‘ภัยแล้ง’ ปัญหาห่วงโซ่อาหารที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจมหภาค

SME Update
30/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 8035 คน
‘ภัยแล้ง’ ปัญหาห่วงโซ่อาหารที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจมหภาค
banner

ปีนี้ประเทศไทยประสบกับปัญหาภัยแล้งหนักจนเข้าขั้นวิกฤติ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีความรุนแรงมากที่สุดในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมา โดยกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยต้องเผชิญกับฝนแล้งยาวนานจนถึงเดือน มิ.ย. และปีนี้จะมีปริมาณฝนตามฤดูกาลต่ำกว่าค่าปกติ 3-5 % ในเขตพื้นที่แล้งซ้ำซาก ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนบน นับตั้งแต่ต้นปีช่วงเดือนมกราคม 2563 พบว่าวิกฤตภัยแล้งได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 14 จังหวัด 3,785 หมู่บ้าน มีพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 1,635,676 ไร่ และทำลายเศรษฐกิจภาคการเกษตรไม่กว่า 800 ล้านบาท

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


สถานการณ์ภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค

ปัญหาภัยแล้งที่เกิดในประเทศนั้นไม่ได้เกี่ยวพันกับเกษตรกร และ SMEs ภาคการเกษตรเพียงอย่างเดียว หากแต่เรื่องของทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยหลัก ในการดำรงชีวิตและเป็นหัวใจในภาคอุตสาหกรรมของประเทศด้วย ถ้าไม่มีการแก้ไขในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศได้ในระดับที่สร้างความสะเทือนได้เลย

เนื่องจากประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนคนไทยกว่าครึ่งประเทศยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งมีกว่า 9 ล้านครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรอย่างเป็นทางการ อันเป็นฐานการใช้จ่ายสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจประเทศ  หากภัยแล้งส่งผลสร้างความเสียหายต่อพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร ย่อมกระทบต่อรายได้ของกลุ่มคนใช้จ่ายส่วนใหญ่ของประเทศตามมา นอกจากนี้ยังจะส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตตามปกติทั่วไปด้วย

เมื่อต้องประสบปัญหากับพื้นที่เพาะปลูก ภัยแล้งเข้ามาทำให้เพาะปลูกพืชพรรณไม่ได้ ไปจนถึงได้ผลผลิตไม่ดี พื้นที่การเพาะปลูกเสียหาย ย่อมส่งผลต่อห่วงโซ่ปลายทางอย่างผู้บริโภคแน่นอน ดังจะเห็นได้จากช่วงหนึ่งที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการล็อคดาวน์เมือง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเกิดปรากฏการณ์ที่ผู้คนแก่กักตุนสินค้าประเภทข้าวสาร อาหารแห้ง รวมไปถึงไข่ไก่ จนทำให้ไข่ไก่ขาดตลาดท่ามกลางความต้องการแห่ซื้อกักตุนที่ถาโถมเข้ามา

สุดท้ายเกิดการกักตุน ขายโก่งราคา ราคาไข่ไก่ขยับขึ้นตามดีมานด์ความต้องการจากปกติราคาแผงละ 95-110 บาท ก็ขยับขึ้นมาเป็นแผงละ 130-150 บาท ซึ่งมีผลมาจากความต้องการมากแต่ปริมาณสินค้ามีน้อย ที่มาช่วยขยายความหมายของผลกระทบจากภาคเกษตรกรสู่เมืองได้เป็นอย่างดี นอกจากเกษตรกรเป็นกลุ่มผู้ผลิตอาหารแล้ว เกษตรกรยังเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักในทุกภูมิภาคทั่วประเทศด้วย

เมื่อไหร่ก็ตามที่กำลังการซื้อของกลุ่มเกษตรกรหดหายจากรายได้ที่ลดลง รายจ่ายที่เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมสำหรับซื้อปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ เคมีภัณฑ์ต่างๆ ไปจนถึงเรื่องของสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ทั้งที่จำเป็นและฟุ่มเฟือยก็จะลงลงตามไปด้วย 

ดังนั้นกลุ่มเกษตรกรจึงจัดว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักของพื้นที่ทั่วประเทศ เมื่อเกษตรกรลดการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคลง ก็จะทำให้เม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ลดลงไป และเม็ดเงินที่เกษตรกรใช้จ่ายในท้องถิ่นนั้นไม่ได้กระจุกอยู่แค่ในชุมชนท้องที่เพียงเท่านั้น แต่จะกลายเป็นรายได้ของ SMEs ในท้องถิ่นไปด้วย ซึ่งธุรกิจ SMEs ใดก็ตามที่ต้องอิงรายได้จากกลุ่มคนในภาคเกษตรกรรม ก็จะสูญรายได้จากการขาดสภาพคล่องทางการเงินของกลุ่มเกษตรกรไปโดยปริยาย เมื่อเม็ดเงินรายได้เกษตรกรลดลงมาก ย่อมเกิดความสั่นคลอนต่อธุรกิจ SMEs ตามมา

 

ต้นตอภัยแล้งของไทยในปีนี้เกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก

ภัยแล้งในไทยเป็นปัญหาสะสมเรื้อรังมายาวนานและประสบกันทุกปี แต่ยังไม่มีการแก้ไขกันอย่างจริงจังยั่งยืน ทำให้ไทยต้องเผชิญสภาวะภัยแล้งตามฤดูกาลตลอดมาอันเป็นสาเหตุหลัก แต่ที่ทำให้เกิดภัยแล้งหนักในปีนี้นั้นเกิดสาเหตุสำคัญคือ

1. ปรากฏการณ์เอลนีโญ : ไทยประสบภัยแล้งอย่างหนักมาตั้งแต่ปี 2562 ทำให้มีฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 10% และฝนทิ้งช่วงอยู่นาน 2 เดือน (มิ.ย.-ก.ค.) น้ำในเขื่อนมากกว่า 10 แห่ง มีปริมาณน้อยเข้าขั้นวิกฤตทำให้มีน้ำสำรองในเขื่อนต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในช่วงหน้าแล้งน้อยลง เมื่อปีนี้มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยไปอีก 3-5 % และฝนทิ้งช่วงนานเหมือนเคย สถานการณ์น้ำในเขื่อนที่มีน้อยอยู่แล้วจึงเข้าขั้นมีไม่เพียงพอจ่ายแจกในพื้นที่

2. การสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน : ทั้งในลาวและจีน จึงทำให้แม่น้ำโขงในประเทศไทยแห้งลงตั้งแต่อำเภอเชียงคาน และอำเภอปากชม ในจังหวัดเลย ซึ่งเป็นพื้นที่แรกที่แม่น้ำโขงไหลจากลาวเข้าไทย ไปจนถึงจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ และนครพนม นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้สถานการณ์ของระดับน้ำในแม่น้ำโขงอยู่ในขั้นวิกฤตในปีนี้

3. ปัญหาน้ำทะเลหนุนสูง : โดยเข้ามาทางปากแม่น้ำในช่วงหน้าแล้งของทุกปี ที่ทำให้มีน้ำเค็มเข้าไปในระบบน้ำประปา จนเกิดปัญหาน้ำกร่อย ทำให้รัฐบาลต้องใช้น้ำจืดที่มีในการผลักดันน้ำเค็มออกไป เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวซึ่งเป็นวิธีเดียวที่สามารถทำได้ในขณะนี้


ภัยแล้งและความเสียหายทางเศรษฐกิจ

สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2563 นี้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อพืชปลูกกลุ่มที่มีรอบการเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้ง เช่น ข้าวนาปรัง มันสำปะหลังและอ้อย ที่กระทบแล้งก่อนเก็บเกี่ยว ทำให้ผลผลิตที่เกษตรกรจะได้รับลดลง รายได้ของเกษตรกรในไตรมาสแรกจึงหดตัวลงไปตามปริมาณผลผลิตที่ขายได้ นอกจากภัยแล้งจะทำให้ผลผลิตลด เกษตรกรขาดรายได้แล้ว ยังส่งผลต่อเนื่องถึงภาคการส่งออกที่อาจขาดแคลนผลผลิตเพื่อการส่งออก ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่ความต้องการซื้อในตลาดโลกชะลอตัวลงด้วย

ทั้งหากภัยแล้งลากยาวไปจนถึงเดือนมิถุนายน หรือจนกว่าจะเริ่มมีปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติ เข้ามาเติมปริมาณน้ำในเขื่อนที่แห้งขอดตามการคาดการณ์ของกรมอุตุฯ ภาพรวมความสูญเสียทางเศรษฐกิจตลอดทั้งปีนี้จะอยู่ในภาวะวิกฤติมากขึ้น.

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.bbc.com/thai/thailand-49072092 

https://techsauce.co/tech-and-biz/depa-covid-19-smes-thai 

http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/Agri/2556/kaset.aspx 

https://techsauce.co/tech-and-biz/depa-covid-19-smes-thai  


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


อยู่บ้านช่วยชาติได้ด้วย 5 วิธีดูแลสิ่งแวดล้อม 

ส่องแผนบริหารจัดการน้ำ ‘อีอีซี’


  



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1053 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1393 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1674 | 25/01/2024
‘ภัยแล้ง’ ปัญหาห่วงโซ่อาหารที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจมหภาค