ศึกษาตลาดสินค้า LGBTQ+ ญี่ปุ่น กับโอกาสผู้ประกอบการไทย ครีเอทไอเดียตอบโจทย์ผู้บริโภคตรงจุด

SME Go Inter
22/06/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 2198 คน
ศึกษาตลาดสินค้า LGBTQ+ ญี่ปุ่น กับโอกาสผู้ประกอบการไทย ครีเอทไอเดียตอบโจทย์ผู้บริโภคตรงจุด
banner
เข้าสู่ Pride Month หลายคนคงได้เห็นการเฉลิมฉลองเทศกาลความ Pride กันหลายรูปแบบ ในแวดวงธุรกิจเองก็หันมาให้ความสำคัญกันมากขึ้น ซึ่งหลายแบรนด์ก็ได้ออกมาแสดงจุดยืนสนับสนุนความเท่าเทียมด้วยวิธีการหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนปรับเปลี่ยนโลโก้แบรนด์เป็นสีรุ้งที่สะท้อนการต่อสู้เพื่อเกียรติของกลุ่ม LGBTQ+ จนนำมาสู่การออกแคมเปญการตลาดอย่างแพร่หลาย

สำหรับคนที่อาจจะยังไม่รู้จัก LGBT คืออักษรย่อของ Lesbian, Gay, Bisexual และ Transgender หรือที่เราเรียกว่า กลุ่มเพศทางเลือกที่มีความหลากหลาย

ความหลากหลายทางเพศเหล่านี้กลายเป็นประเด็นที่ผู้คนเริ่มตระหนักถึง และแผ่ขยายไปในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเอง ซึ่งยังไม่เปิดกว้างในเรื่องนี้มากนัก ก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวกันมากขึ้น

เมื่อสังคมและค่านิยมเปลี่ยนไป ผู้คนไม่ยึดติดกับการที่ตนเป็นชายหรือหญิง แต่ต้องการ ‘มีความเป็นตัวของตัวเอง’ มากกว่า ดังนั้นสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองทัศนคติของคนในยุคปัจจุบัน คือ สินค้าหรือบริการที่ไม่ได้มุ่งสำหรับเพศใดเพศหนึ่ง แต่ในเชิงการตลาดสำหรับสินค้าที่มุ่งเป้าไปยังกลุ่ม LGBTQ+ ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ยังอาจต้องใช้ความระมัดระวัง  



ส่องพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่ม LGBTQ+ ในประเทศญี่ปุ่น

สำหรับพฤติกรรมที่น่าสนใจของกลุ่ม LGBTQ+ ในประเทศญี่ปุ่น มักจะรีบอยากลองเมื่อมีสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด และมักจะตัดสินใจซื้อทันทีโดยไม่วางแผน แม้ว่าราคาจะแพงแต่ถ้าชอบก็จะซื้อ และมักจะเลือกสินค้าจากสีสันและดีไซน์เป็นหลัก ในขณะที่มักไม่เลือกสินค้าตามกระแสนิยม

นอกจากนี้ มูลค่าตลาดการใช้จ่ายของกลุ่ม LGBTQ+ ในปี 2021 พบว่าว่าเป็นประมาณ 5.42 ล้านล้านเยน ถึงแม้ว่าจะลดลงจาก 5.92 ล้านล้านเยนของปี 2015 แต่ก็ยังกล่าวได้ว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง เมื่อคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงนี้จากการระบาดของโควิด 19 ซึ่งทำให้การใช้จ่ายโดยรวมของผู้บริโภคลดลง ซึ่งประเภทสินค้าที่ได้รับความนิยมในกลุ่ม LGBTQ+ พบว่า ประเภทที่มีมูลค่าการใช้จ่ายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่..

1. อาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคในบ้าน 
2. พาหนะ เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ 
3. การแพทย์/ประกันสุขภาพและบริการพยาบาล 
4. การรับประทานอาหารนอกบ้าน 
5. สินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย รองเท้า 

นอกจากนั้น สินค้าที่มีมูลค่าสูงเช่นกัน ได้แก่ เครื่องสำอาง, สินค้าเสริมความงาม, หนังสือ, นิตยสาร

 

ตัวอย่างสินค้าข้ามเส้นแบ่งเพศในตลาดญี่ปุ่น 

บริษัท Ryohin Keikaku Co.,Ltd. เจ้าของแบรนด์ MUJI ได้เริ่มผลิตจำหน่ายเสื้อผ้าที่ใส่ได้ทั้งชายหญิง หรือ unisex5 ตั้งแต่ปี 2019 ภายใต้แบรนด์ MUJI LABO โดยมีดีไซน์และสีเรียบง่าย โดยมี 3 ขนาด คือ XXS-XS, S-M และ L-XL ทำให้ชายหรือหญิงไม่ว่าจะเป็นไซส์ไหนก็เลือกใส่ได้ โดยในปีแรกมีเพียง 6 รายการ และต่อมาได้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยมา และภายในปี 2022 นี้จะมีเสื้อผ้ารองเท้า ฯลฯ ที่เป็น unisex เพิ่มเป็นร้อยละ 50 ของสินค้าทั้งหมด หรือประมาณ 250 รายการ



บริษัท World Co., Ltd. ในปี 2021 ได้ ออกจำหน่ายเสื้อ unisex ภายใต้แบรนด์ Base Control โดยเป็นสไตล์และ ดีไซน์ที่ใส่ได้ทั้งชายและหญิง และในปี 2021 ยังได้เพิ่มเสื้อผ้า unisex สำหรับ เด็กด้วย

บริษัท Sugi Holdings Co., Ltd เจ้าของธุรกิจร้าน Drug store รายใหญ่ของญี่ปุ่นก็ได้ผลิตและจำหน่ายสินค้าแบรนด์ที่ใช้ชื่อ Prieclat U  ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ใช้ได้ทั้งกับชายและหญิง 

บริษัท KANEBO แบรนด์เครื่องสำอางรายใหญ่ของญี่ปุ่น เมื่อปี 2019 ได้ออกจำหน่าย Eyebrow Mascara ซึ่งผู้ชายก็ใช้สำหรับแต่งหนวดเคราได้



6 เทคนิคทำการตลาดกับกลุ่ม LGBTQ+ ให้โดนใจลูกค้า

1. สื่อสารด้วยความจริงใจและความต่อเนื่อง ไม่ทำเพื่อเรียกกระแสเท่านั้น
2. มอง LGBTQ+ เป็นเรื่องปกติ
3. การนำเสนอจะต้องเข้าใจง่าย เข้าถึงง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน 
4. สร้างความเท่าเทียม เสมอภาค ในการร่วมกิจกรรม รวมถึงโอกาสในเลือกตัดสินใจต่อสินค้าและบริการ 
5. สินค้า บริการ สถานที่ ต้องให้ความรู้สึกดูดี มีรสนิยม  
6. แสดงออกอย่างเคารพ และให้เกียรติ ทุกเพศ ทุกวัย เท่าเทียมต่อผู้บริโภคทุกคน 



โอกาสผู้ประกอบการไทย ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคได้ตรงจุด

สินค้าสำหรับผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQ+ อาทิ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง เป็นสินค้าที่มิได้มุ่งเป้าสำหรับผู้ที่มีเพศสภาพใดโดยเฉพาะ เป็นเสื้อผ้าที่ไม่ว่าจะมีเพศสภาพใดก็สามารถสวมใส่ได้อย่างอิสระ โดยเน้นความเป็นตัวของตัวเองแทนที่จะเน้นความเป็นชายหรือหญิง มุ่งที่การใช้งาน ใส่ได้ในทุกโอกาส สวมใส่สบาย

ดังนั้น ตลาดสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ ในญี่ปุ่นจึงน่าจะเป็นตลาดที่เปิดโอกาสให้สินค้าไทยต่างๆ ได้อีกมาก โดยผู้ประกอบการไทยควรศึกษาพัฒนาทั้งตัวสินค้า ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ และการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม 

ยิ่งไปกว่านั้นปัจจุบันในญี่ปุ่นได้เกิดกระแสนิยมซีรีส์วายของไทยที่ดูเหมือนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงอาจใช้ความนิยมนี้เป็น Soft Power ในการผลักดันสินค้าของไทยในกลุ่มผู้บริโภคนี้ได้ด้วย


แหล่งอ้างอิง : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/777794/777794.pdf&title=777794&cate=413&d=0

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6334 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2034 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5072 | 23/10/2022
ศึกษาตลาดสินค้า LGBTQ+ ญี่ปุ่น กับโอกาสผู้ประกอบการไทย ครีเอทไอเดียตอบโจทย์ผู้บริโภคตรงจุด