โอกาสผู้ประกอบการไทยในตลาดจีน (ยูนนาน) ช่วงโควิด-19

SME Go Inter
06/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3392 คน
โอกาสผู้ประกอบการไทยในตลาดจีน (ยูนนาน) ช่วงโควิด-19
banner

ยูนนาน เมืองทางตอนใต้ของประเทศจีนมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก และเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยในปี 2562 มีมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกรวม 208,980 ล้านหยวน เป็นมูลค่าการส่งออก 93,340 ล้านหยวน และเป็นมูลค่าการนำเข้า 115,640 ล้านหยวน แบ่งเป็นการนำเข้าสินค้าเกษตร 10,000 ล้านหยวน นำเข้าผลไม้ 3,770 ล้านหยวน โดยยูนนานมีการนำเข้าผลไม้จากไทยเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะมังคุดเพิ่มขึ้น 150.4% ทุเรียนเพิ่มขึ้น 109.1%  ลำไยเพิ่มขึ้น 63% สับปะรดเพิ่มขึ้น 200.5 % และผลไม้อื่นเพิ่มขึ้น 814.8% ยูนนานจึงเป็นโอกาสอันดีของผลไม้ไทย

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

บทบาทความสำคัญของมณฑลยูนนาน

หลังเปิดใช้เส้นทางขนส่งทางบกคุนมั่นกงลู่ (คุนหมิง -กรุงเทพฯ) หรือเส้นทาง R3 โดยสร้างเส้นทางนี้เป็น 2 เส้นทาง คือ R3A (ผ่าน สปป.ลาว) และ R3B (ผ่านเมียนมา) จากประเทศไทยมายังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน คือผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและผ่านสหภาพพม่า เพื่อเข้าสู่จีนตะวันตกเฉียงใต้ด้านมณฑลยูนนาน ระยะทางระหว่างกรุงเทพฯ มายังนครคุนหมิงประมาณ 1,800 กิโลเมตร ปัจจุบันการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางบกจึงได้รับความนิยมโดยใช้เส้นทาง สปป.ลาว เป็นส่วนใหญ่ มีการขนส่งออกทางด่านอำเภอเชียงของ ข้ามแม่น้ำโขงในช่วงนี้ด้วยแพขนานยนต์เข้าไปยังแขวงบ่อแก้วและแขวงหลวงน้ำทาใน สปป.ลาว และเข้าสู่เขตปกครองตนเองสิบสองปันนาในมณฑลยูนนาน ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเดินทางเพียง 1-2 วัน สั้นกว่าทางเรือที่ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน

ปัจจุบันยูนนานได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลจีนเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2562 ให้เป็น “เขตการค้าเสรีนำร่องมณฑลยูนนาน” พร้อมกับอีก 5 มณฑล ได้แก่ มณฑลซานตง มณฑลเจียงซู เขตกว่างซี มณฑลเหอเป่ย และมณฑลเฮยหลงเจียง โดย “เขตการค้าเสรีนำร่องมณฑลยูนนาน” มีเนื้อที่ 119.86 ตร.กม. แบ่งเป็นพื้นที่ในนครคุนหมิง 76 ตร.กม. ครอบคลุมเขตสินค้าทัณฑ์บน 0.58 ตร.กม., พื้นที่ในเขตปกครองตนเองหงเหอ 14.12 ตร.กม. และพื้นที่ในเขตปกครองตนเองเต๋อหง 29.74 ตร.กม. มีจุดเด่นคือเป็น “เศรษฐกิจชายแดน” และ “เศรษฐกิจข้ามพรมแดน” จุดแข็งด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในการเป็นประตูเชื่อมภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา, จีน-ลาว-ไทย, จีน-เวียดนาม, จีน-เมียนมา-บังกลาเทศ-อินเดีย และจีน-อินโดจีน ซึ่งมีกิจกรรม “เศรษฐกิจข้ามพรมแดน” ได้แก่ การผลิต การเงิน การท่องเที่ยว อีคอมเมิร์ซ เกษตร พลังงาน โลจิสติกส์

 

การส่งออกสินค้าไทยผ่านยูนนานไปจีนช่วงโควิด

ด้วยความที่เป็นเมืองคู่ค้าสำคัญของไทย เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การค้าระหว่างประเทศไทยกับมณฑลยูนนานจึงได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกันโรคระบาดอย่างเข้มงวดของมณฑลยูนนาน ที่ได้สร้างผลกระทบต่อระบบขนส่งสินค้าจากไทยมายังยูนนาน นับตั้งแต่การประกาศขยายวันหยุดตรุษจีนซึ่งส่งผลต่อการเลื่อนเวลากลับมาเปิดดำเนินงานของผู้ประกอบการด้านขนส่ง การขาดแคลนพนักงานขนส่งและแรงงานขนถ่ายสินค้า

การปิดเส้นทางจราจรระหว่างเมืองซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกระจายสินค้าภายในจีน ตลอดจนการออกประกาศมาตรการควบคุมและจำกัดกิจกรรมตามด่านชายแดนของมณฑลยูนนาน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 ซึ่งทำให้การขนส่งสินค้าไทยมายังยูนนานผ่านเส้นทาง R3A ในขณะนี้อยู่ในสถานะไม่คล่องตัว ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปยูนนานชะลอตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน จากสถิติของสำนักงานศุลกากรจีนระบุว่า มูลค่าการส่งออกของไทยมายังยูนนานในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 คิดเป็น 60.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงถึง 49.70% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เส้นทางขนส่ง R3A ต้นทุนพุ่ง

รายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง ที่ติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศไทยกับมณฑลยูนนานอย่างใกล้ชิด พบว่า ทุเรียนและมังคุดจากภาคตะวันออกของไทย ยังเป็นผลไม้หลักที่ทำการส่งออกมายังประเทศจีนเป็นจำนวนมาก ซึ่งตามปกติแล้วจะเลือกการขนส่งทางบกที่ถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าทางเรือ แต่ด้วยระยะเวลาที่ใช้สั้นกว่าจึงเลือกทางบกแทน เพื่อคงคุณภาพความสดใหม่ของผลไม้ แต่เมื่อสถานการณ์โรคระบาดได้ทำให้จีนเพิ่มความเข้มงวดและออกมาตรการจำนวนมาก เพื่อควบคุมการผ่านเข้าออกพื้นที่ด่านชายแดนทางบกบนเส้นทาง R3A  ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการจึงปรับมาใช้การขนส่งทางเรือผ่านท่าเรือเซินเจิ้นในมณฑลกวางตุ้งแทน เนื่องจากเป็นช่องทางการนำเข้าสินค้าที่มีความแน่นอนในขณะนี้

 

กำลังซื้อสินค้าไทยในตลาดจีนลดลง

สำหรับตลาดผลไม้ไทยในจีนช่วงโควิด-19 มีมูลค่าลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณที่มีเพิ่มขึ้น ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลายเป็นโจทย์ที่ท้าทายความต้องการผลไม้ไทยในตลาดจีน ด้วยเกิดการแข่งขันระหว่างผลไม้ไทยกับผลไม้จากประเทศอื่นในตลาดจีนมากขึ้น สืบเนื่องจากความต้องการบริโภคผลไม้นอกตลาดจีนลดลง จีนจึงเป็นตลาดเป้าหมายหลักที่ผลไม้ชาติอื่นทะลักเข้ามาตีตลาด ซึ่งในระยะยาวอาจทำให้โอกาสของผลไม้ไทยอื่นๆ ลดลงได้ ยกเว้นทุเรียนที่ชาวจีนยังมีความต้องการบริโภคในระดับสูง นอกจากนี้ผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงระมัดระวังกับการใช้จ่าย จากความกังวลต่อสถานการณ์โรคระบาดที่ยังไม่สามารถประเมินจุดสิ้นสุดได้ในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งเศรษฐกิจจีนในขณะนี้ก็ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวกลับเข้าสู่สภาวะปกติอย่างชัดเจน ผู้ประกอบการจึงได้รับผลกระทบจากภาวะกำลังซื้อชะลอตัวของตลาดจีนในปัจจุบัน

