรับตัวสู่ความยั่งยืนในยุค New Economy

Family Business
28/09/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 5015 คน
เดินหน้า "ธุรกิจครอบครัว" ปรับตัวสู่ความยั่งยืนในยุค New Economy
banner
New Economy หรือ “เศรษฐกิจยุคใหม่” ไม่ใช่ศัพท์ใหม่แต่ประการใด และเป็นคำกล่าวที่ใช้กันมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 90 ในยุคที่เริ่มใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต แต่สำหรับความหมายในยุคนี้ คำว่า New Economy ครอบคลุมถึง “ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความยั่งยืนทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม”

แน่นอนว่า เมื่อมองที่กลุ่มธุรกิจครอบครัว การที่จะรับมือเพื่อให้อยู่รอดในยุค New Economy ซึ่งมีทั้งโอกาสและความท้าทายรออยู่นั้น จะต้องมีความสามารถในการปรับตัว หรือ Adaptability ซึ่งหากใครสามารถปรับตัวกับโลกเศรษฐกิจใหม่ที่เกิดขึ้นได้ ก็จะสามารถไปถึงเส้นชัยตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ 



รับมือในยุค New Economy 

สำหรับธุรกิจครอบครัวการเตรียมการเพื่อรับมือกับยุค New Economy ประกอบด้วย 5 แนวทาง ดังนี้

• ต้องเรียนรู้ ในยุค New Economy การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการอัพเดทเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดจนทักษะใหม่ ๆ ซึ่งถือเป็นบันไดขั้นแรกของความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระบบ หรือการเรียนแบบหลักสูตรระยะสั้น เรียนออนไลน์ เรียนหลักสูตรที่เป็นเวิร์คช็อป การร่วมงานสัมมนา อ่านหนังสือ บทความที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ทั้งนี้ ต้องรื้อระบบคิดใหม่และทำความเข้าใจว่า Upskill-Reskill และ Unlearn – Relearn ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการและทายาทของธุรกิจครอบครัวในยุคนี้

• ต้องยืดหยุ่น เนื่องจากธุรกิจครอบครัวจะต้องปรับตัวท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุค New Economy ดังนั้น ไม่ว่าผู้นำครอบครัว ทายาท สมาชิกในครอบครัว หรือแม้แต่พนักงานในธุรกิจก็อาจจะต้องการเปลี่ยนงาน ย้ายสถานที่ทำงาน หรือเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดการปรับตัว เรียนรู้กับ “ของใหม่” ที่เกิดจากการโยกย้าย นอกจากนี้ ก็ต้องเปิดกว้างสำหรับไอเดียใหม่ๆ การทดลองของหรืออะไรใหม่ๆ และต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงหากมีความจำเป็น

• ต้องสำรองเงินทุน เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุค New Economy ไม่อาจรับประกันอนาคตอะไรกับธุรกิจครอบครัวได้ว่า จะมีความมั่นคงมากพอ หรือไม่มีผลกระทบอะไรที่จะก้าวล่วงมาได้ ดังนั้น ทางออกหนึ่งที่จะช่วยธุรกิจไว้ได้ก็คือ การเก็บสำรองเงินทุนไว้ เพื่อให้ครอบครัวยังมีเงินลงทุนในธุรกิจเดิม หรือในธุรกิจใหม่ที่มีอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง  เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจครอบครัวสามารถผ่านพ้นวิกฤติ หรือช่วงเวลายากลำบากไปให้ได้ หากว่าเกิดผลกระทบเชิงลบอย่างไม่คาดหมายขึ้นมา 

นอกจากนี้ การประเมินสถานะทางการเงินของตนเองด้วยว่า มีเงินสด -หนี้การค้าเท่าไร รายได้หลักต่อเดือนมาจากไหน หากมีความไม่แน่นอนจาก New Economy จะกระทบกับอะไร หรือความเสี่ยงของธุรกิจอยู่ตรงไหน 

• ต้องมีความเป็นผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ความเป็นผู้ประกอบการถือเป็นจุดแข็งที่สำคัญของธุรกิจครอบครัว แต่เมื่อธุรกิจถูกส่งผ่านหลายรุ่น ทายาทรุ่นต่อ ๆ มาไม่ได้อยู่ในช่วงการบุกเบิก/ก่อตั้งธุรกิจ เช่นในรุ่นแรก ๆ ดังนั้น จึงทำให้ “ความเข้มข้น” ของการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจครอบครัวถูกลดทอนไปด้วย จึงทำให้กระทบกับจุดแข็งที่สำคัญนี้ ดังนั้น ธุรกิจครอบครัวจึงต้องสร้างความเป็นเจ้าของ และความเป็นผู้ประกอบการ และค่านิยมของครอบครัวได้จากรุ่นสู่รุ่น  

นอกจากนี้ ยุค New Economy ยังทำให้โลกธุรกิจ “แข่งดุ” มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ทางรอดของธุรกิจครอบครัวจึงต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดนอกกรอบไปด้วย ซึ่งการที่จะทำให้ธุรกิจครอบครัวของตนเองอยู่รอดได้ ด้วยการทบทวนธุรกิจของตนเองว่า ควรจะใส่ไอเดียทางธุรกิจอะไร ที่จะทำให้ธุรกิจเดินหน้าได้ดีกว่าเดิม ที่สำคัญ ต้องทุ่มเทและมุ่งมั่น พยายามให้มากขึ้นด้วย

• ต้องคิดบวก ไม่ได้ให้คิดแบบ “โลกสวย” แต่ให้ “คิดบวก” อยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง เนื่องจากยุค New Economy นั้น มีความท้าทายอยู่มาก แต่ก็มีโอกาสอีกมากเช่นกันที่รอธุรกิจครอบครัวที่ทุ่มเท อยากเปลี่ยนแปลง และมีความสามารถในการปรับตัวให้ไขว่คว้า  



“เอาตัวรอด” และ “พิชิตชัยให้ได้”

สำหรับกลยุทธ์เอาตัวรอดในยุค New Economy นั้น สิ่งสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ นั่นคือ ต้องมีกลยุทธ์การวางแผนทางด้านการเงินที่ดี ทั้งในแง่ของการตั้งงบประมาณ และความเคร่งครัดกับการใช้จ่ายของงบประมาณ โดยต้องตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป และโฟกัสกับสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจครอบครัว เช่น การรักษาสภาพคล่อง ค่าขนส่ง การบริหารสินค้าคงคลัง ฯลฯ 

จากนั้น ต้องเขียนแผนว่า เราจะสร้างรายได้อย่างไร เช่น การหาแหล่งรายได้ใหม่ ๆ การเริ่มธุรกิจใหม่ ๆ หรือการลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ เนื่องจากการที่มีรายได้จากหลายแหล่ง จะช่วยประคับประคองให้ธุรกิจครอบครัวสามารถอยู่รอดได้ แม้จะมีสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น เช่น เศรษฐกิจถดถอย หรืออุตสาหกรรมพลิกโฉมจนทำให้ธุรกิจที่ดำเนินอยู่ได้รับผลกระทบ ฯลฯ
 
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากแนะนำเพิ่มเติมก็คือ อยากให้ผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัว “คิดบวก” และโฟกัสกับเป้าหมายของตนเองเข้าไว้ เพราะแม้ในยุคนี้จะมีความยากลำบาก แต่ก็ยัง “แพ้ทาง” ให้กับความทุ่มเทที่ผู้ประกอบการสั่งสมมาอย่างยาวนาน 



นอกจากนี้ แนวทางสำหรับการพิชิตชัยในยุค New Economy สำหรับธุรกิจครอบครัวยังต้องประกอบด้วย

• พัฒนา Growth Mindset ซึ่งเป็นแนวคิดที่เชื่อว่า ความสามารถของทุกคนนั้นเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาผ่านความพยายาม ไม่ยอมแพ้ และการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่สามารสร้างได้ เนื่องจากโดยทั่วไป ธุรกิจครอบครัวมักจะมีแนวโน้มดำเนินธุรกิจแบบอนุรักษ์นิยม หรือแบบเดิม โดยที่ไม่ยอมออกจาก Comfort Zone หรืออะไรที่แปลกไปกว่าเดิม 

ดังนั้น การพัฒนา Growth Mindset  จึงจะช่วยให้ธุรกิจครอบครัวสามารถสร้างจุดแข็งในอีกมิติได้เข้มแข็งกว่าเดิม เนื่องจากการพัฒนา Growth Mindset  ช่วยให้ธุรกิจครอบครัวกล้าฝ่าฟันเรื่องยาก และมองว่า อุปสรรคไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นโอกาสที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะยาวต่อไป และแน่นอนว่า จากการเปิดกว้างเพื่อการเรียนรู้ การเติบโต ความทุ่มเทที่จะได้ทดลองอะไรใหม่ ๆ และพร้อมเผชิญความล้มเหลว 

• สร้างทีมที่เข้มแข็ง เพราะเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นก็จำเป็น จะต้องมีทีมงานที่พึ่งพาได้ ที่สำคัญ นี่คือ “จุดดับฝัน” ที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวก้าวข้ามความเป็นธุรกิจ SME ไปเป็นบริษัทขนาดใหญ่ไม่ได้ ดังนั้น ธุรกิจครอบครัวจะต้องมองหาพนักงานที่สามารถจะแชร์วิสัยทัศน์ของเจ้าของธุรกิจครอบครัวได้ และมีความชอบธุรกิจครอบครัวของเราอย่างจริงจัง และทุ่มเท ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ หากว่าเจ้าของธุรกิจหาได้ หรือสามารถสร้างได้ก็ย่อมจะทำให้ธุรกิจได้พนักงานที่มีทักษะที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย มีวิสัยทัศน์ และจะทำให้ธุรกิจครอบครัวได้รับไอเดียใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากทีมงานเหล่านี้

• โฟกัสกับลูกค้า เนื่องจาก “ลูกค้า คือ ครอบครัว” และลูกค้ายุคใหม่ก็มีการเปลี่ยนผ่านเช่นเดียวกับทายาทคนรุ่นใหม่ของธุรกิจครอบครัว ดังนั้น การเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ในครอบครัวให้โฟกัสกับลูกค้ายุคใหม่ มีโอกาสได้พัฒนาสินค้า/บริการใหม่ เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตของลูกค้ายุคใหม่จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีในยุค New Economy ซึ่งเป็นยุคที่ต้องใช้พลังและโฟกัสกับลูกค้าและตลาด มากกว่าในยุคที่ผ่าน ๆ มา 

เพราะลูกค้าเหล่านี้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากกว่าเดิม มีตัวเลือกมากขึ้น อีกทั้งไม่ลังเลที่จะเปลี่ยนใจ เปลี่ยนแบรนด์เพื่อทดลองใหม่ หรือเมื่อรู้สึกว่า ตนเอง “ไม่แฮปปี้” กับแบรนด์ ๆ นั้น หรือธุรกิจรายใดก็ตาม 



ดังนั้น ในฐานะเจ้าของธุรกิจครอบครัวจึงควรต้องโฟกัสกับการส่งมอบประสบการณ์ที่เหนือความคาดหมายให้กับลูกค้า เพราะในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นมิติใดล้วนเป็นจุดที่ลูกค้ามีโอกาสสัมผัสได้ ขณะเดียวกัน ในมุมกลับ เราก็ควรที่จะใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความภักดีและความชื่นชอบต่อธุรกิจครอบครัวของเราด้วย      

บทความโดย GURU รับเชิญ :  รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์ และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เคล็ดลับเสริมแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวผ่านการทำงานแบบพี่น้อง ที่มีข้อจำกัดมากกว่าการบริหารธุรกิจธรรมดา

เคล็ดลับเสริมแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวผ่านการทำงานแบบพี่น้อง ที่มีข้อจำกัดมากกว่าการบริหารธุรกิจธรรมดา

ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของธุรกิจครอบครัว (Family Business) คือ การส่งต่อธุรกิจครอบครัวให้แก่ผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวรุ่นต่อไป เนื่องจากผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวอาจจะเป็นทายาทธุรกิจที่เป็นพี่น้องร่วมสายเลือดเดียวกัน…
pin
4004 | 27/04/2024
5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

นับตั้งแต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวที่มีรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป…
pin
5300 | 09/04/2024
อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ธุรกิจครอบครัวยุคดิจิทัล ต้องเผชิญความท้าทายจาก Disruption อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เทรนด์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคจากสถานการณ์รอบตัว…
pin
6368 | 30/03/2024
เดินหน้า "ธุรกิจครอบครัว" ปรับตัวสู่ความยั่งยืนในยุค New Economy