6 กฎหมายดิจิทัลที่ผู้ค้าออนไลน์ต้องเตรียมรับมือ

SME in Focus
05/02/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 19441 คน
6 กฎหมายดิจิทัลที่ผู้ค้าออนไลน์ต้องเตรียมรับมือ
banner

ปฏิเสธได้ไหมว่าจะสามารถใช้ชีวิตอยู่บนโลก Offline ได้ตลอดเวลา โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับโลก Online รวมถึงไม่ทำธุรกิจธุรกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Cyber อีกเลย ถ้าตอบไม่ได้หรือยากจะตัดใจจากโลกการสื่อสารไร้สาย ไร้พรมแดน ก็ควรมามีการอัพเดทข้อมูลความรู้ไว้ เพื่อใช้รับมือกับการใช้งานในโลก Digital  ที่อาจล่วงกระทำผิดได้โดยไม่รู้ตัว ทั้งในแง่มุมส่วนตัวและเหมารวมไปถึงการทำธุรกรรมใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับ Digital ด้วย 6 ข้อกฎหมาย Digital ที่ทั้งในฝั่งผู้คนทั่วไปและผู้ประกอบการค้าออนไลน์จำเป็นต้องรู้ ดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


6 กฎหมายดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้าออนไลน์

1. พรบ.ภาษีอีเพย์เมนต์  หรือพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เรื่องนี้จัดเป็นประเด็นที่พ่อค้าแม่ค้าหรือผู้ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ให้ความสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับการยื่นเสียภาษีจากธุรกรรมที่เกิดขึ้น โดยมีใจความสำคัญหลักๆ คือ การกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากรทราบ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล (ผู้ที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด     หรือบริษัท) ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยบัญชีธุรกรรมเฉพาะจะต้องมีเงื่อนไข ดังนี้

- มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่าจะรับครั้งละกี่บาทก็ตาม

- ฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป และ มียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไขทั้งจำนวนครั้งและจำนวนมูลค่าของเงินที่รับฝากหรือโอน

หากเข้าข่ายข้อกำหนดดังกล่าว จำเป็นต้องยื่นเสียภาษีเงินได้ตามธรรมเนียม ทั้งนี้ธนาคารทุกธนาคารมีหน้าที่ ต้องรายงานต่อกรมสรรพากรทุกเดือน มี.ค. เพื่อประโยชน์ต่อการจัดเก็บรายได้ตามประมวลรัษฎากรโดยเริ่มนำส่งข้อมูลครั้งแรกในวันที่ 31 มี.ค.63

2. พ.ร.บ.ภาษี E-Business  เป็นข้อกำหนดที่ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ ที่มีรายได้จากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี ต้องมาลงทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร โดยผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) จากแพลตฟอร์มให้บริการอื่นๆ เช่น facebook line  แอพพลิเคชั่นต่างชาติที่มีรายได้ในประเทศไทย ต้องมาลงทะเบียนเสียภาษีกับกรมสรรพากร ทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการไทย

หมายเหตุ :  พ.ร.บ.E-Business อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่สามารถเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้พิจารณาได้ทันก่อนมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งกระทรวงการคลังต้องรอให้รัฐบาลใหม่มาพิจารณากฎหมายนี้ใหม่ เพราะเป็นประโยชน์ต่อการเก็บรายได้และเศรษฐกิจของประเทศ แต่มีแนวโน้มสูงมากกว่าจะได้บังคับใช้ปีนี้แน่นอน

3. พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมหรือสัญญา ให้มีผลเช่นเดียวกับการทำสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปัจจุบัน ได้แก่ การทำเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ การลงลายมือชื่อ การทำสัญญาระหว่างบุคคล ที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายนี้ถือว่าการทำสัญญานั้นได้ทำตามหลักเกณฑ์ข้างต้นของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว เป็นผลทำให้สัญญานั้นมีผลสมบูรณ์หรือใช้บังคับได้ตามกฏหมาย

4. พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  ซึ่งเป็น พ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ต้องได้รับการลงโทษตามที่ พ.ร.บ.กําหนดไว้ ซึ่งมีข้อกำหนดยิบย่อยมากมายที่ต้องศึกษา เพราะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ โดยจะขอยกบทลงในมาตราที่มีคนพลาดผิดกันมากใน มาตรา ๑๔  กล่าวว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

- โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

- นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

- นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

- นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

- เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้ว ว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามหัวข้อที่ระบุก่อนหน้า หรือ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง แต่มิได้กระทำต่อประชาชน แต่เป็นการกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทำ ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้

อ้างอิงเนื้อหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับเต็ม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/010/24.PDF(ลิ้งก์)

5. พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งระบบสื่อสาร ทำให้การเก็บรวบรวม การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสามารถทําได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว อันอาจนํามาซึ่งความเดือดร้อน รําคาญ หรือความเสียหายในกรณีที่มีการนําไปแสวงหาประโยชน์หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับความยินยอมหรือแจ้งล่วงหน้า http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/069/T_0052.PDF (ลิ้งก์ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฉบับเต็ม)

6. พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  กําหนดขึ้นเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ท้ังจากภายในและภายนอกประเทศ อันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดยเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์อันกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

โดย “ภัยคุกคามทางไซเบอร์หมายความว่า การกระทำหรือการดำเนินการใดๆ โดยมิชอบโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง


ข้อกฎหมายทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ผู้ทำธุรกรรมออนไลน์หรือแม้แต่ผู้ใช้งานทั่วไปจำเป็นต้องรู้ไว้ เพื่อป้องกันการกระทำความผิดทางกฏหมาย แล้วสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะนี่คือข้อบังคับผู้คนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทยต้องรู้จะมาอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ ที่สำคัญมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ มากมาย ดังนั้นผู้ประกอบการควรเร่งศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อม


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


ผลกระทบทางเศรษฐกิจกับการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์

คลังเล็งเก็บ VAT สินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
143 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
715 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
547 | 10/04/2024
6 กฎหมายดิจิทัลที่ผู้ค้าออนไลน์ต้องเตรียมรับมือ