อาเซียนกำลังขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล

SME in Focus
22/11/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4980 คน
อาเซียนกำลังขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล
banner

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันมากเพียงใด ไม่เพียงเท่านั้นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนี้ยังส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการค้า การบริการ การบริโภค และการผลิต ก่อให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ ดังนั้นหากไม่มีการตั้งรับก็อาจทำให้ธุรกิจแบบดั้งเดิมปรับตัวไม่ทันได้เช่นเดียวกัน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ในเวทีการประชุม “ASEAN Businesses and Investment Summit 2019” ซึ่งจัดโดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 35 ที่ผ่านมา ได้หยิบยกประเด็นการพัฒนาประชาคมอาเซียนสู่ยุค 4.0 หรือยุคดิจิทัลขึ้นมาหารือกันอย่างจริงจัง

เศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนถือเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2018 มีมูลค่าสูงถึง 72,000 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่มีมูลค่าราว 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวของชนชั้นกลาง การเพิ่มขึ้นของประชากรที่ใช้อินเตอร์เน็ต รวมทั้งการปรับตัวของ SMEs ในภูมิภาคที่หันมาใช้ดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น  

อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับประเทศอื่นๆเช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีน มีสัดส่วนถึงร้อยละ 35 27 และ 16 ของ GDP  สะท้อนว่าเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก

ผลการศึกษาจาก Google , Temasek Holding และ Ben & Co  ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของโลก พบว่าอีก 6 ปีข้างหน้า หรือในปี 2025 เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนจะเติบโตขึ้นอีก 3 เท่าตัว  มีมูลค่า 2.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 1 ในภูมิภาคที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก เนื่องจากประชากรวัยหนุ่มสาวนิยมใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนมากขึ้น


ทั้งนี้อาเซียนตระหนักถึงการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากเทคโนโลยีดิจิทัลต่อประเทศสมาชิก จึงมุ่งไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน โดยร่วมมือกันจัดทำข้อตกลงด้าน E-Commerce  อำนวยความสะดวกการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน การจัดทำกรอบบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน  อำนวยความสะดวกทางการค้า การคุ้มครองข้อมูล การพัฒนาระบบชำระเงิน การพัฒนาทักษะของบุคลากรและการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาธุรกิจ และการจัดทำแนวทางพัฒนาแรงงานมีทักษะและผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อการรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR)  

รัฐบาลแทบทุกประเทศในอาเซียนต่างก็มีนโยบายมุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาสู่เศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต  ไม่เว้นแม้แต่ในกลุ่ม CLMV อาทิ “เมียนมา” ได้กำหนดแผน Myanmar Digital Economy Roadmap ซึ่งให้ความสาคัญใน 9 สาขา ได้แก่

1. การศึกษา

2. สาธารณสุข

3. การเกษตร

4. ประมงและปศุสัตว์

5. การท่องเที่ยวอุตสาหกรรมการผลิตและ SMEs

6. บริการทางการเงิน

7. เทคโนโลยีและการส่งเสริมสตาร์ทอัพ

8. การค้าออนไลน์ และ

9. ขนส่งและโลจิสติกส์

ทั้งยังมีการออกกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุน อาทิ การสร้างสมดุลทางด้านกฎหมาย การคุ้มครองผู้บริโภค และการรักษาความปลอดภัยบนระบบไซเบอร์(Cyber Security)  การพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล  และมีการจัดตั้งคณะกรรมการ Digital Economy Development Committee (DEDC) เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มรูปแบบ นำระบบดิจิตอลมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ (Digital government) ภาคธุรกิจการค้า (Digital trade and innovation) เพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างครอบคลุมทั่วถึงทุกสาขา  

ขณะที่เวียดนามก็เช่นเดียวกัน เศรษฐกิจดิจิทัลกำลังเฟื่องฟู และเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดเป็นอันดับสองในอาเซียน รองจากอินโดนีเซียมีมูลค่าถึง 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราเติบโต ร้อยละ 38 นับตั้งแต่ปี 2558 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2568 มูลค่าการซื้อขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตในเวียดนามคิดเป็นร้อยละ 5 ของ GDP และมีเป้าหมายผลักดันให้มีสัดส่วนร้อยละ 20 ของ GDP ในประเทศ ภายในปี 2568 โดยมีธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ของตลาดในประเทศ ได้แก่ Sendo และ Tiki ซึ่งกำลังแข่งขันกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซระดับภูมิภาคอย่าง Lazada และ Shopee  

ขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศอันดับ 1 ในการส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์จนสามารถสร้างการเติบโตได้เกือบร้อยละ 90 เป็นผลมาจากการทำธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีมูลค่าการทำธุรกรรมมากถึง  8 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในจำนวนนี้ 5 ล้านเหรียญสหรัฐมาจากร้านค้าออนไลน์  เนื่องจากรัฐบาลส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจภายในประเทศและตลาดในประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น 


อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยก็ไม่ต่างไปจากประเทศอื่นในอาเซียนที่ให้ความสำคัญกับการวางนโยบาย “เศรษฐกิจดิจิทัล” โดยดำเนินมาตรการหลายด้านผ่านกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) และยังมีมาตรการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผ่าน “บริการรัฐบาลดิจิทัล”  ตลอดจนมุ่งผลักดัน พ.ร.บ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 จนสำเร็จถือเป็นก้าวสำคัญในการบูรณาการข้อมูลระหว่างกัน เป็นจุดเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต

ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเตรียมพร้อม วางแผนการดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้ประโยชน์จากตลาดดิจิทัลอาเซียนที่กำลังเติบโตให้ได้มากที่สุด 

 

ส่องแนวโน้มการลงทุนประเทศ CLMV

ใครเป็นใคร ใครแข็งแกร่งในอาเซียน


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
146 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
734 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
549 | 10/04/2024
อาเซียนกำลังขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล