แม้อินเดียไม่ใช่ประเทศมุสลิม
แต่มีประชากรมุสลิมมากถึง 195 ล้านคน
หรือราวร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ชาวอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูจึงนิยมบริโภคอาหารมังสวิรัติและไม่บริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิดอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้หากผู้ประกอบการด้านอาหารฮาลาลสามารถรุกตลาดไปสู่ชาวมุสลิมอินเดียอีก
195 ล้านคนได้ ซึ่งจากข้อมูลในปัจจุบันสินค้าอาหารที่ไทยส่งออกไปอินเดียยังมีเพียงน้ำมันปาล์มเป็นหลัก
มีมูลค่าส่งออกราวปีละ 80-100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่สินค้าอาหารอื่นๆ ไทยแทบไม่มีการส่งออกไปยังอินเดีย
แต่ก่อนอื่นจากจะรุกตลาดนี้ลองมาดูพฤติกรรมบริโภคและพื้นฐานตลาดอินเดียกันก่อน ซึ่งจากข้อมูลของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ชาวอินเดียในแถบภาคเหนือและภาคตะวันตกนิยมบริโภคอาหารที่ทำจากแป้งสาลี ขณะที่ชาวอินเดียในแถบภาคใต้และภาคตะวันออกจะเน้นบริโภคข้าว ขณะเดียวกันการเลือกเวลาเข้าตลาดก็เป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันชาวอินเดียยังคงนิยมบริโภคอาหารที่ปรุงสดใหม่ ตลาดอาหารสำเร็จรูปในอินเดียจึงยังมีขนาดเล็ก
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
อย่างไรก็ตาม
ด้วยวิถีชีวิตของกลุ่มคนชั้นกลางและกลุ่มผู้มีรายได้สูงในอินเดีย ที่เริ่มหันมาเลือกรับประทานอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น
โดยเฉพาะอาหารแช่แข็งและอาหารบรรจุกระป๋องแบบที่มีฝาดึงที่สามารถเปิดออกได้ง่าย จึงอาจกลายเป็นโอกาสของไทยในการขยายตลาดอาหารฮาลาลในอินเดียในระยะถัดไป
เนื่องจากอาหารอินเดียและอาหารไทยมีรสชาติเผ็ดร้อน และมีองค์ประกอบบางอย่างคล้ายๆ
กัน อาทิ เครื่องแกง กะทิ และสมุนไพรบางชนิด
ด้านประเทศจีน ที่มีจำนวนประชากรมุสลิมราว
25 ล้านคน แม้จะมีสัดส่วนเพียง 2% จากจำนวนประชากรทั้งหมด 1,439 ล้านคน แต่ชาวมุสลิมในจีนมีอัตราการเกิดและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในอัตราที่สูงกว่าประชากรจีนทั่วไปๆ
เนื่องจากก่อนหน้านี้ ทางการจีนยกเว้นนโยบายลูกคนเดียวให้แก่ชาวจีนมุสลิม
โดยปัจจุบันชาวจีนมุสลิมส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบภาคกลางและทางตะวันตกของจีน
อาทิ มณฑลกานซู มณฑลยูนนาน และเขตปกครองตนเอง ซินเจียงอุยกูร์ ขณะที่ในเมืองเศรษฐกิจชั้นนำ
อาทิ กรุงปักกิ่ง และนครเซี่ยงไฮ้ ก็มีชาวจีนมุสลิมกระจายตัวอยู่เช่นกัน
มีการประเมินว่า ผู้บริโภคมุสลิมในจีนมีแนวโน้มเปิดรับอาหารฮาลาลสไตล์ใหม่ๆ
ได้ง่าย เนื่องจากปัจจุบัน อาหารฮาลาลในตลาดจีนมีรสชาติและสไตล์ที่ค่อนข้างหลากหลายอยู่แล้ว
เช่น อาหารที่มีรสชาติผสมผสานระหว่างอาหารจีนกับอาหารจากตะวันออกกลาง
หรือเป็นอาหารฮาลาลสไตล์ โมร็อกโก อียิปต์ และตุรกี ซึ่งเน้นบริโภคข้าวสาลี
เนื้อไก่ และเนื้อวัว หรืออาหารฮาลาลสไตล์เอเชียใต้ ซึ่งเน้นบริโภคเครื่องเทศ
เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่ต้องการรุกตลาดอาหารฮาลาลในจีน
ควรติดตามการเปลี่ยนแปลงท่าทีและ นโยบายของรัฐบาลจีนที่มีต่อการสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลอย่างใกล้ชิด
เนื่องจากเมื่อไม่นานนี้จีนเพิ่งประกาศยกเลิกระเบียบมาตรฐานอาหารฮาลาล
ทั้งยังสั่งให้ร้านอาหารและแผงขายอาหารฮาลาล ลบข้อความภาษาอาหรับ
ตลอดจนสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสินค้าอาหารที่ต้องการจับตลาดมุสลิมในจีน
จึงอาจจะต้องเน้นส่งออกสินค้าอาหารที่สามารถเข้าถึงได้ทั้งที่เป็นผู้บริโภคชาวมุสลิมและผู้บริโภคที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม
เช่น กลุ่มอาหารฮาลาลโดยธรรมชาติ (Natural Halal) อาทิ สินค้าประมง ผัก-ผลไม้เมืองร้อน ขณะที่การจะรุกตลาดอาหารฮาลาลอื่นๆ
ที่ไม่ใช่ Natural Halal ควรมีตราเครื่องหมายรับรองฮาลาล บนสินค้า
มิเช่นนั้นผู้บริโภคจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากประเทศที่เป็นมุสลิม อาทิ
อินโดนีเซียและมาเลเซียแทน
ที่น่าจับตาหลังจากนี้ คือตลาดอาหารฮาลาลมีแนวโน้มเปิดรับอาหารฮาลาลในกลุ่มอาหารแห่งอนาคต (Future Food) เป็นอย่างมาก อาทิ อาหารฟังก์ชัน (Functional
Food) ซึ่งเป็นอาหารที่มีการเติมสารอาหารหรือส่วนผสมที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
นอกเหนือจากสารอาหารที่มีคุณค่าทาง โภชนาการ รวมไปถึงกลุ่มอาหารใหม่ (Novel
Food) ซึ่งเป็นอาหารที่ได้จากแหล่งอาหารใหม่ อาทิ สาหร่าย ยีสต์
หรือเป็นอาหารที่ผลิตจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งไม่เคยมีการผลิตมาก่อน อาทิ เนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช
(Plant-Based Meat) หรือผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการผลิตระดับนาโนเทคโนโลยี
(Nano Food) ที่มีผลให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น
หรือเก็บรักษาได้นานขึ้น
รวมทั้งตลาดอาหารฮาลาลสำหรับนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม ซึ่งก็เป็นตลาดที่มีแนวโน้มสูงมากขึ้นและกระแสแรงขึ้นมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นภายใต้มาตรการด้านฮาลาลที่ค่อนข้างเข้มงวด ในการที่ไทยจะฝ่าด่านส่งออกไปยังประเทศมุสลิมได้ มองมุมนี้จึงยังเห็นตลาดที่ไม่ใช่มุสลิมด้วยและอาจเป็นตลาดที่เปิดกว้างมากด้วย
สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<