ส่งออกต้องจับตา! CBAM มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามแดนของอียู

SME Go Inter
27/09/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 2393 คน
ส่งออกต้องจับตา! CBAM มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามแดนของอียู
banner

ร่างกฎหมายว่าด้วยมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon border Adjustment Mechanism-CBAM) ที่คาดว่าจะออกมากำกับดูแลและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องการแข่งขันทางการค้า และเชื่อมโยงกับการย้ายฐานการผลิตสินค้าจากประเทศพัฒนาแล้ว ไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเข้มงวดน้อยในเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมาธิการด้านสิ่งแวดล้อมของสภายุโรป (ENVI) ได้มีการจัดประชุมนัดแรก เพื่อหารือร่วมกันในเบื้องต้นเกี่ยวกับ ก่อนรับหลักการ โดยส่วนใหญ่เห็นความจำเป็นในการตรากฎหมาย CBAM หนุนการรักษาศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจยุโรปและการจ้างงานในภูมิภาค แต่ยังมีรายละเอียดที่ต้องหารือ โดยมีหัวข้อที่ผู้ผลิต และผู้ส่งออกไทยควรพิจารณาดังนี้   

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ประเภทอุตสาหกรรมที่จะถูกใช้มาตรการ CBAM

สภายุโรปมองว่าแม้มาตรการ CBAM จะช่วยให้อียูเร่งจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย และส่งเสริมบทบาทของอียูในฐานะผู้นำในเวทีสิ่งแวดล้อมโลก แต่ก็อาจส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมภายในกับต่างประเทศ และระดับการจ้างงานในภูมิภาค รวมทั้งยังอาจทำลายบรรยากาศการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ได้

ดังนั้น อียูจึงควรเริ่มใช้มาตรการนี้กับสินค้านำเข้าบางประเภทก่อน เช่น ไฟฟ้า และซีเมนต์ เพื่อลดแรงต้านจากประเทศที่จะถูกกระทบโดยตรง และจำกัดผลกระทบด้านภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการภายในที่อาจเกิดขึ้น ภายหลังจากอียูทำการ phase-out ใบอนุญาตแบบให้เปล่า แก่อุตสาหกรรมสาขาที่อ่อนไหวภายใต้ระบบ EU ETS ตลอดจนยกเลิกการคืนภาษีสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อให้เป็นไปตามกติกาของ WTO

อย่างไรก็ตามในที่ประชุมมีโต้แย้งว่า การบังคับใช้มาตรการดังกล่าวไม่ควรจำกัดอยู่ในวงแคบ และน่าจะครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเกิดการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการผลิตด้วย เพื่อช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเนื่องจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันและถ่านหิน

รวมทั้งการผลิตสินค้าที่มีความซับซ้อน ซึ่งปัจจุบันยังไม่อยู่ในขอบข่ายของร่างมาตรการ CBAM อย่างเช่น รถยนต์ (ที่มีการใช้เหล็กในการผลิต) อาจทำให้ผู้ประกอบการอียูต้องเผชิญปัญหาจากคู่แข่งต่างชาติ ที่สามารถผลิตรถยนต์ในราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าแล้วส่งกลับเข้ามาขายในตลาดอียู เนื่องจากประเทศเหล่านั้นไม่มีมาตรการ CBAM ในทํานองเดียวกันกับของอียูที่ใช้บังคับกับเหล็ก จึงอยากให้ภาครัฐหามาตรการอุดช่องโหว่การหลบเลี่ยงมาตรการ CBAM ของอียูด้วย

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรป (DG Taxud) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกฎหมาย CBAM ชี้แจงว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป อียูจะเริ่มบังคับใช้มาตรการ CBAM อย่างเต็มรูปแบบกับสินค้า 5 ประเภทก่อน ได้แก่ ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และอาจขยายมาตรการให้ครอบคลุมสินค้าประเภทอื่นด้วยในอนาคต โดยหลังจากปี 2573

การลดหย่อนภาษีอากรแก่ผู้ส่งออกกับหลักเกณฑ์ของ WTO

มีการหารือถึงกฎหมาย CBAM ที่อาจทำให้การส่งออกของอียูเสียเปรียบคู่แข่ง เนื่องจากเป็นการเพิ่มภาระภาษีแก่ผู้ประกอบการที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นมาจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะหากมีการออกนโยบายยกเลิกการคืนภาษีสินค้าส่งออกในอนาคต เพื่อให้เป็นไปตามกติกาของ WTO

โดยมาตรการ CBAM เป็นมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่มีนัยยะด้านความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ WTO แต่อย่างไรก็ดี เพื่อลดข้อกังขาว่ามาตรการดังกล่าวนั้น เป็นการสร้างแต้มต่อให้กับภาคอุตสาหกรรมอียู อียูอาจจำเป็นต้องยุติการให้ส่วนลดทางภาษีที่เรียกเก็บจากการส่งออก

โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่อยู่ภายใต้ระบบ EU ETS เพราะอาจถูกมองว่าเป็นการอุดหนุนการส่งออกที่ก่อให้เกิดการบิดเบือนการค้าระหว่างประเทศได้ ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปจะหารือกับอุตสาหกรรมภายในเกี่ยวกับประเด็นนี้อีกครั้ง เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป

จากนี้ต่อไป คณะกรรมาธิการ ENVI จะจัดทำความเห็นเพื่อเสนอให้ที่ประชุมใหญ่สภายุโรปพิจารณา โดยเมื่อสภายุโรปมีท่าทีแล้วก็จะนำไปหารือกับคณะมนตรียุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อหาข้อสรุปของร่างกฎหมาย CBAM ต่อไป ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างไรเราจะนำข้อมูลมานำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบอีกครั้ง

 

แหล่งอ้างอิง:

https://www.theparliamentmagazine.eu/

https://thaieurope.net/


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6507 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2100 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5166 | 23/10/2022
ส่งออกต้องจับตา! CBAM มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามแดนของอียู