แนะภาคอุตสาหกรรมรับมือ ปัจจัยเสี่ยง 3 ภัยพิบัติ

SME Update
15/08/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3404 คน
แนะภาคอุตสาหกรรมรับมือ ปัจจัยเสี่ยง 3 ภัยพิบัติ
banner

ปัจจุบันภาครัฐและโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้มีการนำเอาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการผลิตเข้ามาใช้ในระบบอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น แต่จากข้อมูลกลับพบว่าโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งยังไม่มีระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติที่มากพอ ส่งผลให้ทุกครั้งที่เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน หรือภัยพิบัติในด้านอื่น ๆ มักจะเกิดผลกระทบต่อระบบการผลิตทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องและหลายธุรกิจจำเป็นต้องหยุดชะงัก ทั้งยังส่งผลต่อห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) ของประเทศ กระทบความเชื่อมั่นในการลงทุนและลดโอกาสทางธุรกิจ

โรงงานอุตสาหกรรมทุกขนาดรวมทั้งกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี จึงควรมีการสรรหาเทคโนโลยีเพื่อรองรับหรือป้องกันผลกระทบดังกล่าว รวมถึงมีแผนในการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน (Business Continuity Management) ให้มากขึ้น ซึ่งยังเป็นผลดีในด้านการลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาที่ในภาพรวมมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


ดร.ณัฏฐ์  ลีละวัฒน์ หัวหน้ากลุ่มวิจัยระบบสารสนเทศการจัดการภัยพิบัติและความเสี่ยง และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมไทยควรหันมาให้ความสนใจและวางแผนในเรื่องความเสี่ยงทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะจากภัยพิบัติ 3 ประเภท ได้แก่

ภัยแล้ง โดยเฉพาะในปีนี้ด้วยเหตุจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตเนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภทจำเป็นจะต้องใช้น้ำเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิต โดยคาดว่าพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบมากจะเป็นพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอาจมีผลกระทบต่อพื้นที่ภาคตะวันออก อย่างอีอีซี ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา

น้ำท่วมฉับพลัน เป็นภัยพิบัติที่อาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในระดับที่รุนแรง แต่อาจมีผลในด้านความล่าช้าและความต่อเนื่องทั้งในการกระจายสินค้า การผลิต รวมถึงผลกระทบที่มีต่อเครื่องจักรและความปลอดภัย ส่วนปัญหาอุทกภัยคาดว่าปีนี้จะไม่อยู่ในระดับวิกฤติ เนื่องด้วยข้อมูลการระบายของน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ และข้อมูลสภาพภูมิอากาศที่ไม่น่ากังวลมากนัก

ปัญหาฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ต้องจับตาสถานการณ์ โดยเฉพาะในช่วงปลายปี (พฤศจิกายน – ธันวาคม) จนยาวไปถึงต้นปีถัดไปที่อาจจะมีความรุนแรง โดยโรงงานอุตสาหกรรมควรมีแผนควบคุมมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต รวมทั้งการจัดการหากสภาวะดังกล่าวอยู่ในขั้นวิกฤติ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของบุคลากรหรือผู้ใช้แรงงาน

 


ดัน นิคมฯโรจนะ ต้นแบบรับมือภัยพิบัติ

ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมวิจัยและพัฒนาแบบจำลองการบริหารจัดการน้ำร่วมกับศูนย์อุทกภัยและจัดการความเสี่ยงระดับประเทศ (ICHARM) ของประเทศญี่ปุ่นและหน่วยงานภาครัฐของไทย เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น พร้อมนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านอุทกภัย ผลกระทบทางธุรกิจ ความเสี่ยงด้านสังคม และจัดทำแบบจำลองน้ำท่วมที่มีความแม่นยำ และแชร์ข้อมูลให้กับองค์กรและชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการยกระดับความปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรมและชุมชน และทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง

โดยได้เริ่มศึกษาและวางแผนการพัฒนาในพื้นที่ศึกษาสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหนักจากมหาอุทกภัยในปีพ.ศ. 2554 และคาดว่าการพัฒนาระบบจะเสร็จสมบูรณ์และพร้อมใช้ในนิคมอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างเป็นทางการประมาณปี 2565 เพื่อให้เป็นต้นแบบระบบสำหรับใช้ในการต่อยอดการพัฒนาสำหรับรับมือภัยแล้งหรือปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และภัยพิบัติในด้านอื่น ๆ ต่อไป

สำหรับแนวคิด  Area-Business Continuity Management (Area-BCM) หรือแนวคิดการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจระดับพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่น เป็นการคำนึงถึงทรัพยากรและหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยสำหรับรับมือผลกระทบด้านอุทกภัยได้ โดย Area-BCM เป็นกระบวนการเข้าใจความเสี่ยงและผลกระทบ การหายุทธศาสตร์จัดการความเสี่ยง การพัฒนา Area-Business Continuity Plan (Area-BCP) การทำ Planed Action และการสอดส่องปรับปรุงระบบ Area-BCM อย่างต่อเนื่อง ด้วยความร่วมมือจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ องค์กร, ผู้จัดการสวนอุตสาหกรรม, เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้ดูแลสาธารณูปโภคพื้นฐาน และชุมชน

ส่วน Area-BCP จะเป็นตัวกำหนดกรอบและทิศทางของมาตรการบรรเทาความเสียหารย และการแก้ปัญหาโดยผู้มีส่วนได้เสียเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่งต่อเนื่องในพื้นที่อุตสาหกรรม


ประเทศไทยได้ผ่านมหาอุทกภัย เมื่อปี 2554 เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมที่ถูกเชื่อมต่อด้วยห่วงโซ่อุปทาน และเครือข่ายการค้า สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล ซึ่งในประเทศไทยได้เริ่มใช้แนวคิด Area-BCM ไปบ้างแล้ว เป็นโครงการนำร่อง ขณะที่หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เริ่มนำมาใช้ในปี 2556 - 2557

กุญแจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการทำ Area-BCM คือการแชร์ภารกิจร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับภาคเอกชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของประชาชนในประเทศไทย จุดเริ่มต้นที่สำคัญคือการทำให้ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนขององค์กรร่วมทั้งผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการสนับสนุนในการดำเนินงานต่อไป


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

5 รูปแบบการ Digital Transformation กลยุทธ์เร่งด่วนที่ SME ต้องทำก่อนปี 2568

5 รูปแบบการ Digital Transformation กลยุทธ์เร่งด่วนที่ SME ต้องทำก่อนปี 2568

การเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับปรุงกระบวนการ หรือประยุกต์ใช้งานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ ในแง่มุมของการประกอบธุรกิจเรียกว่า…
pin
3 | 28/09/2024
เจาะลึก ธุรกิจที่ใช้ AI ทำอย่างไร ถึงประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมในครึ่งปีหลัง 2567

เจาะลึก ธุรกิจที่ใช้ AI ทำอย่างไร ถึงประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมในครึ่งปีหลัง 2567

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา AI Chatbot เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีมาแรง ที่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญอย่างมาก โดย AI Chatbot กลายมาเป็นเครื่องมือหลักที่ภาคธุรกิจนำมาใช้ในการสื่อสาร…
pin
3 | 26/09/2024
‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
2253 | 13/02/2024
แนะภาคอุตสาหกรรมรับมือ ปัจจัยเสี่ยง 3 ภัยพิบัติ