กรณีศึกษา Circular Economy ใกล้ตัวกว่าที่คิด

SME in Focus
15/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3550 คน
กรณีศึกษา Circular Economy ใกล้ตัวกว่าที่คิด
banner

Circular Economy หรือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากเป็นแนวคิดใหม่นำของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดการสิ้นเปลืองของทรัพยากรธรรมชาติ และยังกลายเป็นโอกาสของธุรกิจที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความยั่งยืน โดยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการที่เกี่ยวข้องวัสดุใช้แล้ว ในการช่วยฟื้นฟูวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นำมาสู่การปราศจากของเสียและมลพิษ ตลอดทั้งกระบวนการของสินค้าและบริการ

ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลและนักสิ่งแวดล้อมจึงให้ความสำคัญกับ Circular Economy มากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากนโยบายและมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลและหน่วยงานเพื่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั่วโลกได้ออกมารณรงค์ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองและปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการใช้พลาสติก ซึ่งมีการผลิตมากว่า 300 ล้านตันต่อปี ครึ่งหนึ่งเป็นการใช้งานเพียงครั้งเดียวก็ทิ้งไป ดังนั้นเมื่อนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาก็สามารถแก้ปัญหาขยะล้นโลกได้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ปัจจุบันเศรษฐกิจหมุนเวียนกำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างได้ผล ด้วยแรงผลักของรัฐบาลในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่ผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการใช้กฎหมายบังคับการรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็คโทรนิกส์ ทำให้โลหะที่มีสูงถึง 98% ที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็คโทรนิกส์ได้รับการรีไซเคิล เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป หรืออียู มีการวางแผนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนมาตั้งแต่ปี 2015 และเพิ่งประกาศนโยบายเป็นรูปธรรมด้านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเฉพาะด้านพลาสติก รวมถึงเป้าหมายการมีบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ซ้ำได้หรือรีไซเคิลภายในปี 2030 สะท้อนให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสามารถสร้างองค์กรให้เติบโตมั่นคงยั่งยืนได้จริง

 

แบรนด์กีฬาดังโลกผู้นำผลิต “เสื้อ ร้องเท้า” รักษ์โลก

ไม่เพียงแต่บริษัทยักษ์ใหญ่ ภาคอุตสาหกรรม ต่างให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สามารถตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจในอนาคตข้างหน้า ด้วยการนำทรัพยากรกลับมาใช้ให้เป็นวัสดุใหม่ ซึ่งทรัพยากรก็เอามาจากตัวสินค้าที่ใช้แล้วนั่นเอง ดังนั้นเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงตั้งอยู่บนหลักการ 2 ข้อ ได้แก่ การรักษาและเพิ่มการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

ยกตัวอย่าง แบรนด์กีฬาดังระดับโลกที่มีส่วนร่วมกับแนวทางดำเนินธุรกิจดังกล่าว เช่น ไนกี้ (Nike) ที่นำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้กับขั้นตอนการผลิต โดยกำหนดให้ 71% ของเสื้อผ้าและรองเท้า ต้องทำมาจากวัสดุรีไซเคิล และเลือกวัตถุดิบคุณภาพสูงจากเศษวัสดุเหลือใช้ในโรงงาน เช่นเดียวกับแบรนด์ อาดิดาส (Adidas) ก็ได้ผลิตรองเท้ารุ่นพิเศษ ทำจากขยะและตาข่ายจับปลาในทะเล ส่วนแบรนด์ เอช แอนด์ เอ็ม (H&M) ผู้ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นระดับโลกได้ตั้งเป้าหมายให้ธุรกิจเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน 100% โดยนำเสื้อผ้าใช้แล้วกลับมาผลิตใหม่ เป็นต้น

ขณะที่ภาคธุรกิจไทยที่มีการตื่นตัวในเรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เด่นชัด คือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG ซึ่งก่อนหน้ามีโครงการต่างๆ มากมายที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่ล่าสุดทั้งสองบริษัทดังกล่าวต่างมุ่งเน้นในเรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบจริงจัง เพราะจากการศึกษาทั่วโลกเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนในโครงการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ จะต่อยอดทำอะไรได้อีกหรือไม่ รวมถึงการกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับกลุ่มบริษัทเป็นไปในทิศทางไหน เมื่อได้ศึกษาตกผลึกจึงเดินหน้ารุกระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างจริงจัง เพราะมองเห็นถึงอนาคตเติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับหัวใจหลักของการดำเนินระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนแบ่งวัสดุในระบบออกเป็น 2 แบบ คือ

1. กลุ่มวัสดุชีวภาพ (biological materials) หรือวัสดุที่มาจากสารธรรมชาติ และผ่านกระบวนการที่แทบไม่ปนเปื้อนสารเคมี ทำให้ย่อยสลายคืนสู่สิ่งแวดล้อมต่อไปได้

2. กลุ่มวัสดุทางเทคนิค (technical materials) ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่อาศัยเทคนิคต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนจากโลหะและพลาสติก ที่จะส่งผลเสียหากหลุดสู่ธรรมชาติ จึงต้องมีการออกแบบใหม่ให้หมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในระบบปิดโดยไม่ส่งของเสียออกนอกระบบการผลิต

 

เปลี่ยนบทบาทของ “‘ผู้บริโภค” ให้เป็น “ผู้ใช้”

แนวโน้มระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนกำลังเริ่มเปลี่ยนบทบาทของ  “ผู้บริโภค” ให้เป็น “ผู้ใช้” การส่งมอบคุณค่าระหว่างธุรกิจและลูกค้าจะเน้นไปที่การใช้ประโยชน์มากกว่า “การเป็นเจ้าของ” สิ่งที่จะกลายเป็นขยะในที่สุด โมเดลการทางธุรกิจอาจเปลี่ยนเป็นการเช่าระยะสั้น ระยะยาว หรือการแบ่งปัน (sharing)

ตัวอย่างเช่น ฟิลิปส์ เริ่มเปลี่ยนการขายหลอดไฟ ไปเป็นการให้บริการระบบแสงสว่างที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของหลอดไฟ แต่ยังได้คุณค่าเดิมคือแสงสว่าง ด้วยการเปลี่ยนจากการขายผลิตภัณฑ์ไปเป็นบริการ ฟิลิปส์ จึงควบคุมวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ได้ เมื่อหลอดไฟหมดอายุ บริษัทจะเก็บหลอดกลับมาแยกวัสดุออกจากกัน และนำไปผ่านกระบวนการเพื่อใช้ผลิตสินค้าต่อไป ผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ ก็เริ่มสร้างแรงจูงใจหรือข้อตกลงให้ลูกค้านำสินค้าที่ไม่ใช้แล้วกลับมาส่งคืน เพื่อที่บริษัทจะนำวัสดุเหล่านั้นเข้าระบบปิด หมุนเวียนไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม เช่น เสื้อผ้า อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น

ทุกวันนี้ประเทศไทยเริ่มมีการตื่นตัวในเริ่มมีการตื่นตัวในเรื่องของการจัดการขยะกันมากขึ้น แต่ในเรื่องของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับภาคธุรกิจนั้น ยังไม่เกิดขึ้นชัดเจนเท่าที่ควร เนื่องจากยังมีบริษัทจำนวนไม่มากนัก ที่เริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งที่รัฐบาลได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ด้านการสร้างการเติบโตด้วยคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน

ตัวอย่างดีๆ ก็มีในไทย ‘Zero Moment Refillery’

สำหรับตัวอย่างธุรกิจแนวรักษ์โลกและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าก็มีให้เห็นมากในไทยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นร้าน Zero Moment Refillery’ ร้านนี้ขายสินค้าอุปโภค-บริโภค แบบรีฟิลหรือแบบนำภาชนะมาเติมเอง โดยลูกค้าที่มาใช้บริการจะมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะบนโลก ร้านจำหน่ายสินค้าที่ช่วยลดการสร้างขยะจากบรรจุภัณฑ์และของเหลือใช้ โดยร้านตั้งอยู่ที่ตึก home residence พระรามเก้าซอย 41

ภายในร้านมีสินค้าใช้ของกินของใช้ประจำวันให้เลือกซื้อกว่า 200 รายการ โดยขั้นตอนการซื้อสินค้าก็ไม่ยาก โดยทางร้านจะคิดตามน้ำหนักของสินค้า หน่วยเป็นบาทต่อกรัม เพียงแค่ลูกค้าเตรียมภาชนะมาจากบ้าน หรือจะมาซื้อที่ร้านก็มีบริการแล้วครั้งถัดไปก็นำมารีฟิล พอมาถึงร้านก็นำภาชนะมาชั่งน้ำหนัก แล้วก็ไปเติม ตัก ตวง หยิบสินค้าที่ต้องการจะซื้อได้เต็มที่ หลังจากนั้นก็เขียนรหัสสินค้าไว้ข้างภาชนะ ซึ่งนอกจากรหัสสินค้า ก็จะมีรายละเอียดสินค้า ราคาติดแจ้งไว้ชัดเจน และขั้นตอนสุดท้ายคือนำมาชำระเงิน

ส่วนราคาก็ไม่ต่างจากซุปเปอร์มาร์เกตทั่วๆ ไป หลายอย่างราคาถูกกว่าด้วยซ้ำ เนื่องจากทางร้านจะสั่งซื้อจำนวนมากๆ จึงได้ราคาขายส่ง และไม่มีต้นทุนเรื่องแพ็กเกจจิ้ง อีกทั้งยังเป็นการติดต่อซื้อกับผู้ผลิตโดยตรง อาทิ กลุ่มสินค้าเกษตร ก็จะติดต่อไปที่สวนของเกษตรกรโดยตรง                          

อย่างไรก็ตาม การที่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้อย่างจริงจังนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐในการสนับสนุนเชิงนโยบาย และภาคเอกชน รวมถึงผู้บริโภคที่จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงเข้าใจประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจให้ก้าวสู่ความยั่งยืนในอนาคต

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : https://www.allaroundplastics.com   



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<< 


อียูเร่ง scale-up ภาคผลิตด้วยการส่งเสริม Circular Economy 

วงการพลาสติกเจอทางแยก ชีวภาพ- รีไซเคิล แบบไหนคือยั่งยืน?


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากการรุกคืบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ และส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นำมาสู่การพัฒนา…
pin
128 | 30/04/2024
Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

ภาพรวมตลาดสินค้า อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและโซล่าร์เซลล์มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จากปี 2566…
pin
247 | 29/04/2024
กรณีศึกษา Circular Economy ใกล้ตัวกว่าที่คิด