เมกะโปรเจ็กต์รัฐ 5 รากฐานที่สำคัญใน EEC

SME in Focus
20/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 5241 คน
เมกะโปรเจ็กต์รัฐ 5 รากฐานที่สำคัญใน EEC
banner

โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) นับเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้ง 3 จังหวัดอันประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ไปสู่ความสำเร็จ ที่ผ่านมา EEC มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงการเดินทางทั้งทางอากาศ ทางบก ทางราง ทางน้ำ แบบไร้รอยต่อ (Seamless Operation) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันจากการลดเวลาการเดินและประหยัดค่าขนส่ง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


สำหรับกลุ่มโครงการที่สำคัญ 2 กลุ่ม คือ

1. เชื่อมโยง EEC กับภูมิภาคทางอากาศ ผ่านโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอากาศยานและโลจิสติกส์ทางอากาศ และเชื่อมโยงการเดินของผู้โดยสารสนามบินหลัก (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้การเดินทางระหว่าง กทมฯ กับ EEC ไม่เกิน 1 ชม.

2. เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าของประเทศไทยกับภูมิภาค โดยพัฒนารถไฟทางคู่เชื่อมโยงจีน ลาว ไทย กัมพูชา และระบบขนส่งสินค้าแบบไร้รอยต่อ และระบบขนส่งแบบอัตโนมัติผ่านศูนย์กระจายสินค้าใหม่ที่ฉะเชิงเทรา ไปยังท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังระยะ 3 และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3 และส่งเสริม EEC ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกโดนการพัฒนาท่าเรือสำราญ (Cruise Port) ที่ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ


ทั้งนี้มาทำความรู้จักกับ 5 โครงการพื้นฐานหลัก EEC รากฐานที่สำคัญและแข็งแกร่งในการปั้น EEC ให้มีศักยภาพแข่งขันได้ในระดับสากล 

1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 220 กม.

ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางระหว่างเมือง คือ สถานีสุวรรณภูมิ ถึงสถานีอู่ตะเภา) และความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางในเมือง คือ สถานีดอนเมือง ถึงสถานีสุวรรณภูมิ) ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา

2. โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 

โครงการนี้อนุญาตให้เอกชนเข้าร่วมทุนในการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ที่ตั้งโครงการอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และพื้นที่โดยรอบประมาณ 6,500 ไร่ ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านฉาง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดระยอง

3. โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3  

เพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือเพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยจะดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือ สำหรับจอดเรือน้ำลึกและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ รวมทั้งการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ ท่าเรือแหลมฉบัง ก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรภายในท่าเรือ ตลอดจนโครงข่ายและระบบการขนส่งต่อ เนื่องที่จำเป็นในเขตพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังที่จะเชื่อมต่อกับภายนอก ให้เพียงพอและพร้อมที่จะรองรับการขยายตัวของปริมาณเรือและสินค้าประเภทต่างๆ โดยที่ตั้งโครงการ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

4. โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่

เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ และวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่หน้าท่าเรือ 550 ไร่ และพื้นที่หลังท่าเรือ 450 ไร่ ความยาวหน้าท่าเรือรวมกัน 2,229 เมตร

5. โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา 

ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานบนพื้นที่ 210 ไร่แห่งนี้ จะได้รับการพัฒนาให้เป็นหนึ่งในศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานที่ทันสมัย รองรับเทคโนโลยีขั้นสูงของอากาศยานรุ่นใหม่ทุกรุ่น ทุกขนาดในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยพร้อมให้บริการในหลากหลายด้าน ตั้งแต่การซ่อมบำรุงระดับลานจอด เรื่อยไปจนถึงซ่อมบำรุงใหญ่สำหรับอากาศยานในหลากหลายประเภท โดยจะนำเทคโนโลยีล่าสุดและการตรวจสอบขั้นสูงมาใช้ในการวิเคราะห์และพยากรณ์ เพื่อกำหนดแผนการบำรุงรักษาอากาศยานล่วงหน้า นอกจากนี้ยังมีโรงซ่อมบำรุงอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน รวมทั้งศูนย์ฝึกอบรมช่างซ่อมบำรุงที่ผลิตช่างฝีมือ และนายช่างอากาศยาน ตามมาตรฐานระดับสากล รองรับการขยายตัวของธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยานทุกภูมิภาคของโลกต่อไปในอนาคต

 

แม้ภาพเหล่านี้จะเป็นเมกะโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ของรัฐ แต่สำหรับภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กอาจยังไม่สนใจเรื่องเหล่านี้มากเท่าที่ควร แต่ก็สามารถศึกษาเพื่อคาดการณ์โอกาสท่ามกลางการเกิดขึ้นของเมกะโปรเจกต์ของรัฐในแง่มุมต่างๆ


ยกตัวอย่างเช่น 9 สถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อูตะเภา-สุวรรณภูมิและดอนเมือง ซึ่งคาดว่า ทั้ง 9 สถานีจะเกิดเป็นโอกาสจากการเติบโตของเมืองและความสะดวกในการเดินทาง เกิดศูนย์การค้า ย่านธุรกิจ และสถานบันเทิงมากมาย ไว้โอกาสหน้าจะนำข้อมูลทั้ง 9 สถานีนี้มาวิเคราะห์กันแบบเจาะลึก ดูว่ามีแนวโน้มที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง

  

อ้างอิง : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ส่องการเติบโตของธุรกิจอสังหาฯ ใน EEC

จับตา! ทุนไทย-ต่างชาติ ทุ่มซื้อที่ดินใน EEC


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
115 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
220 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
844 | 17/04/2024
เมกะโปรเจ็กต์รัฐ 5 รากฐานที่สำคัญใน EEC