อาเซียนผงาด! แซงอียูขึ้นแท่นคู่ค้าจีนอันดับ 1 โอกาสทอง SME ไทย ใช้ e-Commerce รุกตลาดแดนมังกร

SME Go Inter
29/05/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 2558 คน
อาเซียนผงาด! แซงอียูขึ้นแท่นคู่ค้าจีนอันดับ 1 โอกาสทอง SME ไทย ใช้ e-Commerce รุกตลาดแดนมังกร
banner
กลุ่มประเทศอาเซียน กลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีน หลังจากที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั้งจีนและอาเซียนเริ่มกลับมา ในขณะที่วิกฤตโควิด 19 เริ่มฟื้นตัวประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่นๆ หลายแห่ง รวมถึงสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ชะลอตัวจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงเป็นโอกาสทองของ ผู้ประกอบการและ SME ไทย ที่จะขยายตลาดสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างจีน



ทั้งนี้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากการเปิดเผยของสำนักงานศุลกากรแห่งชาติจีน (GACC) ระบุว่า อาเซียนได้ก้าวขึ้นเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของจีน ซึ่งประกอบด้วยบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย มีประชากรรวมกันราว 650 ล้านคน โดยมีมูลค่าการค้ารวม 4.74 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ในขณะที่มูลค่าทางการค้าระหว่างจีนกับสหภาพยุโรปอยู่ที่ 4.5 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 มูลค่าทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 4.06 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 มูลค่าทางการค้าระหว่างจีนกับญี่ปุ่นอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และมูลค่าทางการค้าระหว่างจีนกับเกาหลีใต้อยู่ที่ 1.97 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 นอกจากนี้ ในปี 2563 มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับประเทศตามแถบเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) อยู่ที่ 9.37  ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.1 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของจีน

ทั้งนี้ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ประเทศโลกตะวันตกหลายประเทศยังคงเผชิญกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วงล็อคดาวน์ ขณะที่การค้าของจีนและสหรัฐฯ เริ่มถดถอยลงแต่การค้าระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนกลับประสบความสำเร็จเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจีนส่งออกมายังอาเซียนราว 16% ถือเป็นครั้งแรกของการค้าระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียนที่เติบโตมากกว่าสัดส่วนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา



สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่เอื้อในการทำการค้าขายกับจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียนคือ ปัจจัยเกื้อหนุนอื่นๆ เช่น การลดภาษีที่ส่งเสริมการส่งออก จากความตกลงการค้า RCEP: Regional Comprehensive Economic Partnership ที่จีนและอาเซียนลงนามร่วมกันในปี 2563 ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้การค้าระหว่างกันมากขึ้น โดยจีนต้องการสินค้าหลายชนิดจากอาเซียน เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และอาหารสำเร็จรูป

โดย ‘พาณิชย์จีน’ เปิดเผยว่า ในช่วง 2 ปีนี้ มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับ 14 ประเทศสมาชิก RCEP อยู่ที่ 10.2 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.7 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของจีน โดยจีนมีการส่งออกให้กับ 14 ประเทศสมาชิก RCEP เป็นมูลค่า 4.83 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และจีนมีการนำเข้าเป็นมูลค่า 5.37 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 โดยสินค้ามากกว่าร้อยละ 50 ที่จีนส่งออกไปยังประเทศสมาชิก RCEP คือ อุปกรณ์เครื่องจักรไฟฟ้า และสินค้าที่จีนนำเข้าจากประเทศสมาชิก RCEP มากที่สุด คือ แผงวงจรรวม (IC) 



ชาวจีนยังเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าไทย

เป็นที่ทราบกันดีว่า ชาวจีนมีความนิยมในสินค้าไทย คำถามต่อมาคือ ‘แล้วจะขายอะไรดี’ เป็นเรื่องที่เราต้องทราบก่อนว่า สินค้าไทยประเภทใดบ้างที่ชาวจีนชื่นชอบ ซึ่งสามารถสรุปกลุ่มสินค้าไทยที่ชาวจีนนิยมมาเป็นแนวทางได้ดังนี้

1. กลุ่มขนมขบเคี้ยวไทย เป็นสินค้าที่คนจีนนิยมมาก ส่วนใหญ่เป็นผลไม้แปรรูปจะนิยมมาก เพราะเมืองไทยขึ้นชื่อเรื่องผลไม้อร่อย มีคุณภาพ เช่น มะม่วงอบแห้ง ทุเรียนทอดกรอบ ตามมาด้วยประเภทขนมอบกรอบ โดยเฉพาะขนมขบเคี้ยวแบบแคลอรี่ต่ำ จะได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากคนจีนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ส่วนสาเหตุที่คนจีนชื่นชอบขนมขบเคี้ยวของไทย เนื่องจากรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ที่หาไม่ได้ในประเทศจีน ที่สำคัญยังตอบโจทย์เรื่องสุขภาพอีกด้วย สินค้าทานเล่นจากไทยจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดจีน อาทิ น้ำมะพร้าวสดของไทย นมอัดเม็ดของจิตรลดา สาหร่ายอบกรอบ เป็นต้น

2. กลุ่มเครื่องสำอาง สกินแคร์ต่างๆ ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ครีมกันแดด ซึ่งคนจีนจะชอบครีมกันแดดของไทยมาก จากที่นักการตลาดไทยเคยทำสตอรี่ว่า คนไทยอยู่เมืองร้อน ลักษณะผิวจะไม่ขาวมากอย่างคนจีน แต่ทำไมดาราไทยถึงมีผิวขาวนวลเนียน นั่นเพราะว่า เขาใช้ครีมกันแดด นานวันเข้าเลยเป็นการปลูกฝังความเชื่อนี้ให้กับนักท่องเที่ยวจีนโดยอัตโนมัติ ชาวจีนจึงเชื่อว่าสินค้ากันแดดไทยดีมากๆ จะเห็นได้ว่าการจะขายสินค้าให้คนจีนได้ Story Telling คือสิ่งสำคัญมาก

3. กลุ่มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ อาทิ ยาหม่อง กอเอี๊ยะ ยาดม พลาสเตอร์บรรเทาปวด ยาอมแก้เจ็บคอ ยาปิดผมขาวแก้ผมร่วงต่างๆ ก็ได้รับความนิยมจากชาวจีนมาโดยตลอด

4. หมอนยางพารา เหตุผลที่กลุ่มชาวจีนชื่นชอบหมอนยางพารา เนื่องมาจากช่วงที่ก่อนโควิด19ที่นักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวไทย ไกด์ทัวร์จีนจะพานักท่องเที่ยวจีนไปช้อปปิ้งในร้านที่มีผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จนเกิดความเชื่อมั่นว่า หมอนยางพาราไทยของเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี ทำให้เป็นสินค้าที่ขายดีมาจนถึงปัจจุบัน



‘CBEC’ ตลาดออนไลน์ ทางเลือก SME ไทย ใช้ทุนน้อย เจาะตลาดจีน 

จากตัวเลขการนำเข้าและส่งออกของจีน เป็นมูลค่าที่สูงมาก สะท้อนให้เห็นโอกาสสำหรับ SME ที่สนใจอยากจะนำสินค้าไทยเจาะตลาดจีน ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตโควิด19 นักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางมาไทยมากถึงปีละกว่า 10 ล้านคน แต่เมื่อเกิดโควิด19 การจะรอให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาเที่ยวแล้วซื้อสินค้ากลับไปคงทำได้ยาก ช่องทางขายโดยใช้ e-Commerce จึงเป็นช่องทางการตลาดออนไลน์ที่น่าสนใจและเข้าถึงได้ง่ายที่สุดในการเจาะตลาดผู้บริโภคชาวจีน 

ทั้งนี้การจะส่งสินค้าไปขายในตลาดจีนนั้น Cross Border e-Commerce หรือ CBEC เป็นช่องทางการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน เนื่องจากรัฐบาลจีนให้การสนับสนุน โดยถือเป็นรูปแบบการค้าที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการและ SME ที่อยากจะเปิดตัวสินค้าของตัวเองในตลาดจีน แต่ลงทุนไม่สูงมากนัก

สำหรับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศผ่านการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนหรือ CBEC เป็นช่องทางการค้าออนไลน์ระหว่างประเทศ ที่รัฐบาลจีนจัดตั้งขึ้นเป็นการช่วยกระตุ้นความต้องการบริโภคของชาวจีนในการซื้อสินค้าปลีก ‘จำนวนน้อยๆ’ จากต่างประเทศด้วยตนเอง เป็นการสร้างความมั่นใจได้ว่าสินค้าที่ได้เป็นของแท้ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องพึ่งพาเทรดเดอร์หรือผู้นำเข้าที่ต้องสั่งซื้อสินค้าแบบจำนวนมากๆ 

ดังนั้น CBEC จึงเหมาะกับผู้ประกอบการขนาดเล็กอย่าง SME ตั้งแต่การส่งสินค้าไปจีนได้โดยไม่ต้องร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นในจีนเพื่อขออนุญาตนำเข้าสินค้า ลดความยุ่งยากเรื่องกระบวนการจดแจ้งและขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้า การขอ อย.จีน การขึ้นทะเบียนผู้นำเข้า ไปจนถึงการทำฉลากสินค้าภาษาจีน ฯลฯ ช่องทางนี้จึงเหมาะกับผู้ประกอบการและ SME ไทยที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจส่งสินค้าไปขายในตลาดจีน

อย่างไรก็ตามแม้ CBEC จะมีข้อจำกัดในการซื้อได้ไม่เกินคนละ 5,000 หยวน หรือประมาณ 25,600 บาท ต่อการซื้อหนึ่งครั้ง และไม่เกิน 26,000 หยวนต่อปี หรือประมาณ 133,000 บาท โดยมีสินค้าจำนวน 1,413 รายการ ที่ได้รับอนุญาตขายผ่าน CBEC ได้ แต่ CBEC ก็ยังถือเป็นช่องทางที่เอื้อและเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการและ SME ไทย ที่จะประสบความสำเร็จในการเปิดตัวสินค้าของตนเองในตลาดยักษ์ใหญ่อย่างประเทศจีนก็เป็นได้


ที่มา :

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6334 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2034 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5072 | 23/10/2022
อาเซียนผงาด! แซงอียูขึ้นแท่นคู่ค้าจีนอันดับ 1 โอกาสทอง SME ไทย ใช้ e-Commerce รุกตลาดแดนมังกร