ผุด 29 ท่าเรือตามแผนพัฒนาริมเจ้าพระยา

SME Update
04/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3020 คน
ผุด 29 ท่าเรือตามแผนพัฒนาริมเจ้าพระยา
banner

ระบบขนส่งมวลชนมีความสำคัญและกลายเป็นสิ่งจำเป็นในวิถีชีวิตคนเมืองยุคใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเมืองศูนย์กลางทางธุรกิจ การศึกษา การท่องเที่ยว ฯลฯ อย่างกรุงเทพมหานคร นอกจากรถประจำทาง รถตู้ รวมทั้งโครงข่ายรถไฟฟ้าซึ่งในอนาคตจะครอบคลุมทั้ง 4 มุมเมือง เชื่อมโยงพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ทำให้คนอยู่อาศัยคนทำงานและกรุงเทพฯ และพื้นที่รอบนอกสะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้นแล้ว การเดินทางและการขนส่งทางน้ำจะถูกนำมาใช้เป็นระบบเสริมรองรับการเดินทางสัญจรไปมาในแต่ละวัน ช่วยแก้ปัญหาการจราจรในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ติดขัดวิกฤตรุนแรงขึ้นทุกวัน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ในการนี้กระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบการขนส่งทางน้ำ เชื่อมกับการขนส่งทางถนนและระบบราง แนวทางดำเนินการจะมีการพัฒนาท่าเรือหลักๆ เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะเดียวกันก็มีแผนพัฒนาเส้นทางขนส่งและการคมนาคมทางเรือในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยจะเชื่อมโยงการขนส่งทางน้ำระหว่างพื้นที่ทางฝั่งอ่าวไทย กับฝั่งอันดามัน

เป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการคมนาคมขนส่งทางน้ำเพื่อแก้ปัญหาการจราจร และลดต้นทุนการขนส่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แผนการพัฒนาและส่งเสริมการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำ เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางทางบกกับแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือ 29 ท่า ดังนี้


ระยะที่ 1 การพัฒนาท่าเรือริมเจ้าพระยารวม 5 ท่า ได้แก่ ท่าเรือสาทร ท่าเรือท่าช้าง ท่าเรือท่าเตียน ท่าเรือกรมเจ้าท่า และท่าเรือราชินี ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2562-2563

ระยะที่ 2 ระหว่างปี 2564-2565 พัฒนาท่าเรือจำนวน 14 ท่า

ระยะที่ 3 ระหว่างปี 2565-2566 พัฒนาท่าเรือจำนวน 1 ท่า จากนั้นจะพัฒนาเป็น Smart Pier ภายในปี 2565

โดยจะปรับแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี เพื่อรองรับการพัฒนาและการขนส่งผู้โดยสารทางน้ำ และจัดหาเอกชนเข้าบริหารท่าเรือ โดยกรมเจ้าท่าจะกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ในการดำเนินการ มีระบบควบคุมเรือ-ท่าเรือ กรมเจ้าท่าจะศึกษาระบบภายในปี 2564 จากนั้นจะมีการติดตั้งระบบในปีงบประมาณ 2565

แนวทางดำเนินการจะบูรณาการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งอื่น ๆ กรมเจ้าท่าได้รับมอบหมายให้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางทางน้ำกับระบบขนส่งรูปแบบอื่นๆ อาทิ รถประจำทาง รถตู้ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น ท่าเรือพระนั่งเกล้า จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-บางใหญ่) ท่าเรือพระราม 7 เชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ท่าเรือบางโพ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) ท่าเรือราชินี เชื่อต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) ท่าเรือสาทร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (บางหว้า-ตลิ่งชัน)

สำหรับรูปแบบเรือที่จะนำมาเปิดให้บริการ กรมเจ้าท่าจะมีการพัฒนาตัวเรือให้เป็นรูปแบบ Smart Ship เพื่ออำนวยความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทาง

ข้อมูลจากกรมเจ้าท่าระบุว่า ตั้งแต่ปี 2514-2562 ที่ผ่านมา กรมเจ้าท่าได้ปรับปรุงพัฒนาท่าเทียบเรือโดยสารสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลต่อเนื่อง โดยจำนวนท่าเรือโดยสารสาธารณะทั้งหมดอยู่ที่ 99 ท่าเรือ ในจำนวนนี้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 57 ท่าเรือ จังหวัดนนทบุรี จำนวน 21 ท่าเรือ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 13 ท่าเรือ และจังหวัดปทุมธานี จำนวน 8 ท่าเรือ

ขณะเดียวกันก็มีแผนพัฒนาส่งเสริมการขนส่งสินค้าในพื้นที่ภูมิภาค ในแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก การเชื่อมโยงภาคใต้ตอนล่างฝั่งทะเลอ่าวไทย และอันดามัน ดังนี้

1. แผนพัฒนาส่งเสริมการขนส่งสินค้าในแม่น้ำเจ้าพระยาและป่าสัก

- โครงสร้างพื้นฐานจะพัฒนาปรับปรุงท่าเรือของภาคเอกชน โดยเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด การจัดสร้างเขื่อนยกระดับน้ำ จะของบประมาณในการก่อสร้างระหว่างปี 2566-2569 การขุดลอกร่องน้ำ และเขื่อน แม่น้ำป่าสัก

- ระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง  อาทิ ระบบ GPS, Tracking,Radar,การบริหารจัดการข้อมูล

- กรมเจ้าท่าการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เพื่อ ยกระดับสะพาน เขื่อนทดน้ำ ฟลัดเวย์บางบาล-บางไทร

- การกำหนดมาตรการในการควบคุมเรือและขนาดเรือ

2. การพัฒนาและส่งเสริมการขนส่งสินค้าท่าเรือแหลมฉบัง-บางสะพาน ตามแผนจะมีการพัฒนาท่าเรือเอกชนที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวนคีรีขันธ์ และท่าเรือแหลมฉบัง-ศรีราชา ฮาร์เบอร์

3. การเชื่อมโยงภาคใต้ตอนล่าง (ท่าเรือสงขลา 2 และท่าเรือฝั่งอันดามัน)

4. การพัฒนาท่าเรือระนอง ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการการขุดลอกร่องน้ำ การเชื่อมโยงระหว่างฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน


ทั้งนี้เป็นที่น่าจับตาว่าภายใต้โครงการทั้งหมด แม้โจทย์จะเป็นการแก้ปัญหาด้านการจราจรและการขนส่ง ทว่าผลพลอยได้คือ ย่านดังกล่าวจะกลายเป็นทำเลทองที่นักลงทุนต่างหมายตาอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะเกิดเป็นย่านการเดินทางการค้าใหม่ในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งโครงการด้านการพัฒนาท่าเรือและการขนส่งทางเรือยังเป็นตังเร่งด้านการลงทุนอีกด้วย 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


การใช้ Food Delivery ของคนไทยช่วงโควิด

ผลไม้ล้นตลาด! โอกาสที่ต้องทบทวน-รีบคว้าไว้



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
8 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
8 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
10 | 11/04/2025
ผุด 29 ท่าเรือตามแผนพัฒนาริมเจ้าพระยา