ปัญญาประดิษฐ์ หรือ
AI
(Artificial Intelligence) เทคโนโลยีที่อยู่ในกระแสความตื่นตัวและความสนใจของสังคมไทยและสังคมโลกในช่วงไม่กี่ที่ผ่านมา
และคาดว่าจะมีกระแสแรงขึ้นไปอีกในอนาคต
จนถึงขั้นที่ปัญญาประดิษฐ์มีความสามารถใกล้เคียงหรือเหนือมนุษย์
AI ยังมาพร้อมกับโอกาสและความเสี่ยงรูปแบบใหม่
ที่สามารถช่วยจัดการข้อมูลธุรกิจและหาอินไซด์ด้วยการคาดการณ์พฤติกรรมของลูกค้า
ขณะเดียวกัน AI อาจเข้ามาแทนที่บางอาชีพหรือทำหน้าที่บางอย่าง
เช่น พนักงานต้อนรับ หรือแม้แต่เป็นที่ปรึกษาให้ทนายความและแพทย์
ไม่เพียงเท่านี้ ด้านมืดของเทคโนโลยี AI อาจเกิดขึ้นโดยฝีมือของมนุษย์ เช่น ผู้ก่อการร้าย และการวิวัฒนาการของ AI ที่ยากเกินจะควบคุม การเสนอร่างกฎหมายจริยธรรมเพื่อควบคุมและป้องกันผลกระทบจากหุ่นยนต์และ AI จึงสำคัญยิ่ง
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
จริยธรรมสำคัญ
(ไม่น้อย) กว่าความสามารถ
ความรับผิดชอบในการกระทำที่เกิดจาก
AI จะกลายเป็นประเด็นทางจริยธรรม เช่น ถ้าหากระบบที่ทำงานและตัดสินใจด้วยตัวเองเกิดความผิดพลาด
ทำให้รถไร้คนขับชนคนบนถนน ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ จริยธรรมประดิษฐ์ (Artificial
Ethics) คือสิ่งที่จะเข้ามาช่วยให้ AI ใช้ความเป็นเหตุเป็นผลในการตัดสินใจ
โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางจริยธรรม
ในโลกปัจจุบันที่เราเริ่มมีรถที่ไร้คนขับมาวิ่งบนถนน
มีโรงพยาบาลที่เริ่มใช้ AI
มาช่วยวินิจฉัยโรค มี AI ที่เป็นคนตัดสินใจว่าเราจะได้เงินกู้หรือไม่
จึงกลายเป็นคำถามที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด
สมมติว่านั่งอยู่ในรถที่ขับด้วย AI แล้วเกิดเครื่องยนต์ขัดข้องทำให้ AI ไม่สามารถหยุดรถได้ ถ้าหากไม่ทำอะไรเลยรถก็จะพุ่งเข้าชนฆ่าคน 5 คนที่กำลังข้ามถนนตรงทางม้าลายอยู่ แต่ถ้าหากหักหลบก็จะไปชนสตรีมีครรภ์ที่อยู่บนทางเท้า แล้ว AI ควรจะตัดสินใจอย่างไร แล้วถ้ากลุ่มคนที่กำลังข้ามถนนอยู่เป็นสตรีมีครรภ์และคนที่ยืนอยู่บนทางเท้าเป็นผู้สูงอายุ หรือว่าถ้าคนที่ข้ามถนนนั้นกำลังข้ามถนนแบบผิดกฎหมาย สิ่งที่เราคิดว่า AI ควรทำนั้นจะเปลี่ยนไปหรือไม่ หรือถ้าเกิดคนที่ข้ามถนนเป็นเด็กนักเรียน 20 คน AI ควรจะหักรถเข้าชนเสาไฟฟ้าฆ่าแค่เราซึ่งเป็นผู้โดยสารคนเดียวไหม นี่จึงเป็นคำถามสำคัญ
งานวิจัยของ
Edmond
et. Al
ตีพิมพ์บนวารสาร Nature ได้จำลองสถานการณ์เหล่านี้บน
Web Platform ชื่อ Moral Machine และได้ทำการเก็บข้อมูลการตัดสินใจของคนเกือบ
40 ล้านคนจาก 233 ประเทศทั่วโลก
พบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วคนต้องการให้ AI เลือกรักษาชีวิตจำนวนมากกว่าไว้
จริยธรรมของ
AI
สำคัญไม่น้อยกว่าความสามารถ ในฐานะผู้พัฒนาต้องเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว
เช่นเดียวกับการมุ่งพัฒนาศักยภาพของ AI ให้เข้าใกล้ความเป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น
ขณะที่บริษัท DeepMind ของ Google เริ่มให้ความสนใจกับประเด็นนี้อย่างจริงจัง
โดยจัดตั้งหน่วยวิจัยจริยธรรม AI เพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยตระหนักถึงจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้มากขึ้น
และช่วยชี้แนะทิศทางในการใช้งาน AI ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม
จึงถึงเวลาที่ต้องหันมาสนใจอย่างจริงจังกับการกำกับดูแลให้ AI ทำงานภายใต้คุณค่าที่สังคมยอมรับ
อ้างอิง :
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม,
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
https://www.thebangkokinsight.com/