วิวัฒนาการและความหวังในการผลิตวัคซีนต้านโควิด 19

Edutainment
16/08/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2367 คน
วิวัฒนาการและความหวังในการผลิตวัคซีนต้านโควิด 19
banner

ย้อนไปเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นครั้งแรกในนครอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย ประเทศจีน โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามีการติดไวรัสมาจากสัตว์พาหะ และพบผู้ป่วยรายแรกที่เริ่มแสดงอาการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม และไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน

ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการติดเชื้อหรือมีผู้ป่วยมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน จากนั้นมีการสุ่มเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปตรวจหาเชื้อสาเหตุ พบว่ามีเชื้อไวรัสในบริเวณค้าสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในฟาร์มมากสุด จึงคาดการณ์ว่าตลาดดังกล่าวอาจเป็นต้นกำเนิดของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือเชื้อไวรัสโควิด 19

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

พบว่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถเพิ่มจำนวนได้ดีในระบบทางเดินลมหายใจและปอดของมนุษย์ ไวรัสนี้จึงสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจากจมูก หรือปากที่ขับออกมาเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม โดยมีอัตราการแพร่เชื้อและความรุนแรง ตามลักษณะจำเพาะของโรค คือ

1. Basic Reproductive Rate (R0) คือ ความสามารถในการแพร่เชื้อของผู้ป่วย 1 คน ต่อคนที่มีความไวต่อการรับเชื้อ 2-4 คน

2. Clinical Onset Interval คือ มีช่วงเวลาแสดงอาการในผู้ป่วยรายต่อๆ กันไปในการแพร่ระบาด เฉลี่ยอยู่ที่ 4 - 5 วัน

3. Case Fatality Ratio (CFR) หรืออัตราการเสียชีวิต คือ มีสัดส่วนของผู้ป่วยที่เสียชีวิตเพราะโลกนี้โดยเฉลี่ยจากทั่วโลกอยู่ที่ 7% (สถิติประมาณการช่วงเดือนธันวาคม 2019-พฤษภาคม 2020)

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 จะเพิ่มขึ้นตามอายุ และการมีโรคประจำตัว หรือมีอายุมากยิ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น

ความสามารถของเชื้อไวรัสโควิดที่ทำให้ยากต่อการจัดการในครั้งนี้ ก็คือความสามารถในการกลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ตามสภาพภูมิการและพาหะนำโรค นับจากเดือนธันวาคม-ปัจจุบัน พบว่าไวรัสโควิด 19 ได้กลายพันธุ์ จากจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์ดั้งเดิม ที่แพร่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ไปแล้วหลายสายพันธุ์

มีการอ้างถึงผลการศึกษาของ ศาสตราจารย์ หลี่ หลานจ้วง และทีมงานแห่งมหาวิทยาลัยหางโจว มณฑลเจ้อเจียงว่า ขณะนี้เชื้อไวรัสโควิด 19 มีการกลายพันธุ์แล้วอย่างน้อย 33 สายพันธุ์ จากการสุ่มตรวจผู้ติดเชื้อในหลายพื้นที่ และศูนย์วิจัยโรคชั้นนำของประเทศบราซิล Oswaldo Cruz Foundation ยังได้ออกมาเปิดเผยว่า นักวิจัยชาวบราซิลตรวจพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) 6 สายพันธุ์ (Lineage) ที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อโควิด 19 แพร่ระบาดทั่วประเทศ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสายพันธุ์ของเเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่พบว่ามีการแพร่รระบาดอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ บนเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ “Yong Poovorawan” ไว้ว่า  

ไวรัสเริ่มต้นจากจีนจะมี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์เอส S (Serine) และสายพันธุ์ L (Leucine) สายพันธุ์ L แพร่กระจายมีลูกหลานได้มากกว่าสายพันธุ์ S โดยเฉพาะเมื่อออกนอกจีนไปถึงยุโรป สายพันธุ์ L แพร่กระจายได้ดีออกลูกหลานเป็นสายพันธุ์ G (Glycine) และสายพันธุ์ V (Valine) สายพันธุ์ G แพร่กระจายได้ง่าย ตามหลักวิวัฒนาการ จึงกระจายไปทั่วโลกอย่างกว้างขวางมีลูกหลานของสายพันธุ์ G มาเป็นสายพันธุ์ GR (Arginine) และ GH (Histidine)

นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่าสายพันธุ์ G ระบาดได้ง่ายแพร่กระจายได้เร็ว แต่ไม่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรค และระบบภูมิต้านทาน ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีน อัตราการครอบคลุมสายพันธุ์ G เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมาเป็นเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ของสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน จึงเป็นสายพันธุ์ G ย้อนกลับมาระบาดในประเทศไทยเพราะมีการเดินทาง

แต่สายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศไทยในระลอกแรกเป็นสายพันธุ์ S ดังนั้นผู้ที่อยู่ในที่กักกันของรัฐหรือที่เรียกว่า State quarantine โดยศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสของจุฬาฯ พบว่าเป็นสายพันธุ์ G เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะมาจากตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา สายพันธุ์นี้ไม่เกี่ยวข้องที่จะทำให้โรครุนแรงขึ้น ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิต้านทานเพียงแต่การกระจายง่ายๆ จึงทำให้อัตราการพบส่วนใหญ่ของทั่วโลกเป็นสายพันธุ์ G อยู่ในขณะนี้

ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์จากวิทยาลัยสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน (LSHTM) ของสหราชอาณาจักร เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดในคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ด้านชีววิทยา bioRxiv.org ระบุว่า ผลวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดหรือจีโนมของไวรัสซาร์สซีโอวีทู (SARS-CoV-2) ราว 5,350 ตัวอย่างจาก 62 ประเทศทั่วโลก ชี้ว่าไวรัสก่อโรคโควิด 19 แบ่งได้เป็นสองสายพันธุ์ใหญ่ๆ บางส่วนมีการกลายพันธุ์ของโปรตีนที่หนามสองแบบด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าไวรัสกำลังปรับตัว เพื่อให้มีความสามารถเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ได้มากขึ้น

แม้สภาพการณ์ทางพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะค่อนข้างเสถียร ไม่สู้จะเกิดการกลายพันธุ์หลายรูปแบบอย่างรวดเร็วมากนัก รวมทั้งการกลายพันธุ์ของโปรตีนตรงส่วนหนามที่ใช้จับและเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ก็ยังหาพบได้ยากมาก แต่ก็ควรจับตาและเฝ้าระวังไว้ เนื่องจากการกลายพันธุ์แบบนี้อาจเป็นวิวัฒนาการที่ไวรัสกำลังปรับตัว เพื่อให้มนุษย์ติดเชื้อได้ง่ายขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ทีมผู้วิจัยย้ำยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการกลายพันธุ์สองแบบที่พบส่งผลต่อตัวไวรัสอย่างไร แต่การที่พวกมันเกิดการกลายพันธุ์ขึ้นมาในหลายประเทศทั่วโลกโดยไม่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ทำให้มองได้ว่าปรากฏการณ์นี้อาจช่วยให้ไวรัสแพร่กระจายตัวออกไปได้ง่ายขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้ 

นี่จึงเป็นเรื่องยากและท้าทายความสามารถของมนุษยชาติเป็นอย่างมาก ต่อการหายาต้านไวรัสที่ครอบคลุมสายพันธุ์ไวรัสที่กลายพันธุ์ได้ทั้งหมด เพราะตราบใดที่ไวรัสยังไม่หยุดกลายพันธุ์หรือมีการกลายพันธุ์เร็วกว่าการผลิตหรือค้นพบยาต้านไวรัสที่ครอบคลุมทุกการกลายพันธุ์ได้ ก็น่ากลัวว่าชีวิตปกติที่มนุษย์คาดหวังว่าจะกลับคืนมาในเร็ววันคงจะลางเลือนไปทุกที

แหล่งอ้างอิง

https://www.who.int/

https://ddcportal.ddc.moph.go.th/

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=4307617185947532&set=a.192552250787400&type=3 

https://www.bbc.com/  


Work from home ควรรู้ ขยับบ้างก่อน ‘ตับพัง’ 

6 สัญญาณเตือน “สโตรก” รู้ก่อนรอดก่อน


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะยิ่งนับวัน การคืบคลานเข้ามาของสภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลายภาคส่วน…
pin
793 | 07/02/2024
‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

จากข้อมูลโดย ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sdgmove)  ระบุว่า เดือนเมษายน ปี 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามเผยแพร่ยุทธศาสตร์ชาติ…
pin
11362 | 26/10/2023
#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

ช่วงเวลาของสายบุญ ที่จะเวียนมาปีละครั้ง สำหรับเทศกาลกินเจ หรือ ประเพณีถือศีลกินผัก ตามประเพณีแบบลัทธิเต๋า รวม 9 วัน โดยกำหนดวันตามจันทรคติ…
pin
13823 | 03/10/2023
วิวัฒนาการและความหวังในการผลิตวัคซีนต้านโควิด 19