หลายๆ เหตุผลที่ผู้ประกอบการต้องสนใจ EEC

SME in Focus
08/07/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 16471 คน
หลายๆ เหตุผลที่ผู้ประกอบการต้องสนใจ EEC
banner

หลายคนมองโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ จากนักลงทุนรายใหญ่และนักลงทุนต่างชาติ ถ้าคุณคิดแบบนั้นอยู่ คุณคิดถูกแล้ว ...แต่ไม่ทั้งหมดเพราะภายใต้โครงการอภิมหาโปรเจ็กต์ครั้งนี้ ยังมี ของดีหลายอย่างที่เราอยากให้ผู้ประกอบการ SMEs หันมาสนใจโครงการ EEC และให้ความสำคัญ ยิ่งถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ใน 3 จังหวัด EEC ไม่รู้ ถือว่าคุณพลาดโอกาสครั้งสำคัญ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


ปูพื้นฐานกันก่อนว่า โครงการ EEC มีเครื่องมือส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้ประกอบการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศให้มาลงทุนในพื้นที่มากมาย ทำให้บริษัทใหญ่ๆให้ความสนใจอย่างมาก ต่างแสดงความสนใจในการลงทุนเพิ่ม โดยเฉพาะนโยบายสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) ที่ให้ความสนใจในด้าน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล หุ่นยนต์และเครื่องมือกลอัตโนมัติ

อีกทั้ง อาลีบาบา กรุ๊ป บริษัท E-Commerce ยักษ์ใหญ่จากจีนก็ได้ลงนามข้อตกลงกับรัฐบาลไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อสร้างฮับ E-Commerce และโลจิสติกส์ให้แก่ผู้ประกอบการไทยอีกด้วย และล่าสุด การบินไทยได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นกับแอร์บัส ในโครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา

จากที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เกิดการยกระดับพื้นที่เศรษฐกิจอย่างมหาศาล และถือเป็นการสร้างโอกาสที่ดีให้กับธุรกิจ SME หรือแม้แต่ Startup เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์กลาง หรือ community ที่ผู้ประกอบการ จะมีโอกาสได้เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยน เสนอไอเดียกัน สามารถรวมตัวกันเพื่อเจรจาธุรกิจ กับบริษัทหรือโรงงานขนาดใหญ่ เพื่อเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทานใน EEC ซึ่งพื้นที่ ที่คล้ายกับ Co-working space นี้ มีสิ่งอำนวยความสะดวก โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือครบครัน ที่จะสนับสนุนธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

เหตุผลที่ผู้ประกอบการSMEsต้องสนใจ EEC

การขยายธุรกิจใน EEC หมายถึงการเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน ใหม่ๆ ของ SMEs ทั้งชิ้นส่วน อุปกรณ์ และบริการให้กับธุรกิจใหม่

บทบาทและโอกาสของ SMEs ในอนาคตจึงน่าจะทวีความสำคัญขึ้น เป็นผู้เล่นหลักผู้สนับสนุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของไทยและเติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง สามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น เพื่อสนองตอบทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศ

การพัฒนาเทคโนโลยีจากศูนย์เทคโนโลยี EECi และ EECd ในการช่วยทำ R&D เพื่อ พัฒนาสินค้า ร่วมมือกับผู้ประกอบการ SMEs รายอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อ ร่วมกันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งจะช่วย สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและทำให้สินค้า สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก

การจัดตั้งพื้นที่รองรับ SMEs ไว้ในเขตนิคม อุตสาหกรรมใน EEC เพื่อพัฒนาโรงงานและ พื้นที่ส่วนกลางสำหรับการทำงานร่วมกันของ SMEs โดยเฉพาะ โดยที่กิจกรรมของ SMEs ใน แต่ละเขตนิคมอุตสาหกรรมจะต้องสอดคล้อง หรืออยู่ในห่วงโซ่อุปทานเดียวกับอุตสาหกรรมที่ อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนั้นๆ

มีห้องทดสอบทดลองพัฒนาสินค้าต้นแบบ (Prototype) ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย พร้อมอุปกรณ์วิจัยพัฒนาที่ครบครัน ซึ่งเป็น โอกาสอันดีของผู้ประกอบการ SMEs ที่จะใช้ ประโยชน์จากการกระจุกตัวกันของผู้ผลิตใน การหาพันธมิตรทางธุรกิจโดยเฉพาะกับ บริษัทรายใหญ่

ทั้งนี้ แผนการลงทุนของโครงการ EEC จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของอุตสาหกรรมและบริการต่างๆ เช่น การบริการเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี หรือภาคอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ที่แม้ว่าผู้ประกอบการ SMEs จะต้องใช้เวลาในการปรับตัว เพิ่มพูนทักษะ รวมถึงการสะสมเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ

แต่การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ EEC และมาตรการสนับสนุนต่างๆ จากภาครัฐ อาทิ มาตรการสนับสนุนการนำระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มาตรการช่วยเหลือด้านการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ ฯลฯ จะช่วยให้ SMEs ไทยสามารถนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใช้หรือปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อยกระดับขีดความสามารถและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตในที่สุด

นอกจากนั้น ธุรกิจ SMEs ก็ยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยยกระดับกระบวนการผลิต การแปรรูปสินค้าและการเพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร อาทิ พืชผัก ผลไม้ สมุนไพร ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทยตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยการปรับเปลี่ยนจากการขายผลผลิตทางการเกษตรในรูปวัตถุดิบที่ได้ราคาต่ำเป็นการทำเกษตรอุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมโยงตั้งแต่การผลิต การแปรรูป จนถึงการทำการตลาดอย่างครบวงจร


EEC จะเป็นโอกาสในการเปิดประตูสู่เวทีโลกผ่านการสนับสนุนให้เกิดการจับคู่ธุรกิจระหว่าง Accelerator หรือ Venture Capital กับ Startup การผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อให้สามารถประกอบธุรกิจรูปแบบใหม่ ซึ่งจะแตกต่างไปจากการส่งเสริมกลุ่ม SMEs ฐานรากที่ควรส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการเติบโต (Inclusive Growth) อาทิ การหาตลาดหรือผู้ซื้อ การเพิ่มพูนทักษะความรู้ การจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการทำธุรกิจ การจัดเตรียมช่องทางเพื่อกระจายสินค้า

ภายใต้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐและการลงทุนจากเอกชนทั้งไทยและต่างชาติ เราเชื่อว่าผู้ประกอบการโดยเฉพาะในพื้นที่ EEC ย่อมไม่พลาดที่จะติดตามข่าวสารและกฎระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนเงือนไขการเข้ารับสิทธิประโยชน์ที่พึงได้ และผลตอบแทนที่อาจมาในรูปแบบการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ รวมทั้งธุรกิจในพื้นที่จะได้รับผลโดยตรง ...ถึงตรงนี้เราไม่เชื่อว่าคุณจะไม่สนใจ 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
180 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
392 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1342 | 01/04/2024
หลายๆ เหตุผลที่ผู้ประกอบการต้องสนใจ EEC