COVID-19 ส่งผลต่อเทรนด์การบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป

SME in Focus
24/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 6839 คน
COVID-19 ส่งผลต่อเทรนด์การบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป
banner

โควิด-19 ยังเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน และเกิดเป็นพฤติกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการปรับตัวตามสถานการณ์ได้ตลอดเวลา ทั้งในแง่ของการทำธุรกิจ New Normal ที่เกิดขึ้น เป็นโอกาสที่ธุรกิจจะต้องเข้าไปตอบโจทย์ใหม่ๆ ที่ผู้บริโภคเกิดความต้องการ หรือสามารถกล่าวได้ว่า ดีมานด์เปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่นในกลุ่มอาหาร ความสะดวกในการรับประทานอาหารนับเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นใหม่ เดิมคนส่วนใหญ่นิยมอาหารพร้อมรับประทานประเภทเร็วและสะดวก ไม่ค่อยสนใจคุณค่าทางอาหารเท่าไหร่นัก

ขณะที่ปัจจุบันอาหารฟาสต์ฟู้ดทั้งแบบกินอิ่มและรับประทานเป็นของว่าง ยังต้องมีเรื่องของสุขภาพ คุณประโยชน์ของอาหารฟาสต์ฟู้ดเข้ามาเกี่ยวด้วย ซึ่งมาพร้อมกับโรคโควิด-19 นั่นก็คือเทรนด์การรับประทานอาหารพร้อมทานที่มาพร้อมกับคุณประโยชน์สูง สะดวกต่อการปรุงทานเองที่บ้าน และมีอายุในการเก็บรักษานานพอควร เช่น ชุดสุกี้พร้อมทาน ชุดสำหรับทำผัดกระเพา ไก่นักเก็ต พิซซ่า  ฯลฯ

ทั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการสัมผัสกับเชื้อโรคที่แฝงตัวอยู่ทั่วไปในที่สาธารณะ และการทำรับประทานเองที่บ้านยังเป็นการเพิ่มความมั่นใจในเรื่องคุณค่าทางโภชนาการ ที่ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการทำอาหารได้ แต่ยังคงต้องการความสะดวก เช่นการเตรียมเครื่องปรุง ส่วนผสมต่างๆ ซึ่งตรงนี้กลุ่มอาหารพร้อมปรุงนับว่าสามารถทำการตลาดได้ดีกว่าเดิม เพราะด้วยความที่ง่าย ช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการเตรียมวัตถุดิบ เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้บริโภคยุคโควิด-19 เป็นอย่างมาก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

เกิด New Trends การบริโภคอาหารของคนเอเชีย

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (Food Intelligence Center) ภายใต้การบริหารจัดการของสถาบันอาหาร ได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคและอุตสาหกรรมอาหารในเอเชียช่วงสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ผู้บริโภคมีความต้องการอาหารที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ซึ่งจะเป็นโอกาสของแบรนด์ต่างๆ ในการสร้างสินค้านวัตกรรมที่จะช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันของโรคในอนาคต เช่น ผู้บริโภคเวียดนาม นิยมรับประทานกระเทียมดำ เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย หรือผู้บริโภคฟิลิปปินส์ นิยมรับประทานผลิตภัณฑ์จากมะรุมและน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคสิงคโปร์ มีความต้องการวิตามินซีและวิตามินรวมมากขึ้น 3-5 เท่า ส่วนในญี่ปุ่น โรงงานแปรรูปอาหารต่างๆ หันมาเน้นช่องทางค้าปลีกเพื่อผู้บริโภคโดยตรงมากกว่าป้อนช่องทางธุรกิจบริการอาหารต่างๆ อาหารที่มีอายุเก็บรักษานานมียอดขายเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเครื่องดื่ม เป็นต้น

ขณะเดียวกันคนเอเชียยังเกิดพฤติกรรมรับประทานอาหารมื้อดึกหรือมือที่ 4 เพิ่มมากขึ้น เรียกว่า “4th Meal” อาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ สินค้าไก่แช่แข็ง เช่น ไก่ทอด ไก่นักเก็ต นอกจากนี้ยังมีเกี๊ยวซ่าแช่แข็ง ไส้กรอก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวพร้อมรับประทาน ลูกชิ้น เบเกอรี่แช่แข็ง เป็นต้น โดยผู้บริโภคยังให้ความสำคัญเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดีต่อสุขภาพแม้ว่าราคาจะสูงก็ตาม

