Smart City ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและการลงทุนในอีอีซี

SME in Focus
24/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 5884 คน
Smart City ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและการลงทุนในอีอีซี
banner

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เทรนด์โลกสมัยใหม่ นับเป็นส่วนหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและเดินหน้าขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเมืองอย่างชาญฉลาด เป้าหมายเพื่อกระจายความเจริญไปทั่วทุกภูมิภาค สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา  ชลบุรี และระยอง ที่รัฐบาลเร่งขับเคลื่อนผลักดันให้เป็นพื้นที่นำร่องในเฟสแรกเป็นต้นแบบ สมาร์ท ซิตี้

ตลอดหลายปีที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมผลักดันสมาร์ท ซิตี้ ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม อาทิ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) และสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ตอบสนองนโยบายรัฐบาลคที่ต้องการผลักดันให้เกิดสมาร์ทซิตี้ทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 100 แห่งทั่วประเทศภายในปี 2565

โดยปี 2562-2563 ได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนยื่นผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มากกว่า 20 ราย ขอส่งเสริมการลงทุนทั้งจัดตั้งเมืองอัจฉริยะขึ้นมาใหม่ทั้งหมด และพัฒนาเมืองเดิมให้เป็นเมืองอัจฉริยะ

การจัดตั้งเมืองอัจฉริยทางบีโอไอได้กำหนดกฎเกณฑ์ครอบคลุมทั้งหมด 7 ด้าน 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


โดยองค์ประกอบของสมาร์ทซิตี้จะต้องประกอบด้วย 2 ด้าน ซึ่งจะมี 1 ด้านเป็นหลัก ได้แก่ Smart Environment สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ และอีก 1 ด้านตามความเหมาะสมของพื้นที่

หากกลุ่มทุนยอมรับเงื่อนไขได้ทางรัฐบาลไทยพร้อมมอบสิทธิประโยชน์ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี แต่ถ้าไม่ครบ 7 ด้าน จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 5 ปี และยังไม่รวมเข้าไปลงทุนในโครงการเมืองอัจฉริยะในอีอีซี จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงถึง 50% เพิ่มเติมอีก 5 ปีอีกด้วย โดยภายในปี 2563 จะเห็นโครงการเมืองอัจฉริยะผ่านการพิจารณาอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอจำนวนหลายโครงการด้วยกัน

 

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกระตุ้นเมืองอัจฉริยะคึกคัก

โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่ากว่า 2.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน คือการรถไฟแห่งประเทศไทบย (ร.ฟ.ท.) กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ซึ่งจะสร้างแล้วเสร็จภายใน 5 ปีข้างหน้า หรือเปิดให้ใช้บริการช่วงปี 2566-2567

ไม่เพียงแต่เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของไทย ในการเปิดเสียงหวูดเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจกต์ใหญ่สุดในโครง EEC เต็มกำลังแล้ว ยังช่วยกระตุ้นทุกภาคทุกธุรกิจเกี่ยวเนื่องคึกคักเป็นพิเศษ รวมทั้งโครงการเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ท ซิตี้ ก็เริ่มปักหมุดเดินหน้าพัฒนาโครงการอย่างเต็มตัว โดยเฉพาะโครงการร่องพัฒนา 4 เมืองเก่า "แหลมฉบัง-พัทยา-บางแสน-ระยอง" สู่ สมาร์ท ซิตี้ ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

อย่างไรก็ตามการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและเมืองนวัตกรรม จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งการวางผังเมือง การออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่สามารถตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยในยุคปัจจุบันอย่างชาญฉลาด รวมทั้งการหยิบเทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างความสะดวกสบาย และปลอดภัยให้กับประชาชนสูงสุด

โดยเมืองอัจฉริยะและเมืองนวัตกรรม จะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้ประเทศไทยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการเมือง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ทั้งด้านที่อยู่อาศัยที่ สะดวกสบาย สร้างเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า รวมถึงการมีสังคมและมีความสุขอย่างยั่งยืน


พัฒนาเมืองอัจฉริยะไม่ต้องลงทุนสูงแต่ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยตรงจุด

นักลงทุนไม่จำเป็นต้องเงินลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีไฮเทคชั้นสูงสำหรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ แต่การพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะที่ถูกต้อง ต้องออกแบบเพื่อตอบสนองต่อความเป็นอยู่ของประชาชนให้ได้ตรงจุด และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่การระดมความคิดของคน ในชุมชนเพื่อหาความต้องการของเมืองให้ได้ว่าแต่ละชุมชนนั้นต้องการเมืองแบบไหน อย่างไรก็ตามเมื่อได้ความต้องการของเมืองแล้วก็จะต้องดูเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะต้องมีอะไรบ้าง จากนั้นก็ต้องนำเอกชนเข้ามาร่วมหารือ เพื่อจัดทำแผนธุรกิจที่เหมาะสมเพื่อให้สมาร์ทซิตี้ แต่ละด้านสามารถเลี้ยงตัวเองมีผลกำไรสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

 

ระบบขนส่งเสริมต้องชัดเจน-สร้างถนนสายรองเอื้อต่อการเดินทาง

นโยบายส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี จะทำให้มีผู้คนเดินทางสัญจรไปมาระหว่างจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง หนาแน่นมากกว่าเดิม แต่ต้องยอมรับว่าการกระจายตัวของระบบขนส่งแบบกระจุกตัว ที่จะอำนวยความสะดวกประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รอบนอกยังไม่มีความชัดเจนมากนัก หรือการเดินทางมายังสถานีรถไฟความเร็วสูงก็ยังไม่เชื่อมต่ออย่างเป็นรูปธรรม

ดังนั้นต้องมีการพัฒนาระบบการคมนาคมสายรองที่เอื้อต่อการเดินทางเชื่อมต่อทุกเส้นทาง เนื่องจากปัจจุบันการกระจายคนเข้าไปยังบริเวณรถไฟความเร็วสูงนั้นยังเป็นถนนทั่วไป ภาครัฐยังไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าถนนแต่ละเส้นจะเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวอย่างไร ซึ่งการแก้ปัญหาเบื้องต้นอาจต้องสร้างระบบรางอย่างรถไฟรางเบามารองรับไหม หรือว่าจะเป็นรถบัสเพื่อกระจายคนเข้ามาในเมืองหรือสถานีและสนามบิน แต่การลงทุนในส่วนนี้จะค่อนข้างสูง


การคมนาคมต้องสะดวกรองรับที่พักอาศัยเติบโต 5-10 ปีข้างหน้า

ภายในอีก 5-10 ปีข้างหน้าในพื้นที่อีอีซี จะเกิดการพัฒนาแหล่งที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับคนนับล้านคนย้ายถิ่นฐานมาอาศัย การพัฒนาระบบคมนาคมต้องเชื่อมโยงไปทุกที่เพื่อเอื้อต่อความสะดวกให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัศมี 20 กิโลเมตร ให้สามารถเดินทางเข้ามาในตัวเมืองได้อย่างสะดวกสบาย และเดินทางไปใช้บริการรถไฟความเร็วสูงที่กำหนดจะสร้างแล้วเสร็จภายในอีก 5 ปีข้างหน้า หากคมนาคมสะดวกสบายก็จะส่งผลดีต่อการพัฒนาที่ดินรอบๆ เมืองกระตุ้นการลงทุนตามมาด้วย

เมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ท ซิตี้ เป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชนชาวไทยทั่วทุกภูมิภาคเข้ามาทุกขณะ เนื่องจากรัฐบาลกำลังเดินหน้าพัฒนาเมืองให้ก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้สอดคล้องกับยุค Thailand 4.0


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ความสำเร็จ 6 เมือง “Smart City” ระดับโลก

ปั้น 4 เมืองของไทยขึ้นชั้น Smart City


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ถอดบทเรียนแนวคิดต่างของ “เวิลด์กรีน พลัส” พลิกภาระสู่โอกาส เปลี่ยนของเสียให้เป็นมูลค่า

ถอดบทเรียนแนวคิดต่างของ “เวิลด์กรีน พลัส” พลิกภาระสู่โอกาส เปลี่ยนของเสียให้เป็นมูลค่า

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตขยะอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บวกกับแรงกดดันจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด การดำเนินธุรกิจในยุคที่…
pin
12 | 28/02/2025
แพทย์หญิงนักปรุงจาก “อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย” ชวน ไขความลับของผู้ผลิต Food Ingredients ผู้ช่วยตัวจริงของ อุตสาหกรรมอาหาร

แพทย์หญิงนักปรุงจาก “อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย” ชวน ไขความลับของผู้ผลิต Food Ingredients ผู้ช่วยตัวจริงของ อุตสาหกรรมอาหาร

ปัจจัยสำคัญที่ร้านอาหารชื่อดัง ซึ่งมีสาขาทั่วประเทศต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ประกอบด้วยหลายด้านด้วยกัน ทั้งในเรื่องของความสะอาด การบริการที่ได้มาตรฐาน…
pin
13 | 25/02/2025
จาก YouTuber ช่องดัง สู่การสร้างแบรนด์ชานมไข่มุก BEARHOUSE และ SUNSU เจาะกลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงานที่อยากใส่ใจสุขภาพ และยังรักการกินขนม

จาก YouTuber ช่องดัง สู่การสร้างแบรนด์ชานมไข่มุก BEARHOUSE และ SUNSU เจาะกลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงานที่อยากใส่ใจสุขภาพ และยังรักการกินขนม

จาก YouTuber ที่เคยรีวิวของเล่นจนสร้างชื่อเสียงและมีผู้ติดตามจำนวนมาก สู่การเป็นเจ้าของร้านชานมไข่มุกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คุณปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช…
pin
17 | 10/02/2025
Smart City ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและการลงทุนในอีอีซี