คำแนะนำสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์หลังปลดล็อกดาวน์โควิด-19

SME in Focus
28/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4041 คน
คำแนะนำสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์หลังปลดล็อกดาวน์โควิด-19
banner

แม้ว่าสถานการณ์ของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยดูเหมือนจะคลีคลายไปในทางที่ดี จากการที่จำนวนผู้ป่วยใหม่ลดลงเหลือเพียงวันละไม่กี่คน จนไปถึงบางวันก็ไม่มีผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น จนทำให้ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้ปลดล็อกดาวน์สำหรับบางธุรกิจให้สามารถกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง ภายใต้ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและการจัดการด้านสุขอนามัยเพื่อป้องกันการระบาดซ้ำ

ในทางกลับกันธุรกิจต่างๆ ที่เริ่มกลับมาเปิดดำเนินการในปัจจุบัน ต่างเผชิญความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปรับตัวอย่างรวดเร็วจากวิกฤติโควิด-19 จนเกิดเป็นชีวิตวีถีปกติใหม่ หรือ New Normal ไม่เฉพาะผู้คน ห้าง ร้าน บริการต่างๆ จำต้องเปลี่ยนด้วย และแม้ว่าในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าได้รับการปลดล็อกดาวน์ให้เปิดดำเนินการได้อีกครั้ง จนเกิดภาพคนรอเข้าห้างแน่นขนัด แต่นั่นไม่ได้การันตีอะไรเลย แต่เป็นเพียงความอัดอั้นในช่วงที่ผ่านมาเท่านั้น และยิ่งมีมาตรการจำกัดเวลา คัดกรอง และความยุ่งยากต่างๆ ผู้ใช้บริการจะเริ่มหายไป

คนจะเบื่อการไปเดินห้าง!!!

ประเด็นนี้ธุรกิจหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบเต็มๆ กรณีคนไม่เดินห้างแต่หันไปช้อปออนไลน์แทน คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ อันเนื่องจากแฟรนไชส์ส่วนใหญ่อยู่ในห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าต่างๆ คนเดินห้างน้อยลง จับจ่ายน้อยลง ทำกิจกรรมในห้างน้อยลง ที่สำคัญผู้คนหันมารัดเข็มขัดในการใช้จ่ายมากขึ้น แถมเศรษฐกิจยังไม่มีทีท่าจะเชิดหัวขึ้น

คำถาม คือถึงกาลอวสานของแฟรนไชส์ในห้างสรรพสินค้าแล้วใช่หรือไม่ ?

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ยังไม่ใช่ อาจจะเร็วไปที่จะบอกว่าการขายแบบออฟไลน์สำหรับแฟรนไชส์ในห้างจะถึงคราวล่มจมจนไม่สามารถสร้างยอดขาย หรือบริการต่างๆ ได้จนต้องปิดกิจการ แต่อาจจะต้องปรับตัวขนานใหญ่ กว่าทุกอย่างจะเข้าสู่โหมดปกติ ซึ่งคาดว่าอาจจะต้องใช้เวลาถึง 18 เดือนเลยทีเดียว

ประเด็นนี้สำหรับแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ ซึ่งคาดว่ามีเงินทุนหมุนเวียนมากพอ ดังนั้นน่าจะเอาตัวรอดได้ ตลอดจนการปรับตัว และลดรายจ่ายลง แถมส่วนใหญ่ยังเป็นแฟรนส์ไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งผู้คนยังต้องกินต้องดื่ม (แม้จะไม่ออกจากบ้าน) แถมร้านก็ยังเปิดบริการได้ปกติโดยอาศัยการทำการตลาดในช่องทางออนไลน์ มีจัดส่งแบบ Delivery และ Take Away ขณะที่แฟรนส์ไชส์แบรนด์ขนาดกลางและขนาดเล็กกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม อาจประสบปัญหาจากรายได้และเงินทุนหมุนเวียน การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอาจช่วยให้ธุรกิจยืนหยัดอยู่ได้

อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มแฟรนไซส์ที่อาจไม่ได้รับผลกระทบเลยหรือกระทบน้อยมาก เช่น ตัวแทนขนส่ง, บริการจัดส่งพัสดุ, ร้านสะดวกซัก, ร้านสะดวกซื้อ, และตู้เติมเงิน ขณะที่ธุรกิจแฟรนส์ไชส์ที่รับผลกระทบหนักสุดคือ สปา, ร้านเสริมสวย, สอนพิเศษ, คาร์แคร์ ซึ่งกระทบหนักตั้งแต่ช่วงเริ่มคำสั่งล็อกดาวน์

 

หลังจากนี้แฟรนไซส์จะปรับตัวกับ New Normal นี้อย่างไร ?