 

ตลาดออนไลน์จีนโตต่อเนื่อง แนะผู้ประกอบการไทยปรับตัว

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในจีนและทั่วโลก ทำให้คนจีนมีการปรับตัวเข้าสู่ตลาดออนไลน์กันมากขึ้น เพื่อเลี่ยงการเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้า ลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส บนความเชื่อมั่นในช่องทางการซื้อ-ขายออนไลน์ที่มีมากขึ้น จึงทำให้ตลาดออนไลน์ในจีนโตแบบก้าวกระโดด

ด้วยเหตุผลนี้ผู้ประกอบการสินค้าแปรรูปไทยอย่าง "มาม่า" และปลาเส้นตรา "ทาโร่" จึงปรับตัวเข้าสู่ตลาดออนไลน์จีน เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคในจีนที่เปลี่ยนไป และทำให้สินค้าเข้าถึงคนจีนได้ทั่วประเทศ โดยไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงเรื่องการติดเชื้อ ซึ่งกลายเป็นว่าตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคชาวจีน มียอดคำสั่งซื้อเข้ามามากจนผู้ประกอบการเกิดความกังวลว่า ปริมาณสินค้าที่มีอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาดจีน

คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการไทย

จากภาพรวมดังกล่าวทำให้ได้ข้อสรุปว่า ตลาดจีนยังมีพื้นที่และโอกาสให้กับสินค้าไทยอีกมาก หากแต่ผู้ประกอบการไทยในจีนต้องปรับตัวให้ได้อย่างรวดเร็ว จากสภาวะการแข่งขันของตลาดจีนที่อยู่ระดับสูง ทั้งนี้ต้องรู้จักประเมินสถานการณ์ให้รอบด้านและสร้างความยืดหยุ่นให้เกิดขึ้น กับการทำธุรกิจเพื่อรับมือกับสภาวะวิกฤติต่างๆ ในปัจจุบัน ด้วยการเดินเกมกลยุทธ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งการปรับตัวของผู้ประกอบการจัดเป็นประเด็นหลักที่ควรตระหนักถึง ภายใต้อุปสรรคปัญหาเรื่องของการขนส่งทางบกที่มีต้นทุนพุ่งสูงกว่าปกติอีกเท่าตัวในปัจจุบัน และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้สามารถกระจายได้อย่างทั่วถึง โดยใช้ประโยชน์จากการเติบโตของตลาดออนไลน์จีนแบบก้าวกระโดด ในช่วงโรคระบาดสร้างประโยชน์ให้แก่ธุรกิจเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่อาจถูกจำกัด จากการดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกันโรคของทางการจีน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่เป็นอยู่ รวมถึงมองหาโอกาสใหม่ๆ ให้แก่การดำเนินธุรกิจ โดยไม่พึ่งตลาดจีนเพียงอย่างเดียว เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดจากการสูญเสียรายได้ในระยะยาว

 

แหล่งอ้างอิง :

http://yn.yunnan.cn/system/2019/12/15/030544136.shtml 

https://www.ditp.go.th/contents_attach/69296/55002266.pdf 

https://globthailand.com/china-01102019/ 

https://thaibizchina.com/article/%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD/  


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


SMEs ต้องเตรียมพร้อมรับมือการขนส่งสินค้าช่วงโควิด-19

ผลไม้ไทยทางสะดวก จีนเปิดหวูดด่านรถไฟผิงเสียง-ตงซิง

 



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6330 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2034 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5069 | 23/10/2022
โอกาสผู้ประกอบการไทยในตลาดจีน (ยูนนาน) ช่วงโควิด-19