ชี้ช่องส่องตลาด ‘ผลไม้ไทย’ ส่งออกจีนให้มากขึ้น สร้างรายได้เข้าประเทศสวนกระแสเศรษฐกิจถดถอย

SME Go Inter
30/08/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 7800 คน
ชี้ช่องส่องตลาด ‘ผลไม้ไทย’ ส่งออกจีนให้มากขึ้น สร้างรายได้เข้าประเทศสวนกระแสเศรษฐกิจถดถอย
banner
Frost & Sullivan บริษัทให้คำปรึกษาและการวิจัยตลาด เปิดเผยว่า มูลค่าตลาดค้าปลีกผลไม้ของจีนทั้งปลูกเองและนำเข้าในปี 2016 มีมูลค่า 827,300 ล้านหยวน และในปี 2021 มีมูลค่า 1.23 ล้านล้านหยวน โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 8.2% และในอนาคตคาดว่าตลาดค้าปลีกผลไม้จะพบชนิดของผลไม้ ที่หลากหลายและให้ประสบการณ์ในการช้อปปิ้งแก่ผู้บริโภคมากขึ้น

นอกจากนี้ตลาดค้าปลีกผลไม้ของจีน ยังคงมีศักยภาพในการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2022 มูลค่าตลาดค้าปลีกผลไม้ของ จีนจะมีมูลค่าถึง 1.33 ล้านล้านหยวน



ตลาดนำเข้าผลไม้จีนเติบโต

ตลาดผลไม้นำเข้าของจีนเริ่มโตขึ้นหลังจากจีนเข้าร่วมองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในขณะนั้นชาวจีนเริ่มมีกำลังซื้อและมีความต้องการผลไม้นำเข้ามากขึ้น ทำให้นักธุรกิจจีนเริ่มนำเข้าผลไม้เอง ไม่รับซื้อสินค้าจากฮ่องกงเหมือนที่ผ่านมา อีกทั้งมีการลงทุนปลูกผลไม้และสร้างโรงงานคัดบรรจุผลไม้ที่ประเทศผู้ส่งออก ทำให้การนำเข้าผลไม้ของจีนโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันจีนนำเข้าผลไม้จากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และมีปริมาณการนำเข้ามากกว่า 6 ล้านตันต่อปี ถึงแม้มูลค่าและปริมาณนำเข้าผลไม้ ของจีนจะน้อยกว่าปริมาณการบริโภคผลไม้ท้องถิ่นของจีนเอง แต่ความต้องการผลไม้นำเข้าของจีนยังคงสูง หากเทียบกับประเทศอื่นๆ จนทำให้จีนกลายเป็นหนึ่งในประเทศนำเข้าผลไม้ที่สำคัญของโลก



ส่องสถานการณ์ส่งออกผลไม้ไทยไปเมืองจีนปี 2565

จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากรายงานสถานการณ์การส่งออกผลไม้สดจากไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนของกลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร พบว่า การส่งออกผลไม้สดไทย ตั้งแต่ 1 ก.พ. - 21 ก.ค. 2565 มียอดการส่งออกแล้วกว่า 64,903 ชิปเมนต์ ปริมาณ 1.16 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 9.2 หมี่นล้านบาท

โดยแยกเป็นการส่งออกทางเรือ 7.06 แสนตัน การส่งออกทางบก 4.2 แสนตัน และการส่งออกทางอากาศ 3.2 หมื่นตัน อีกทั้งยังสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจีนในผลไม้สดไทยส่งออกที่สามารถครองแชมป์อันดับ 1 คือ ทุเรียนส่งออกแล้วปริมาณกว่า 6.7 เสนตัน 39,834 ชิปเมนต์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 7.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งผลไม้สดที่สร้างมูลค่าในการส่งออก 5 อันดับแรก คือ ทุเรียน มะพร้าวอ่อน มังคุด ลำไย และส้มโอ



เปิดเหตุผล...ทำไมต้องผลไม้ไทย แม้จีนจะปลูกผลไม้ได้เอง

ด้วยความแตกต่างทางสภาพดิน ฟ้า อากาศระหว่างไทยและจีนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่แตกต่างกันในสองประเทศ โดยไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน ภายใต้อิทธิพลมรสุมสองชนิดคือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณน้ำฝนมาก อุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูง ไทยมีพื้นที่ราบภาคกลางที่มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชเขตร้อน สภาพดินฟ้าอากาศเป็นมรสุมชัดเจน

ส่วนประเทศจีนนั้นมีสี่ฤดูกาลชัดเจน อุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างภาคใต้และภาคเหนือ ภาคใต้ร้อน ภาคเหนือหนาว ฤดูร้อนในพื้นที่ส่วนใหญ่มักมีฝนตกชุกอากาศร้อน บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ไปจนถึงบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือแบ่งได้เป็นเขตชื้นที่มีอุณหภูมิและความชื้นต่างกัน พืชสวนที่สามารถปลูกได้ในแต่ละบริเวณจึงแตกต่างกันไป

สำหรับผลไม้จีนมีการเพาะปลูกผลไม้แทบทุกภาค ผลผลิตที่มีชื่อ เช่น สาลี่หอม แคนตาลูปของเขตปกครองตนเองซินเจียง แอปเปิ้ลของเมืองเยียนไถ มณฑลซานตง องุ่นของมณฑลซานซี ส้มของมณฑลเสฉวนและเจียงซี ลิ้นจี่ของมณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลกวางตุ้ง สตรอว์เบอรี่ ลำไย ส้มโอของเขตปกครองตนเองก่วงซี-จ้วง โดยในแต่ละปี จีนมีปริมาณผลผลิตผลไม้ทั้งสิ้นจำนวนกว่า 60 ล้านตัน พื้นที่ที่สามารถให้ผลผลิตผลไม้สูงที่สุดคือ มณฑลซานตง รองลงมาคือ มณฑลเหอเป่ย

ตั้งแต่เริ่มใช้นโยบายการเปิดตลาดในปี 2521 ทำให้การผลิตผลไม้ของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการปลูกผลไม้มีมากคิดเป็นอันดับสามของการเพาะปลูกทั้งหมด จีนมีการผลิตแอปเปิลและลูกแพร์มากที่สุดในโลก และมีการปลูกผลไม้ตระกูลส้มมากเป็นอันดับ 3 ของโลก จีนจึงเป็นประเทศผู้ผลิตและบริโภคผลไม้มากที่สุดในโลก แต่ขณะที่ปริมาณการผลิตผลไม้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ความต้องการของผู้บริโภคกลับเพิ่มสูงขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทางภาคใต้ของจีนในบางพื้นที่ เช่น มณฑลกวางตุ้ง ฝูเจี้ยน หรือเขตปกครองตนเองก่วงซี-จ้วง จะสามารถเพาะปลูกพืชและผลไม้เมืองร้อนได้ เช่น กล้วย มะม่วง มะละกอ แต่กระนั้นด้วยอุปสรรคด้านสภาพอากาศที่ไม่ร้อนตลอดทั้งปี ส่งผลให้รสชาติและคุณภาพของผลไม้ที่เพาะปลูกได้ในประเทศยังไม่ดีเท่าที่ควร รวมทั้งปริมาณความสามารถในการผลิตก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคทั้งประเทศด้วยจีนจึงยังมีความต้องการผลไม้ค่อนข้างสูง

และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีเห็นได้ว่า ข้อได้เปรียบของไทยต่อจีนด้านการผลิตสินค้าเกษตรอยู่ที่ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชและผลไม้เมืองร้อนได้ตลอดทั้งปี ไทยสามารถผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิดที่จีนไม่สามารถผลิตได้ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้เขตร้อน ยางธรรมชาติ น้ำมันปาล์ม มันสำปะหลัง เป็นต้น สภาพดินฟ้าอากาศจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญหนึ่งที่ทำให้จีนต้องนำเข้าจากไทย ดังนั้น ‘จีน’ จึงถือเป็นแหล่งรองรับการขยายตัวด้านการส่งออกของสินค้าเกษตรไทยได้อย่างดี โดยเฉพาะผลไม้เมืองร้อน



แนวโน้มการนำเข้าผลไม้ไทยของจีนในปี 2565

เนื่องจากผู้บริโภคในตลาดจีนมีจำนวนมหาศาล มีความต้องการผลไม้ที่หลากหลายและชอบ รับประทานผลไม้เขตร้อน ประกอบกับรายได้ประชากรที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีกำลังซื้อสูงและชอบรับประทานผลไม้ไทยจึงคาดว่าปี 2565 จีนจะยังคงนำเข้าผลไม้จากไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ปริมาณการผลิตผลไม้ไทยที่คาดว่าจะสูงขึ้น 8% มาตรการควบคุมคุณภาพผลไม้และการสนับสนุนของรัฐบาลไทยที่เกี่ยวข้อง การจัดกิจกรรม ส่งเสริมผลไม้ไทยในเมืองต่างๆ ของจีน การนิยมบริโภคผลไม้นำเข้าของผู้บริโภคชาวจีนในเมืองใหญ่ และการ สร้างความสัมพันธ์คู่ค้าทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียน - จีนอย่างรอบด้าน จะผลักดันให้การนำเข้าผลไม้ไทยของจีนในภาพรวมขยายตัวสูงขึ้นกว่าเดิม

เมื่อพิจารณาตามประเภทผลไม้ คาดว่าจีนจะนำเข้าทุเรียนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทุเรียน ไทยมีรสชาติหวานและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้บริโภคชาวจีนชอบทุเรียนไทยเป็นทุนเดิมและมีผู้ที่ชอบทุเรียนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากมูลค่าการนำเข้าทุเรียนไทยของจีนที่สูงขึ้นและสูงเป็นอันดับหนึ่งมาเป็นเวลาหลายปี

สำหรับมะพร้าวตอนนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากร้านอาหารและร้านเครื่องดื่มในจีน ต้องการเนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าว เพื่อนำไปประกอบเป็นอาหารและเครื่องดื่มมากขึ้น นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังเป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติที่สามารถตอบโจทย์ผู้ที่รักษาสุขภาพได้เป็นอย่างดี จึงคาดว่า มะพร้าวไทยจะได้รับความนิยมจากตลาดจีนอย่างต่อเนื่อง

สำหรับส้มโอและชมพู่ก็อาจจะมีโอกาสเติบโต ในตลาดจีนเช่นกัน เนื่องจากส้มโอไทยมีคุณภาพสูง และชมพู่ก็เริ่มขยายตลาดในจีนมากขึ้น ทำให้ชาวจีนรู้จักชมพู่ไทยมากขึ้นกว่าเดิม แต่สำหรับลำไยปัจจุบันความต้องการในตลาดจีนมีไม่มากหากเทียบกับอดีต

เนื่องจากตลาดผลไม้จีนเป็นตลาดที่มีการเติบโตในทิศทางที่สดใสจึงทำให้มีการแข่งขันที่สูง ดังนั้นผู้ประกอบการและ SME ไทยจึงยังคงต้องศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของผู้บริโภคชาวจีนอย่าง ใกล้ชิด โดยเฉพาะพฤติกรรมของชาวจีนยุคใหม่ในปัจจุบันที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทำให้ความต้องการ ผลไม้จึงเน้นด้านคุณภาพและโภชนาการเป็นสำคัญ

นอกจากนี้ ยังพบว่าคนหนุ่มสาวชาวจีนยังนิยมผลไม้ที่มีสีสัน มีการบริโภคผลไม้ตามกระแสความนิยมในสังคม นิยมถ่ายรูปแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ มากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ผู้ประกอบการไทยต้องวางแผนกลยุทธ์ และกิจกรรมการตลาดที่เหมาะสม เพื่อสามารถกำหนดทิศทางในการพัฒนาผลไม้ไทยให้เข้าถึงตลาดผู้บริโภคชาวจีนแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงเท่านั้นยังต้องมีการประชาสัมพันธ์คุณสมบัติของผลไม้และคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมในจีนร่วมกับผู้มีชื่อเสียงในท้องถิ่น หรือผู้ที่มีชื่อเสียงของไทยที่เป็นที่รู้จักในจีน เพื่อให้การขยายตลาดส่งออกผลไม้ไทยในจีนทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคหลักได้อย่างแท้จริง 



ข้อควรใส่ใจ..สำหรับการส่งออกผลไม้ไทยไปจีน

1. ปัจจุบันธุรกิจผลไม้นำเข้าของจีนมีการแข่งขันกันในด้านคุณภาพสินค้า ผู้นำเข้าให้ความสำคัญ ในการหาแหล่งผลไม้ที่น่าเชื่อถือ (การตรวจสอบย้อนกลับ : Traceability) มีคุณภาพและมีความปลอดภัย ดังนั้น ผลไม้ไทยที่ส่งออกไปจีนหรือวางแผนจะส่งออกจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะรักษาคุณภาพสินค้าให้คงที่ควบคุมคุณภาพผลไม้ส่งออกอย่างสม่ำเสมอ ไม่เก็บผลไม้ก่อนเวลา จะช่วยให้ความนิยมผลไม้ไทยในตลาดจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2. เพื่อให้ผลไม้ที่ส่งออกไปจีนเข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด ควรมีการประชาสัมพันธ์สินค้าทั้งใน ช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ กระจายสินค้าในช่องทางต่างๆ ให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด นอกจากนี้ ควรออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าที่สวยงาม ทันสมัย พกพาง่าย สะดวกต่อการรับประทาน พร้อมกับรักษาความ สดของสินค้าให้มากที่สุด

3. ท่ามกลางสถานการณ์โควิด ภาครัฐจีนมีการตรวจเช็กสินค้านำเข้าอย่างเข้มงวด ผู้ประกอบการ ไทยควรให้ความสำคัญในเรื่องการปนเปื้อนเชื้อโควิด ตั้งแต่กระบวนการผลิตต้นน้ำจนการส่งออกผลไม้มาจีน เนื่องจากหากมีการตรวจพบการปนเปื้อนของโรค ไม่ว่าบนสินค้าหรือคอนเทนเนอร์ขนส่ง จะถูกระงับการส่งออกเป็นการชั่วคราว ระยะเวลาขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่ตรวจพบการปนเปื้อน


แหล่งอ้างอิง : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว, ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง, สมาคมการค้าและอุตสาหกรรมไทย-จีน
https://t.cj.sina.com.cn/articles/view/1245286342/4a398fc60270166k8?finpagefr=p_104_js 
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_25May2022.aspx 
https://www.bangkokbiznews.com/business/1017308 
https://thaibizchina.com/article/%e0%b9%82%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3/ 
http://news.foodmate.net/wap/index.php?itemid=620432&moduleid=21 
https://mbd.baidu.com/newspage/data/landingsuper?rs=645149190&ruk=dW7X7bkZoJva_-1SX7LEhg&isBdboxFrom=1&pageType=1&urlext=%7B%22cuid%22%3A%22_aSJ8YahHa__82aA0aHli_aZvu0lPHueluHfu_iBvullPvtY0uBHi_8r3O5LtSaKwttmA%22%7D&context=%7B%22nid%22%3A%22news_9346970904882557149%22%7D 
http://m.cnwest.com/ztlist/a/2022/01/26/20270069.html 
https://www.chyxx.com/industry/202201/992823.html

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6322 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2032 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5063 | 23/10/2022
ชี้ช่องส่องตลาด ‘ผลไม้ไทย’ ส่งออกจีนให้มากขึ้น สร้างรายได้เข้าประเทศสวนกระแสเศรษฐกิจถดถอย