‘อัมสเตอร์ดัม’ กำลังเปลี่ยนผ่านสู่เมืองหลวงแห่งยีนส์ (รักษ์โลก)

SME Go Inter
22/11/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2347 คน
‘อัมสเตอร์ดัม’ กำลังเปลี่ยนผ่านสู่เมืองหลวงแห่งยีนส์ (รักษ์โลก)
banner

อุตสาหกรรมสิ่งทอมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้เทรนด์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วงการสิ่งทอจึงมีการเดินหน้ากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญยังสามารถยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันที่ชูจุดเด่นในด้านนวัตกรรมรักษ์โลกอีกด้วย

กรณีน่าศึกษาล่าสุดที่ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้รับการขนานนามให้เป็นเมืองหลวงแห่งยีนส์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมกางเกงยีนส์ขายาว อีกทั้งยังมีสำนักงานใหญ่ของบริษัทยีนส์ชื่อดังตั้งอยู่ อาทิ G Star Raw, Kings of Indigo, Kuyichi, Denham, Mud Jeans และ Amsterdenim ไปจนถึงการรวมตัวของแฟชั่นเฮาส์ขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง เช่น Scotch & Soda กับผู้เล่นใหม่ที่มีโปรไฟล์ด้านความยั่งยืนที่แข็งแกร่ง เช่น Mud Jeans ซึ่งจากไลฟ์สไตล์และความชื่นชอบเสื้อผ้าลำลองของชาวดัตช์ และการใช้งานได้จริงของกางเกงยีนส์ ส่งผลให้ยอดขายกางเกงยีนส์ในเนเธอร์แลนด์สูงกว่า 20 ล้านคู่ในแต่ละปี

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

อย่างไรก็ตาม กางเกงยีนส์ที่ไม่ได้ใช้แล้วส่วนใหญ่จะถูกเผาหรือส่งไปฝังกลบ ทำให้ผู้ผลิตกางเกงยีนส์ชั้นนำและผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก ได้มีการประชุมเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเพื่อลงนามในข้อตกลงฉบับใหม่ โดยในสัญญาระบุว่าจะทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงความยั่งยืนในอุตสาหกรรมกางเกงยีนส์ เพื่อปิดวงจรการผลิตและสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการรีไซเคิล โดยมีความมุ่งมั่นที่จะใช้เนื้อหารีไซเคิลขั้นต่ำ 5% ในกางเกงยีนส์ทุกคู่ และสร้างกางเกงยีนส์อย่างน้อย 1 ล้านตัว ให้เป็น (PCR) รีไซเคิลได้ 20%

อย่างไรก็ตาม แม้ผ้ายีนส์จะมีความทนทาน แต่ผ้ายีนส์ก็มีด้านมืดมากมาย เนื่องจากกระบวนการผลิตที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม การเพาะปลูกฝ้ายที่ต้องใช้ปริมาณน้ำค่อนข้างมาก เทคนิคการย้อมสีและการตกแต่ง โดยรวมต้องใช้น้ำประมาณ 7,500 ลิตร เพื่อสร้างกางเกงยีนส์หนึ่งคู่

ในขณะที่มลพิษที่เกิดจากสีย้อมครามของเดนิม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับสารคดี The River Blue ที่ได้รับรางวัลในปี 2016 เผยถึงการคุกคามชุมชนในประเทศกำลังพัฒนาที่ขาดแคลนน้ำสะอาดอยู่แล้ว ต้องแบ่งสัดส่วนน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต

นาง Marieke van Doorninck หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ หมุนเวียนของอัมสเตอร์ดัมกล่าวว่า “เนื่องจากเมืองอัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองแห่งยีนส์และเป็นเมืองแฟชั่นที่รักผ้ายีนส์ เราจึงตระหนักดีว่าแฟชั่นอาจสร้างมลพิษและสร้างความไม่ยุติธรรมต่อคนงาน เราจึงรู้สึกมีความรับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องช่วยกันตรวจสอบให้แน่ใจว่า “ผ้ายีนส์หมุนเวียน” จะไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เฉพาะกลุ่ม แต่ส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง ตามข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศของกรุงปารีส เศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์จะต้องเป็นระบบหมุนเวียนอย่าง สมบูรณ์ภายในปี 2050 และบรรลุผลให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2030

นางสาว Stientje van Veldhoven รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม เคยกล่าวไว้ในอดีตว่าผู้ผลิตเสื้อผ้าต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อขยะที่พวกเขาสร้างขึ้น โดยในวันประชุมดังกล่าวเธอเน้นย้ำถึงความสำคัญของการกำหนดมาตรฐานเหล่านี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนให้ไปไกลกว่าเนเธอร์แลนด์ โดยกล่าวว่า

“นี่ไม่ได้เป็นเพียงดีล Amsterdam Denim แต่เราอยู่ร่วมกันและต้องการพันธมิตรจากทั่วโลก ข้อตกลงนี้จึงเป็นข้อตกลงของเดนิมทั่วโลก” โดยการประชุมสุดยอด Deal Denim ครั้งแรกจะจัดขึ้นที่อัมสเตอร์ดัม ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564

เห็นได้ชัดว่า แนวโน้มของอุตสาหกรรมต่างๆ ในยุโรป มีความมุ่งมั่นอย่างจริงจังที่จะเป็นอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน เนเธอร์แลนด์เองได้มีการดำเนินการอย่างจริงจังในการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นจริง โดยอุตสาหกรรมเดนิม ผ้ายีนส์ และแฟชั่น ถือเป็นหนึ่งในผู้รับผิดชอบหลัก ในการสร้างมลพิษและผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม จึงต้องทำการปรับปรุงอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมแฟชั่น ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นนี้ เพื่อสอดรับกับข้อตกลงสากล โดยร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเสื้อผ้าให้อยู่ในระบบหมุนเวียนและยั่งยืนได้ในอนาคต

 

แหล่งอ้างอิง : Dutchnews

                      สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<< 


การออกแบบ Packaging ยุคใหม่ สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ส่องรายงาน World Bank Outlook 2050


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6456 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2083 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5143 | 23/10/2022
‘อัมสเตอร์ดัม’ กำลังเปลี่ยนผ่านสู่เมืองหลวงแห่งยีนส์ (รักษ์โลก)