FinTech อาเซียนโต โอกาสแรงงานไทยเพิ่มสกิลคว้าใจบริษัทต่างแดน

SME Go Inter
10/01/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 2075 คน
FinTech อาเซียนโต โอกาสแรงงานไทยเพิ่มสกิลคว้าใจบริษัทต่างแดน
banner

FinTech หรือ Financial Technology ปัจจุบันมีธุรกิจเกี่ยวข้องมากมาย ไม่เพียงแต่ธุรกิจธนาคารเท่านั้น แต่รวมไปถึงธุรกิจการเงินอื่นๆ เนื่องจาก FinTech มาช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินแบบเดิมสะดวกสบายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ขณะที่ธุรกิจมีต้นทุนที่ลดลงจากการใช้พนักงานน้องลง เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยมาทำหน้าที่แทน

การแพร่ระบาดของโควิด 19 ยิ่งเป็นตัวเร่งให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเงิน (FinTech) ทั่วโลกเติบโตขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้สิงคโปร์และหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนบริษัทสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นเพิ่มขึ้นเกือบ 10 ราย ต่างมีความต้องการจ้างงานด้าน FinTech เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น กระแสการแข่งขันเพื่อดึงดูดบุคลากรในด้านนี้จึงรุนแรงขึ้นในภูมิภาคอาเซียนทำให้ภาคธุรกิจต้องดำเนินกลยุทธ์การปรับตัวในเพื่อรับมือกับความท้าทายนี้




แนวโน้มตลาดงานธุรกิจ Fintech เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยธุรกิจ Fintech ได้ถือกำเนิดขึ้นใหม่และเติบโตขึ้นอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เช่นเดียวกับการขยายตัวของอุปสงค์สำหรับตำแหน่งงานของอุตสาหกรรมนี้รวมถึงในอาเซียน โดยสิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลาง Fintech รายงานอัตราการว่างงานของภาคบริการทางการเงินและเทคโนโลยี สูงถึงร้อยละ 7.7 โดยอุปสงค์แรงงานด้าน Fintech เพิ่มขึ้นหลังจากที่มีการระดมทุน 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในภาคธุรกิจ FinTech ปี 2564

จากผลสำรวจของสมาคม Singapore Fintech Association (SFA) พบว่าบริษัทที่ร่วมตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 73 วางแผนจะจ้างพนังงานด้าน Fintech เพิ่มขึ้น ทำให้แต่ละบริษัทมีพนักงานในด้านนี้อย่างน้อย 10 คนขึ้นไป ตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดคือ Tech Wizards (พ่อมดด้านเทคโนโลยี) ซึ่งมีหน้าที่พัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน และ Commercial Evangelists (ผู้เผยแพร่นวัตกรรมองค์กรเชิงพาณิชย์) มีหน้าที่ด้านการพัฒนาธุรกิจและการตลาดของผลิตภัณฑ์ Fintech         

ข้อมูลจากบริษัทจัดหางาน Michael Page ระบุว่าการที่บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก สตาร์ทอัพ และยูนิคอร์นต่างแข่งขันกันเพื่อดึงตัวบุคลากรด้าน FinTech มาร่วมงาน ซึ่งบุคลากรในสายงานนี้ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม มีความได้เปรียบในการต่อรองกับนายจ้าง สามารถขอขึ้นเงินเดือนร้อยละ 15 - 20

ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยบุคลากรในสายงานนี้จะทำงานในแต่ละองค์กรประมาณ 5 ปี อย่างไรก็ตามผลสำรวจในปัจจุบันพบว่า บุคลากร FinTech ย้ายไปทำงานกับบริษัทใหม่เพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่จะลาออกจากที่เดิมภายใน 1 - 2 ปี ในขณะที่ 1 ใน 3 จะย้ายไปบริษัทใหม่หลังจากทำงานได้ 3 - 5 ปี

 


 

โควิด 19 ส่งผลต่อการจ้างงานและบุคลากรในอุตสาหกรรม Fintech เอเชียตะวันออกเฉียงใต้       

การทำงานผ่านระบบทางไกลกลายเป็นวิถีใหม่ของการทำงานในช่วงหลังโควิด 19 และทำให้การทำงานแบบข้ามพรมแดนเป็นที่แพร่หลายอย่างยิ่งในภาคธุรกิจ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อกลยุทธ์การจ้างงาน และสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัล และ FinTech ก็อาจก่อให้เกิดภาวะสมองไหลได้ เช่น มาเลเซียประสบปัญหาที่แรงงานฝีมือเดินทางไปทำงานในสิงคโปร์มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากอัตราเงินเดือนในสิงคโปร์มากกว่ามาเลเซียถึง 3 เท่า

กรณีที่เห็นได้ชัด คือ บริษัท Grab ที่ก่อตั้งในมาเลเซีย แต่ไปตั้งสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ โดยมีพนักงาน 3,000 คน แม้จะยังคงรักษาการจ้างพนักงานในมาเลเซีย มากกว่า 1,000 คน แต่อัตราเงินเดือนของสำนักงานใหญ่ของ Grab ที่สิงคโปร์สูงกว่าสำนักงานในมาเลเซียมาก

การขยายตัวของการจ้างงานในบริษัท FinTech ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงานในภูมิภาคโดยรวม โดยมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งในแง่วิธีการทำงานคือ การทำงานผ่านระบบทางไกล โดยเฉพาะตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็นต้องพบปะแบบตัวต่อตัว และในด้านสถานที่คือ ไม่จำเป็นต้องทำงานในสำนักงาน หรือในประเทศใดประเทศหนึ่ง

 



ดังนั้นจากผลสำรวจโดยสมาคม SFA และบริษัท Accenture ของสิงคโปร์พบว่าภาคเอกชนในสิงคโปร์มากกว่าครึ่งหนึ่ง อนุญาตให้พนักงานส่วนใหญ่ทำงานจากนอกประเทศ โดยมีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งเปรียบเสมือนหอควบคุมและดูแลพนักงานที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาค โดยต่อตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็นต้องติดต่อลูกค้าโดยตรง เช่น นักเขียนโปรแกรมและฝ่ายธุรกรรมข้อมูล ในหลายกรณีสามารถจ้างงานแบบ Outsource ได้ ส่วนตำแหน่งงานที่มีชั้นความลับหรือมีความจำเป็นต้องพบปะผู้บริหารหรือลูกค้าแบบ Onsite เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์และผู้จัดการธุรกิจ จะยังคงขอให้ทำงานในสิงคโปร์เป็นหลัก

จากรายงานของสมาคม SFA และบริษัท Accenture พบว่าภาคเอกชนในสิงคโปร์ลงทุนในการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานน้อยเกินไป โดยร้อยละ 69 ลงทุนในด้านนี้น้อยกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี/คน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยจูงใจให้บุคลากรจะยังทำงานต่อหรือลาออกจากบริษัท ได้แก่

1. โอกาสในการเติบโต

2. โอกาสในการพัฒนาทักษะ

3. ความยืดหยุ่น เช่น การอนุญาตให้ทำงานผ่านระบบทางไกล

สำหรับอุตสาหกรรมสตาร์ทอัพด้าน Fintech ในประเทศไทย ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรในหลายตำแหน่ง เช่น วิศวกรซอฟต์แวร์ นักวิเคราะห์ธุรกิจและการลงทุน และผู้มีทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ บัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 50,000 - 60,000 บาทต่อเดือน คิดเป็น 2 เท่าของค่าจ้างเฉลี่ยในประเทศ ในปี 2564 ที่ประมาณ 27,800 บาท อีกทั้งการที่ธนาคารแบบดั้งเดิมก้าวสู่การเป็นดิจิทัลและบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีระดับภูมิภาคเข้าสู่ตลาดไทย ซึ่งอาจส่งผลให้ฐานเงินเดือนของบุคลากรด้านนี้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในอนาคต

 


 

5 คุณสมบัติพื้นฐานอาชีพเกี่ยวกับ FinTech


1. มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนหรือออกแบบโปรแกรม

2. มีทักษะในการวิเคราะห์ คาดการณ์ปัญหาหรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจในอนาคต

3. มีสติ สามารถควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

4. รู้จักการจัดการอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอนเพื่อลดความเสี่ยงของเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

5. มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดและสร้างสรรค์สินค้าหรือบริการรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้เสมอ

 

แหล่งอ้างอิง : สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์, jobsdb

 https://asia.nikkei.com/Business/Business-trends/Fintech-boom-leads-to-talent-war-in-Southeast-Asia

https://www.businesstimes.com.sg/government-economy/tech-talent-most-in-demand-as-hiring-activity-picks-up-in-2022-recruitment-firm?resendMail=true

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6276 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5039 | 23/10/2022
FinTech อาเซียนโต โอกาสแรงงานไทยเพิ่มสกิลคว้าใจบริษัทต่างแดน