1. วางแผนการเงิน : เงิน คือปัจจัยสำคัญในการอยู่รอดของธุรกิจ ดังนั้นร้านแฟรนไชส์หากไม่รู้จักวางแผนการเงินก็เหมือนถังน้ำก้นรั่ว โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโควิดการวางแผนการเงินที่ดี จัดการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ต้นทุนต่างๆ หนี้สินที่ต้องจ่าย คำนวณค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน มีเงินสดจำนวนเท่าไร มีกำลังเพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินธุรกิจหรือไม่ ดังนั้นหมั่นตรวจสอบสถานะการเงินทุกสัปดาห์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เรานำมาวิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนการบริหารจัดการเงินสด เพื่อนำไปใช้จ่ายต่อไปได้

2. ปรับลดคน/เพิ่มบางสาขา : ไม่ใช่ทุกธุรกิจจะได้รับผลกระทบจากโควิด ร้านแฟรนไชส์ก็เช่นกัน ร้านประเภทเดียวกัน ทำเลต่างกัน ผลกระทบย่อมแตกต่างกัน ประเด็นนี้เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องตรวจสอบว่า ในแต่ละสาขาควรมีการลดจำนวนพนักงานลงเพื่อพยุงธุรกิจ อาจรวมถึงลดจำนวนสินค้าหรือบริการที่ไม่จำเป็นในขณะนั้นออกไปก่อน แต่ส่วนนี้ยังต้องคำนึงถึงคุณภาพด้วยซึ่งจะลดลงไม่ได้อย่างเด็ดขาด หรือกรณีบางสาขายอดขายดี อาจปรับเพิ่มคนและสินค้า/บริการในสาขานั้น เพื่อเพิ่มรายได้

3. ปรับรูปแบบการให้บริการ สร้างความเชื่อมั่นกับลูกค้า : ทั้งร้านค้าแฟรนช์ไชส์และเจ้าของแฟรนช์ จำเป็นต้องดำเนินนโยบายสู้โควิด-19 โดยการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในเรื่องของความปลอดภัยจากโรค เมื่อลูกค้าเข้ามาใช้บริการบริการภายในร้าน โดยการจัดสรรเจลล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย จัดระบบคิว และดูแลด้านสุขอนามัย ตลอดจนการใช้มาตรการเว้นระยะห่าง ขณะเดียวกันก็ต้องสื่อสารออกไปให้ลูกค้าเข้าใจและให้ความร่วมมือ

4. สร้างแบรนด์ : วิธียอดนิยมในการสร้างยอดขายและกำไรที่ยั่งยืนของธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่ให้ล้มหายตายจากไปเพราะโควิด-19 คือการสร้างแบรนด์ให้ชัดเจน มีความโดดเด่น แตกต่าง และที่สำคัญ คือเจ้าของแบรนด์หรือแฟรนไชส์ต้องรู้จักตัวตนของธุรกิจอย่างชัดเจน เช่น ธุรกิจเราเป็นแบบไหน เจาะลูกค้ากลุ่มไหน พิเศษอย่างไร เพื่อนำเสนออัตลักษณ์แบรนด์ออกไปให้ผู้คนได้รับรู้ ว่าแฟรนไชส์ของเราคืออะไร ทำอะไร ขายที่ไหน และพิเศษอย่างไร ซึ่งทีเด็ดเฉพาะตัวที่แตกต่างไม่ซ้ำใคร จะผลักดันให้มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด กลายเป็นแฟนพันธุ์แท้ในที่สุด


5. เน้นการตลาดออนไลน์ : เพื่อให้ธุรกิจจะอยู่รอดปลอดภัยได้ในยุคโควิด นอกจากการสร้างแบรนด์ให้มัดใจลูกค้า ซึ่งจะขาดเครื่องมือที่เรียกว่า Digital Marketing ไม่ได้เด็ดขาด เพราะการพึ่งพารายได้ขาเดียว เฉพาะการวางจำหน่ายสินค้าหน้าร้านคงไม่พอ เราควรเสริมความแกร่งของธุรกิจ ด้วยการลงมือทำการตลาดออนไลน์ไปด้วย เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงธุรกิจได้ครบครันทุกช่องทาง สำหรับแฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มคงทำกันมาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นจึงไม่แปลกใหม่นัก และในกลุ่มสอนพิเศษ ความงาม ร้านเสริมสวย ร้านสะดวกซื้อ ร้านซีกรีด คาร์แคร์ และร้านแฟรนไชส์ค้าปลีกต่างๆ จำเป็นต้องมุ่งเป้าที่การตลาดออนไลน์มากขึ้นผ่านแฟลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้และอาจเพิ่มยอดขายได้ด้วย

6. พึ่งพาอาศัยกัน : ในช่วงที่ทุกธุรกิจต่างได้รับผลกระทบทั่วทุกคน ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีจะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ช่วยเหลือเท่าที่ทำได้และพึ่งพาอาศัยกัน ตลอดจนให้คำปรึกษาหรือแม้แต่การให้กำลังใจกัน โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซอร์นั้นจำเป็นต้องติดตามสอบถามปัญหาของแฟรนไชส์ซีอยู่เสมอ เพราะรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ยังต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ช่วยกันแก้ปัญหา และคิดไว้เสมอ เขาอยู่รอด เราก็รอดด้วย


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


6 เทรนด์อาหารและเครื่องดื่มมาแรงในจีน

โควิด-19 ปรับพฤติกรรมกินอาหารของคนเอเชีย

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
149 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
372 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1285 | 01/04/2024
คำแนะนำสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์หลังปลดล็อกดาวน์โควิด-19