นอกจากนี้บริษัทวิจัย Nielsen สำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค 11 ประเทศในเอเชีย หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ผู้บริโภค 86% ในจีน จะรับประทานอาหารที่บ้าน รองลงมาคือ ฮ่องกง 77% และมาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ 62% โดยพบว่ามูลค่าค้าปลีกอาหารในเอเชียมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 20-25% ต่อสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา

 

ธุรกิจเตรียมพร้อมรับ New Normal

จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปสู่ชีวิตแบบใหม่หรือ New Normal กลายมาเป็นตัวกำหนดทิศทางในการทำธุรกิจหรือทำการตลาดในขณะนี้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในครั้งนี้ จะกลายมาเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้รองรับความต้องการทางการตลาด ธุรกิจการให้บริการอาหาร ธุรกิจค้าปลีก และผู้ผลิตอาหารจำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ในปัจจุบัน

โดยมุ่งเน้นที่คุณค่าทางโภชนาการหรืออาหารที่เสริมสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ร่างกาย ชนิดพร้อมปรุงทานที่บ้านด้วย เพราะการเปิดหน้าร้านขายตามปกติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาจไม่ครอบคลุมผลประกอบการตามคาดหวัง หรือตอบโจทย์ทางการตลาดที่เปลี่ยนไปได้

ทั้งนี้นอกจากจะต้องปรับธุรกิจอาหารเข้าสู่ออนไลน์แล้ว ผู้ประกอบการยังต้องมีการสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นในใจลูกค้า ด้วยการผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ในเชิงคุณภาพ ภายใต้ความปลอดภัยต่อการแพร่กระจายความเสี่ยง ที่จะเกิดการติดเชื้อปนเปื้อนในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของตัวเอง  

กระนั้นยังสังเกตได้ว่าพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารของผู้บริโภคส่วนใหญ่ ยังคงซับซ้อนและไม่มีความแน่นอน ทั้งยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาด้วย ดังนั้นการปรับเปลี่ยนธุรกิจในขณะนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องงมีการตัดสินใจอย่างรอบคอบและข้อมูลลูกค้าที่รอบด้านอีกด้วย


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


โอกาส SMEs! ตลาดเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืชในประเทศจีน

โควิด-19 ปรับพฤติกรรมกินอาหารของคนเอเชีย

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ถอดบทเรียนแนวคิดต่างของ “เวิลด์กรีน พลัส” พลิกภาระสู่โอกาส เปลี่ยนของเสียให้เป็นมูลค่า

ถอดบทเรียนแนวคิดต่างของ “เวิลด์กรีน พลัส” พลิกภาระสู่โอกาส เปลี่ยนของเสียให้เป็นมูลค่า

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตขยะอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บวกกับแรงกดดันจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด การดำเนินธุรกิจในยุคที่…
pin
12 | 28/02/2025
แพทย์หญิงนักปรุงจาก “อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย” ชวน ไขความลับของผู้ผลิต Food Ingredients ผู้ช่วยตัวจริงของ อุตสาหกรรมอาหาร

แพทย์หญิงนักปรุงจาก “อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย” ชวน ไขความลับของผู้ผลิต Food Ingredients ผู้ช่วยตัวจริงของ อุตสาหกรรมอาหาร

ปัจจัยสำคัญที่ร้านอาหารชื่อดัง ซึ่งมีสาขาทั่วประเทศต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ประกอบด้วยหลายด้านด้วยกัน ทั้งในเรื่องของความสะอาด การบริการที่ได้มาตรฐาน…
pin
13 | 25/02/2025
จาก YouTuber ช่องดัง สู่การสร้างแบรนด์ชานมไข่มุก BEARHOUSE และ SUNSU เจาะกลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงานที่อยากใส่ใจสุขภาพ และยังรักการกินขนม

จาก YouTuber ช่องดัง สู่การสร้างแบรนด์ชานมไข่มุก BEARHOUSE และ SUNSU เจาะกลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงานที่อยากใส่ใจสุขภาพ และยังรักการกินขนม

จาก YouTuber ที่เคยรีวิวของเล่นจนสร้างชื่อเสียงและมีผู้ติดตามจำนวนมาก สู่การเป็นเจ้าของร้านชานมไข่มุกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คุณปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช…
pin
17 | 10/02/2025
COVID-19 ส่งผลต่อเทรนด์การบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป