ศึกษาแนวคิดการบริหารธุรกิจครอบครัวต่างประเทศ สู่ Case Study เพื่อ SME

Family Business
17/06/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 5256 คน
ศึกษาแนวคิดการบริหารธุรกิจครอบครัวต่างประเทศ สู่ Case Study เพื่อ SME
banner
ธุรกิจครอบครัว (Family Business) ถือเป็นฟันเฟืองที่สำคัญของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในแถวทวีปเอเชีย แถบตะวันออกกลาง และอีกหลายประเทศในทวีปยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี รวมไปถึงประเทศไทยที่ธุรกิจครอบครัวถือว่าสร้างมูลค่าให้ประเทศเป็นจำนวนมากเช่นกัน

ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจแต่ละครอบครัวนั้นมีแนวคิดในการสืบทอดที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากการวางกลยุทธ์ของธุรกิจครอบครัว (Family Business) ไปสู่หนทางแห่งความสำเร็จนั้นไม่มีสูตรตายตายตัว ผู้นำธุรกิจครอบครัวจึงจำเป็นต้องสร้างและพัฒนากลยุทธ์ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง

ดังนั้นการศึกษาแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญเปรียบเสมือนเข็มทิศนำทาง ช่วยลดระยะเวลาและนำพาธุรกิจครอบครัว (Family Business) ไปสู่เป้าหมายความสำเร็จได้ และเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น จึงขอเสนอกรณีศึกษาแนวคิดธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจครอบครัวต่างประเทศ 



ศึกษา 3 แนวคิดการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) กรณีศึกษาครอบครัวต่างประเทศ

1. กรณีศึกธุรกิจครอบครัว บริษัท เคล็ท กรุ๊ป (Klett Gruppe) 

บริษัท เคล็ท กรุ๊ป (Klett Gruppe) เป็นธุรกิจครอบครัวจากประเทศเยอรมนี ที่มีอายุยืนยาวกว่า 100 ปี โดยก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1897 เริ่มจากการเป็นธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดเล็ก จนสามารถขยายสู่กลุ่มธุรกิจการศึกษาขนาดใหญ่ของยุโรป มุ่งเน้นผลิตสื่อการเรียนการสอน ศูนย์พัฒนาเด็ก และโรงเรียน รวมไปถึงระบบการเรียนแบบออนไลน์  จนกลายเป็นกลุ่มธุรกิจทางด้านการศึกษาที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วโลก สร้างรายได้กว่า 537.3 ล้านยูโร/ปี ที่มีทั้งสิ้น 67 บริษัท ตั้งอยู่ใน 15 ประเทศ

ปัจจุบันอยู่ในการบริหารของทายาทธุรกิจรุ่นที่ 4 ซึ่งบริษัทนี้มีแนวคิดในการบริหารธุรกิจ คือการที่สมาชิกครอบครัวจะก้าวข้ามมาเป็นผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจครอบครัวได้ จะต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติที่คณะกรรมการบริหารของกลุ่มธุรกิจ และสภาครอบครัวร่วมกันกำหนดไว้เสียก่อน เช่น จบการศึกษาขั้นต่ำในระดับปริญญาตรี สามารถพูดภาษาต่างประเทศได้ไม่น้อยกว่า 2 ภาษา และมีประสบการณ์ทำงานนอกเครือของธุรกิจครอบครัว (Family Business) ไม่น้อยกว่า 2 ปี พร้อมทั้งมีประสบการณ์ในการบริหารงานในสายงานสำคัญของธุรกิจครอบครัวไม่น้อยกว่า 5 ปี และจะต้องผ่านขั้นตอนการรับสมัครงานเหมือนพนักงานทั่วไป โดยที่จะไม่ได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนอื่น ๆ 



สำหรับข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ในการมีส่วนร่วมในธุรกิจครอบครัว สมาชิกครอบครัวทุกคนจะถูกคาดหวังให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท เมื่อสมาชิกในครอบครัวมีอายุครบ 18 ปี จะมีสิทธิ์ได้รับการจัดสรรหุ้น ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันเองภายในครอบครัว

นอกจากนี้บริษัทยังมีแนวคิดที่เปิดโอกาสให้ลูกหลานหรือทายาทธุรกิจรุ่นต่อไป หากใครสนใจสามารถเข้ามาฝึกงานในบริษัทในช่วงปิดเทอม ซึ่งจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับทักษะด้านการบริหารจัดการต่าง ๆ และจะได้รับการสร้างสร้างสรรค์กิจกรรมสันทนาการที่ครอบครัวเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง ซึ่งลูกหลานมีสิทธิเลือกว่าจะเข้ามาทำงานใน บริษัทหรือไม่ก็ได้ โดยจะไม่เป็นการบังคับ แต่จะเน้นการปลูกฝังและสนับสนุน



 2. กรณีศึกษาธุรกิจครอบครัว บริษัท โอชิ เรียวกัง (Hoshi Ryokan) 

บริษัท โอชิ เรียวกัง (Hoshi Ryokan) เป็นธุรกิจโรงแรมในประเทศญี่ปุ่น ที่มีอายุมาก กว่า 1,300 ปี ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 718 ปัจจุบันอยู่ในการบริหารของทายาทธุรกิจรุ่นที่ 46 ซึ่งแนวคิดการบริหารคือลูกหลานต้องสืบทอดธุรกิจครอบครัว (Family Business) โดยยึดหลักส่งต่อธุรกิจให้กับลูกชายคนโตคนเดียวเท่านั้น สำหรับลูกชายคนโตจะเป็นทายาทได้ธุรกิจโดยอัตโนมัติ โดยเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรม 

นอกจากนี้ หากไม่มีลูกชาย หรือลูกชายไม่มีความสามารถเพียงพอ สามารถให้ลูกเขย หรือรับลูกบุญธรรมเข้ามารับช่วงธุรกิจได้ แต่ต้องใช้ชื่อสกุลของครอบครัว และผู้ที่ได้รับการสืบทอดจะมีเพียงหนึ่งคน โดยจะต้องสืบทอดกิจการของตระกูลจะได้ครอบครองทรัพย์สิน และทำหน้าที่เป็นผู้นำของครอบครัว

 3. กรณีศึกธุรกิจครอบครัว บริษัท เค็ดเด็ก (Keddeg) 

บริษัท เค็ดเด็ก (Keddeg) เป็นธุรกิจครอบครัวจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทำธุรกิจเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์และระบบกรองอากาศในเครื่องบิน ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1986 โดยสองสามีภรรยาเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งทั้งคู่มีลูกด้วยกันทั้งหมด 5 คน โดยลูกแต่ละคนต่างก็มีงานประจำมีครอบครัว  โดยที่ผ่านมาไม่เคยมีลูกคนไหนเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจครอบครัวเลย 
ดังนั้นบริษัทนี้ จึงมีแนวคิดการส่งต่อธุรกิจครอบครัว โดยการให้ลูกๆ เสนอราคาซื้อบริษัทครอบครัว แต่ถ้าหากลูก ๆ ไม่สนใจ หรือให้ราคาที่ไม่น่าสนใจเพียงพอ ก็พร้อมที่จะขายธุรกิจไปให้กับคนนอก โดยให้เหตุผลว่า ใช้แรงกายแรงใจทุ่มเทเวลาในการสร้างธุรกิจมานาน เมื่อถึงเวลาที่จะพักก็ควรจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมจากธุรกิจที่สร้างมา
 


ถอดรหัส 3 ข้อสำคัญ สร้างธุรกิจครอบครัวให้ประสบความสำเร็จ

จากกรณีศึกษาแนวคิดในการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) ต่างประเทศ สรุปได้ว่า แนวคิดการสืบทอดธุรกิจแต่ละครอบครัวมีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว เช่น การปลูกฝังและพัฒนาผู้สืบทอดตั้งแต่เยาว์วัย การสร้างความยืดหยุ่นของการสืบทอดกิจการ หรือแม้กระทั่งการหาทางออกให้ผู้นำรุ่นก่อนสามารถวางมือได้อย่างสบายใจ ซึ่งสามารถถอดรหัส 3 ข้อสำคัญ สร้างธุรกิจครอบครัวให้ประสบความสำเร็จได้ดังนี้
            
1. ปลูกฝังและสนับสนุนสืบทอดธุรกิจด้วยความสมัครใจ

เป็นแนวคิดที่ให้ลูกหลานเข้ามาบริหารธุรกิจครอบครัวด้วยความสมัครใจ โดยลูกหลานไม่จำเป็นต้องสืบทอดหากไม่อยากทำ แต่ครอบครัวจะให้ความสนับสนุนแทน โดยหากใครสนใจจะเข้ามาสืบทอดต้องเข้สู่ธุรกิจตั้งแต่เยาว์วัย ก่อนเข้าสู่ธุรกิจครอบครัว (Family Business) เต็มตัว เพื่อให้มีความสนใจในธุรกิจ และสั่งสมประสบการณ์ เพื่อให้มีความรู้ก่อนการรับมอบตำแหน่งจากเจ้าของผู้ก่อตั้ง โดยต้องสร้างความไว้วางใจเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลา ไม่สามารถรีบเร่งหรือบังคับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งผู้ที่เข้ามาจะต้องผ่านตามเกณฑ์ กติกา หรือต้องมีคุณสมบัติที่บริษัทระบุไว้ด้วย

2. สั่งสมประสบการณ์จากนอกบริษัท ก่อนเข้ามาบริหารธุรกิจครอบครัว

แนวคิดให้ลูกหลานสั่งสมประสบการณ์จากบริษัทอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจครอบครัว จนมีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้นำเอาองค์ความรู้และประสบการณ์จากการทำงาน จากนอกบริษัทมาพัฒนาธุรกิจให้แข็งแกร่งขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการบริหารงานบุคคล และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กร เพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตต่อไป

3. ส่งต่อธุรกิจให้กับลูกชายคนโตคนเดียวเท่านั้น

สำหรับแนวคิดนี้ ผู้สืบทอดธุรกิจจะมีได้เพียงคนเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกชายคนโต จะมีสิทธิ์โดยชอบธรรมแบบอัตโนมัติ โดยจะต้องเป็นผู้สืบทอดวงศ์ตระกูล และธุรกิจครอบครัวไปด้วยกัน ในอดีตนั้นทายาทที่ไม่ได้สืบทอดกิจการจะต้องออกจากครอบครัวไป และไปก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาเองยกเว้นจะได้รับมอบหมายจากผู้สืบทอดให้เข้ามาร่วมดูแลกิจการครอบครัวในด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งหลายบริษัทก็ยังยึดหลักการนี้ในการดำเนินธุรกิจอยู่ แต่ปัจจุบันเชื่อว่ามีการสร้างวัฒนธรรมใหม่เป็นของตนเองเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยดูจากความสามารถเป็นหลัก

ซึ่งแนวคิดนี้ ถือเป็นวัฒนธรรมในการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) ถูกกำหนดโดยผู้นำธุรกิจ ซึ่งเป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันระหว่างรุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องทำตามเพื่อให้ค่านิยมดำรงอยู่ โดยผู้นำต้องแสดงให้เห็นถึงค่านิยมที่พวกเขายอมรับปฏิบัติตามในทุกวัน

การวางกลยุทธ์ของธุรกิจครอบครัว (Family Business) ไปสู่หนทางแห่งความสำเร็จนั้นแน่นอนว่าไม่มีสูตรตายตายตัว และคงไม่สามารถกล่าวได้ว่าแนวคิดการสืบทอดใดดีที่สุด เพราะแต่ละธุรกิจมีจุดเด่น - จุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแนวคิดเหล่านี้อาจเป็นเพียงภาพสะท้อนเท่านั้น สิ่งสำคัญคือการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ รักษาสมดุลของการดำรงอยู่ของธุรกิจครอบครัว และความสัมพันธ์อันดีของสมาชิกภายในครอบครัวให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน


แหล่งอ้างอิง :
หนังสือวางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืน เขียนโดย คุณกิติพงศ์  อุรพีพัฒนพงศ์, รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, คุณนวพล วิริยะกุลกิจ ผู้อำนวยการสถาบันธุรกิจครอบครัวแห่งเอเชีย (Family Business Asia)
https://moneyandbanking.co.th/article/the-guru/the-guru-familybusinesssociety-mb463-moneyandbanking-november-2020

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

นับตั้งแต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวที่มีรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป…
pin
3501 | 09/04/2024
อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ธุรกิจครอบครัวยุคดิจิทัล ต้องเผชิญความท้าทายจาก Disruption อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เทรนด์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคจากสถานการณ์รอบตัว…
pin
4053 | 30/03/2024
ศึกษาแนวคิด 3 พลังหญิง นำทัพ ‘ธุรกิจครอบครัว’ Transition ธุรกิจทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

ศึกษาแนวคิด 3 พลังหญิง นำทัพ ‘ธุรกิจครอบครัว’ Transition ธุรกิจทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

ธุรกิจครอบครัวที่บริหารด้วยค่านิยมแบบดั้งเดิม มักจะมีมุมมองว่าลูกผู้ชาย เหมาะสมที่จะก้าวขึ้นมารับช่วงกิจการในตำแหน่งหัวหน้า ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการหารายได้…
pin
5298 | 08/03/2024
ศึกษาแนวคิดการบริหารธุรกิจครอบครัวต่างประเทศ สู่ Case Study เพื่อ SME