ปัจจุบันหลายๆ
ประเทศได้มีการพัฒนาหรือกำลังพัฒนาระบบเศรษฐกิจการค้าตนเอง ให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
การค้าดิจิทัลมากขึ้น เพราะทุกวันนี้เทคโนโลยี อาทิ Internet of Thing (IoT), ตลาดอีคอมเมิร์ช, Big
Data, ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI), หุ่นยนต์, และบล็อกเชน ฯลฯ ถือว่ามีบทบาทและครอบคลุมถึงการใช้งานที่กว้างขวางมาก
พร้อมสร้างความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจทุกขนาดและทุกอุตสาหกรรม
ทั้งจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ครั้งใหญ่ในปีที่ผ่านมา ได้เร่งให้ความต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยผู้ประกอบการต่างๆ ก็ต้องการพัฒนาให้การค้าดิจิทัลมีความทันสมัย สร้างการเชื่อมโยงกับผู้บริโภคทั่วโลกได้อย่างไม่จำกัด ในเวลาเดียวกันก็ต้องมีความปลอดภัยทางธุรกรรมการเงินแบบดิจิทัลในการค้าขายสินค้าและบริการด้วย ซึ่งผู้ประกอบการก็ยังพึ่งพาการรองรับและสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้ง ในด้านกฎหมาย มาตรการป้องกันของข้อมูล ความปลอดภัยทางธุรกรรม และต้นทุนการใช้งาน ฯลฯ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
มีการประเมินว่าในอนาคต Digital Trade จะกลายเป็นเซกเมนต์ของธุรกิจระหว่างประเทศที่จะมีอัตราการขยายตัวมากสุด
เพราะจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industry 4.0) คือการนำเอาโลกของการผลิตสินค้าและบริการมาเชื่อมต่อกับเครือข่ายเทคโนโลยี
IoT (Internet of Things) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แม่นยำและรวดเร็วขึ้นกว่าการใช้มนุษย์ทำงานในหลายสาขางาน
อีกทั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งให้ต่างฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้
โดยการค้าดิจิทัลจะกลายมาเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนทางการค้าของโลก
ภาครัฐแต่ละประเทศจำเป็นต้องมีแผนรองรับทั้งในเรื่องการวางกฎหมาย
รวมถึงมาตรฐานด้านดิจิทัล เพื่อให้ผู้ใช้งานทางด้านธุรกิจ ประชาชน
หรือผู้ประกอบการด้าน Startup ได้เข้าถึงและเกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลสูงสุด
เพื่อที่จะสามารถพัฒนาการใช้งานในแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่มีประโยชน์และประสิทธิภาพต่อไป
ทั้งนี้ ประเด็นหัวข้อการค้าดิจิทัลยังเป็นประเด็นใหม่ที่หลายๆ
ประเทศเริ่มยกมาหารือกัน ในขณะที่ชาติผู้นำเทคโนโลยี อาทิ จีน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป
มีแนวทางดำเนินการในเรื่องนี้อยู่แล้ว โดยประเด็น Digital
Trade ที่นำมาหารือมักจะอยู่ในแนวทางหลัก 2 ด้าน
คือ
(1) ด้านขอบเขตของ Free flow of data คือการที่สามารถให้ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล
(non-personal data) สามารถถูกส่งเข้า-ออกภายในขอบเขตระหว่างกันได้อย่างเสรี
(2) ด้าน Data Localization ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลและความปลอดภัยของข้อมูล (Security & Privacy) อีกทั้งยังกำหนดให้ข้อมูลสำคัญๆ ต้องอยู่ภายในประเทศเท่านั้น โดยประเทศจีนและสหภาพยุโรปจะมีความเข้มงวดในเรื่องของ Data Localization การคุ้มครองข้อมูลมากกว่าทางด้านสหรัฐฯ จะยืดหยุ่นและชอบที่จะให้ข้อมูลมีความ Free flow มากกว่ากัน
โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลและได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคไปมาก
จนผลักดันให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวเข้าสู่การค้าในโลกยุคดิจิทัล อาทิ Internet of Thing (IOT), อีคอมเมิร์ช, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), หุ่นยนต์ ฯลฯ ต่างเข้ามามีบทบาทในธุรกิจสินค้าและบริการเกือบทุกแขนง
ดังนั้นแล้วเพื่อให้การใช้เทคโนโลยีเป็นไปอย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ใช้และผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ
ในเชิงพาณิชย์หรือบุคคล
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลของแต่ละประเทศต่างพยายามที่จะร่วมมือและยกระดับการปกป้อง
โดยเฉพาะด้านข้อมูลส่วนบุคคลและความโปร่งใสของข้อมูล
เพื่อลดความเสี่ยงกับความเสียหายที่ตามมา ขณะที่ประเทศไทยเองที่กำลังจัดทำความตกลงการค้ากับประเทศต่างๆ
อาจต้องคำนึงถึงเพิ่มการเจรจาเกี่ยวกับธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงการค้าเสรีด้วย
เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมผู้ประกอบการในประเทศ ให้สามารถขยายตลาดการค้าสู่ทั่วโลกได้อย่างมีศักยภาพต่อไป
แหล่งอ้างอิง :
https://www.washingtonpost.com/