แนวคิด ‘ขยะหมุนเวียน’ แก้ปัญหาขยะพิษล้นโลก

SME in Focus
22/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2137 คน
แนวคิด ‘ขยะหมุนเวียน’ แก้ปัญหาขยะพิษล้นโลก
banner

จากข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยในปี 2561 พบว่า ทั่วประเทศมีปริมาณถึง 27.8 ล้านตัน ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพียง 10.88 ล้านตัน (คิดเป็นร้อยละ 39) ที่เหลือเป็นการกำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ 7.36 ล้านตัน (ร้อยละ 27) โดยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกดึงนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้เพียง 9.58 ล้านตัน (คิดเป็นร้อยละ 34)

ขณะเดียวกันจากข้อมูลปี 2561 ระบุว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะพลาสติกมีมากถึง 1.93 ล้านตันต่อปี มีการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อเป็นวัตถุดิบรอบสองคิดเป็น 0.39 ล้านตัน/ปี จึงมีปริมาณขยะพลาสติกบางส่วนที่ไม่ได้นำกลับมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นขยะพลาสติกหรือบรรจุภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนกับขยะอินทรีย์ จึงทำให้มีขยะพลาสติกบางส่วนอยู่ที่บ่อขยะ และมีโอกาสลงสู่แหล่งน้ำ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ด้วยเหตุนี้ที่ผ่านมาจึงเกิดแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทยต่อการบริหารจัดการขยะ ที่สามารถขับเคลื่อนแนวทางได้ 4 ด้าน มีดังนี้

1. ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Production) การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความทนทาน มีอายุการใช้งานนาน และสามารถนำมาซ่อมแซมหรือรีไซเคิลใหม่ได้ โดยระบบการผลิตควรมีการวางแผนทั้งการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco design) ในการนำเศษวัสดุหรือสินค้าที่ผ่านการใช้งาน นำมาผลิตหรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีคุณภาพและมีมูลค่าสูงขึ้น โดยการให้การสนับสนุนกับการผลิตสินค้าฉลากเบอร์ 5 ฉลากเขียว โดยใช้หลักการ EPR (Extended Producer Responsibility) ในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ

2. ด้านการใช้งานและบริโภค (Consumption) กลไกด้านการขับเคลื่อนการใช้งานและบริโภคต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน ควรเน้นให้มีการ จัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) โดยการพัฒนาการบ่งชี้ทั้งผลิตภัณฑ์ที่แสดงการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) หรือที่เรียกว่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) หรือการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life-cycle Assessment, LCA)

3. ด้านการจัดการขยะหรือของเสีย (Waste Management) ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายในระยะยาว ด้วยการส่งเสริมให้มีการลงทุนในด้านการจัดการขยะ โดยปลดล็อคพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ การลดการกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ (Landfill) เช่น กรุงเทพ มีแผนกำจัดขยะมูลฝอยในระหว่างปี พ.ศ. 2558-2578 ให้ลดปริมาณขยะฝังกลบเหลือเพียงร้อยละ 38 ภายในปี พ.ศ. 2578 ส่งเสริมให้มีการรีไซเคิลทั้งขยะบ้านเรือนและบรรจุภัณฑ์ โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการขยะ ส่งเสริมให้มีการรีไซเคิล โดยสร้างความตระหนักให้เกิดการคัดแยก โดยใช้หลักการ 3Rs ซึ่งระบบการบริหารจัดการขยะจึงเป็นการสร้างความตระหนักให้เกิดแรงจูงใจ เพื่อลดการผลิตขยะ เลิกการใช้วัสดุชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง และการใช้นวัตกรรมต่อการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี

4. ด้านการใช้วัตถุดิบรอบสอง (Secondary Raw Materials) มาตรการด้านการจัดการขยะหรือของเสีย โดยการใช้นวัตกรรมเพื่อจัดการให้เกิดวัตถุดิบรอบสอง พบว่า ควรมีการพัฒนากฎหมาย ข้อบังคับด้านการจัดการขยะ โดยกระทรวงมหาดไทยได้จัดทำร่าง พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment, WEEE) มาตรา 19 กำหนดให้มีการปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ง่ายต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ และเพิ่มสัดส่วนการใช้งานของวัสดุหรือชิ้นส่วนที่ได้จากการนำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยกระบวนการรีไซเคิลโดยกำหนดเพิ่มการใช้วัสดุรีไซเคิล

ที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการส่งเสริมการใช้งาน และพัฒนาวัตถุดิบทดแทนที่ได้จากการรีไซเคิลจากขยะหรือของเสีย โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และควรจัดทำมาตรฐานการใช้วัตถุดิบรีไซเคิล และควบคุมการปนเปื้อนของสินค้ารีไซเคิล ประกาศเรื่องการจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 กำหนดให้มีการจัดภาชนะรองรับมูลฝอยเพื่อแยกประเภทมูลฝอย (ทั่วไป/อินทรีย์/รีไซเคิล/ อันตราย) โดยกรมควบคุมมลพิษ

อย่างไรก็ดี ในการสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาและความจำเป็นในการดำเนินการ จัดให้มีระบบหรือสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย มูลฝอยติดเชื้อ และของเสียอันตรายชุมชน ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการจัดการขยะเหลือศูนย์ (zero waste management) ซึ่งหากมีแนวทางหรือนวัตกรรมการจัดการขยะพลาสติกส่วนนี้ จะสามารถเพิ่มสัดส่วนการนำขยะรีไซเคิลกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ตาม การจัดการขยะและการรีไซเคิลมักต้องพึ่งพาการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศ ด้วยวิธีการเผาไหม้เพื่อให้เกิดพลังงาน (Waste to Energy) ซึ่งเทคโนโลยีขั้นสูงมักต้องใช้งบประมาณในการลงทุนทั้งเครื่องจักรและบุคลากร ในขณะที่เทคโนโลยีต่อการจัดการขยะขนาดกลาง (ปริมาณขยะ 50-100 ตันต่อวัน) สามารถใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น เทคโนโลยีการคัดแยก เทคโนโลยีทางกลชีวภาพ และเทคโนโลยีผสมผสาน เพื่อจัดการชุมชนเหล่านี้ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และผลิตพลังงานได้

แต่เมื่อพิจารณาการจัดการ หากทำให้ชุมชนหรือบ้านเรือนที่ต้นทางสามารถตระหนักและรับรู้ให้เกิดการคัดแยกขยะรีไซเคิลอย่างถูกวิธี เช่น ขยะพลาสติกแต่ละประเภทเพื่อก่อให้เกิดรายได้ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เนื่องจากพลาสติกแต่ละประเภทหากไม่คัดแยกพลาสติกแต่ละประเภทออก จะไม่สามารถนำพลาสติกเหล่านี้กลับมาผลิตเป็นวัตถุดิบรอบสอง หรือพลาสติกรีไซเคิลที่มีมูลค่าสูงเทียบคุณภาพกับพลาสติกใหม่ได้ ดังนั้นในการจัดการที่ต้นทางของขยะเหล่านี้จึงมีความสำคัญมากที่สุด 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<< 


7 ประเภทพลาสติกมีค่าแยกก่อนทิ้งนำไปรีไซเคิลต่อได้

‘พลังงานหมุนเวียน’ เทรนด์ธุรกิจกระแสแรงยุคนี้

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากการรุกคืบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ และส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นำมาสู่การพัฒนา…
pin
253 | 30/04/2024
Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

ภาพรวมตลาดสินค้า อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและโซล่าร์เซลล์มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จากปี 2566…
pin
310 | 29/04/2024
‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
618 | 25/04/2024
แนวคิด ‘ขยะหมุนเวียน’ แก้ปัญหาขยะพิษล้นโลก