โควิดฉุดเศรษฐกิจรัสเซียซึมยาว ลุ้นปี 2565 จะฟื้นหรือไม่
‘รัสเซีย’ เคยตั้งเป้าหมายว่าจะเป็น
1 ใน 5 ของประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2567 ในฐานะกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
หรือ BRIC ร่วมกับสมาชิกอีก 3 ประเทศคือ จีน บราซิล
และอินเดีย ซึ่งอย่างน้อยหากวัดตามมาตรฐานการเศรษฐกิจมหภาคแล้วมีมูลค่า 1.5 ล้านล้านเหรียญ
และทุนสำรองจำนวนมหาศาลก็ถือว่ามีโอกาสที่จะเป็นไปได้
แต่ทว่าเมื่อต้นปี 2563 รัฐบาลรัสเซียต้องยกเลิกเป้าหมายการเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจดังกล่าวไปอย่างเงียบๆ
พร้อมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19
ไม่เพียงเท่านั้นรายได้จากการส่งออกน้ำมันซึ่งเป็นรายได้หลักทางหนึ่งของรัสเซีย ก็ปรับตัวลดลง 70% จากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงไปกว่า 20 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
อย่างไรก็ตาม Sergei
Guriev นักเศรษฐศาสตร์รัสเซียยังให้ความเห็นว่า
เศรษฐกิจรัสเซียหดตัวเพียง 4% ยังถือว่าดีหากเทียบกับประเทศเศรษฐกิจหลักที่หดตัว
6% หรือประเทศยุโรปบางประเทศที่หดตัว 10%
โดยค่าเงินรูเบิลของรัสเซียที่เคยได้รับความเสียหายไปก่อนช่วงวิกฤตก่อนหน้านี้
ร่วงลงมา 18% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
แต่จะเห็นว่าเงินสกุลนี้เป็นตัวดูดซับแรงกระแทกได้อย่างดี
และยิ่งไปกว่านั้นนโยบายของรัฐบาลกลางยังช่วยให้ค่าเงินอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้
และพ้นจากแรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจของรัสเซียจะกลับมาฟื้นตัวได้ในระดับเทียบกับก่อนการระบาดของเชื้อโควิด
19 ได้ในปลายปี 2565 หรืออีกประมาณ 1 ปี ข้างหน้า
ผลจากการการทำข้อตกลงการผลิตน้ำมันร่วมกับกลุ่มโอเปก
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการราคา
การสร้างความเข้มแข็งให้กองทุนความมั่นคงเพิ่มขึ้นกว่า 1.7 แสนเหรียญสหรัฐ
การลดหนี้สาธารณะ การใช้ระเบียบคลังเพื่อรับมือความเสี่ยงต่างๆ
อีกด้านหนึ่งก็มีนักวิชาการที่มองว่า รัสเซียยังต้องดำเนินมาตรการเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตโควิด
19 ซึ่ง Elina
Ribakova รองหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (Institute
of International Finance) ชี้ว่าแม้ว่าจะมีปัจจัยบวกแต่ปัญหาระยะกลางคือรัสเซียจะเติบโตได้อย่างไร
สอดคล้องกับมุมมองของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่มองว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจรัสเซียระยะกลางจะอยู่ที่
1.6% จากที่เคยเติบโตสูงกว่าประเทศอื่นในช่วงตั้งแต่ปี 2000-2013
สาเหตุสำคัญจากการที่รัฐบาลมีนโยบายเศรษฐกิจแบบอนุรักษ์นิยม
ไม่ได้มีการใช้มาตรการเยียวยาผลกระทบจากโควิดมากเท่าที่ควร ทั้งที่มีเงินในกองทุนความมั่นคงเพิ่มขึ้นกว่า
1.7 แสนเหรียญสหรัฐ แต่กลับไม่แบ่งปันมาเยียวยาประชาชนและธุรกิจขนาดย่อม
ซึ่งนั่นอาจจะเป็นแรงฉุดทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้าจากการแพร่ระบาดของโควิด 19
ระลอกที่สอง
ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ว่า แผนการลดงบประมาณของรัฐบาลรัสเซียที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2563 อาจจะทำให้เศรษฐกิจหดตัวได้ถึง 2%
และอาจจะขยายตัวเพียง 2.4% ในปี 2564
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
ประจำกรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย สะท้อนว่า
แนวโน้มเศรษฐกิจรัสเซียที่ยังไม่ฟื้นตัวในปีนี้จะส่งผลเชื่อมโยงกับการส่งออกของไทย
ซึ่งพึ่งพาตลาดนี้ประมาณร้อยละ 0.4 หรือประมาณ 987 ล้านเหรียญสหรัฐ
แม้ว่าจะเป็นตลาดที่มีขนาดไม่ใหญ่นักแต่เป็นตลาดที่มีศักยภาพ (Emerging
market) โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหาร
แต่น่าเสียดายว่าในปีนี้ การหวังพึ่งกำลังซื้อในการจับจ่ายของประชาชนรัสเซียน่าจะไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลไม่ประกาศใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเข้มข้น เพราะไม่ต้องการให้กระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ได้มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งปัญหาค่าเงินรูเบิลที่อ่อนตัวอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ มีผลต่อราคาสินค้าด้วย ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเกาะติดสถานการณ์ตลาดนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนผลักดันการส่งออกต่อไป
สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<