พลิกโฉมซัพพลายเชนโลก ผู้ผลิต ‘หนีจีน’ แห่ย้ายฐานสู่อาเซียน

SME in Focus
17/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3547 คน
พลิกโฉมซัพพลายเชนโลก ผู้ผลิต ‘หนีจีน’ แห่ย้ายฐานสู่อาเซียน
banner

ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำลายเศรษฐกิจโลกย่อยยับ แต่ขณะเดียวกันสร้างความเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจเกิดขึ้นใหม่มากมาย ซึ่ง 1 ในนั้น คือการเปลี่ยนแปลงของซัพพลายเชนโลก จากเดิมต้องพึ่งพาการผลิตจากจีนเป็นหลัก แต่การระบาดของไวรัสมรณะครั้งนี้ส่งผลให้การผลิตสินค้าและการส่งออกของจีนชะลอตัว อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตหลายประเทศจากการล็อคดาวน์ของประเทศจีน ทำให้ทั่วโลกต้องแสวงหาแนวทางลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาซัพพลายเชนจากจีน

จากบทเรียนวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของซัพพลายเชนในภูมิภาค มีปัจจัยสนับสนุนจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ที่ยังรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้บริษัทต่างชาติต้องการย้ายฐานการผลิตออกจากจีน เพื่อลดความเสี่ยงจากการกีดกันทางการค้า

รวมทั้งเมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 เป็นแรงกดดันให้เกิดการย้ายฐานการผลิตเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาซัพพลายเชนจากจีน หลังจากฐานการผลิตในจีนที่พึ่งพาอยู่ ไม่สามารถผลิตหรือส่งออกได้ตามปกติผลพวงจากการล็อคดาวน์ประเทศจีนในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

4 ปัจจัยย้ายฐานผลิต หรือพับฐาน

สอดคล้องกับความเห็นของ นายกรกฎ ผดุงจิตต์ เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เชื่อว่าบริษัทนานาชาติย้ายฐานผลิตออกจากจีนอย่างแน่นนอน เพื่อลดความเสี่ยงจาก 2 ปัจจัยลบดังกล่าว โดยเป้าหมายหลักคือย้ายฐานการผลิตไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออก และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งรูปแบบการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. การย้ายกลับไปประเทศแม่ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งการผลิตที่เลือกย้ายกลับไปประเทศแม่เป็นกลุ่มชิ้นส่วนหรือสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิต เช่น การใช้หุ่นยนต์ในสายการผลิตทั้งหมด

2. การย้ายฐานการผลิตเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีฐานการลงทุนอยู่แล้ว เช่น อาเซียน

อย่างไรก็ตามการระบาดของโรคโควิด-19 จะมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในแต่ละประเทศ จาก 3 ปัจจัยสำคัญ คือ

1. สิทธิประโยชน์การส่งเสริมการลงทุน เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

2. โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือ

3. ตลาดในประเทศและตลาดส่งออก

แต่หลังจากนี้นักลงทุนจะมองปัจจัยที่ 4 เพิ่มเข้ามา คือการควบคุมการระบาดโรคโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต ซึ่งไทยมีจุดขายตรงที่สามารถควบคุมโรคระบาดโควิด-19

ที่ผ่านมาบริษัทต่างชาติมองการลงทุนในไทย เวียดนาม มาเลเซียและอินโดนีเซีย นั้นส่วนใหญ่สนใจเข้ามาลงทุนในไทยเนื่องจากมีความได้เปรียบในการชักจูงการลงทุน เพราะควบคุมการระบาดได้ค่อนข้างดี และมีความได้เปรียบด้านโลจิสติกส์อยู่แล้ว

ส่วนเวียดนามเป็นอีกประเทศที่ควบคุมการระบาดได้ค่อนข้างดี รวมทั้งมีข้อได้เปรียบเรื่องค่าแรงถูก การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาน้อยกว่าจีน ดังนั้นจึงเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในการเป็นฐานซัพพลายเชนโลก ขณะที่มาเลเซียและอินโดนีเซียการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ดีเท่าไทยและเวียดนามทำให้นักลงทุนอาจจะชะลอการเข้าไปลงทุนด้วย

 

เน้นผลิตสต็อกสินค้าไว้ยามเหตุฉุกเฉิน

หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่บริษัทนานาชาติตัดสินใจจะใช้ซัพพลายเชนแบบโลกาภิวัตน์หรือจะใช้ระดับภูมิภาค คือจังหวะเวลาในการผลิตและการประกอบสินค้าในซัพพลายเชนและการจัดเก็บ เพื่อให้มีประสิทธิภาพบริษัทต่างๆ มักเลือกที่จะปรับกลยุทธ์โลจิสติกส์หรือกระบวนการขนส่งให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ

แต่ในโลกที่ความไม่แน่นอนและความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การพึ่งพาการขนส่งจะทำให้บริษัทต่างๆ มีสินค้าคงคลังน้อยมาก หรืออาจขาดสต็อกเลยก็ได้ ซึ่งจากวิกฤติโควิด-19 ทำให้นานาประเทศและภาคเอกชนเริ่มเห็นคุณค่าของการจัดเก็บสินค้าในสถานที่ที่ตั้ง มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่จะเข้าถึงได้ง่ายและจัดส่งไปถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน

อุตสาหกรรมไทยกำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนครั้งสำคัญ

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมประเทศไทยกำลังถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเช่นกัน การก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อทดแทนอุตสาหกรรมเดิม และการผลิตสินค้า Mass Product กำลังเข้าสู่วงจรถดถอย เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 กระทบต่อทุกภาคส่วน รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนที่ต้องปรับแผนธุรกิจใหม่ทั้งหมด

หลังการระบาดของโควิด-19 ส่งผลเปลี่ยนแปลงหลายธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่มีแรงกดดันให้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติมาใช้มากขึ้น ซึ่ง New Normal จะสร้างมาตรฐานใหม่เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีนำหน้า ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลกในอนาคต

 

4 ปัจจัยกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมไทย

สำหรับปัจจัยขับเคลื่อนของ New Normal ต่อทิศทางของภาคอุตสาหกรรมไทย มี 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่

1. ห่วงโซ่การผลิตที่สั้นลง ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 โลกอยู่ในยุคการค้าไร้พรมแดน ที่มีการย้ายฐานการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่า และพึ่งพาการนำเข้า-ส่งออกเป็นหลัก แต่หลังจากวิกฤตโควิด-19 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะต้องทบทวนห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) ที่จะเปลี่ยนแปลงไป หลายบริษัทอาจลดความยาวของ Supply chain จากที่ผ่านมาจะผลิตชิ้นส่วนในหลายประเทศ และส่งไปประกอบอีกประเทศหนึ่ง โดยหลังจากโควิด-19 จะลดให้สั้นลง ลดพึ่งพิงการผลิตแบบกระจายฐานการผลิตหลายประเทศมาอยู่ประเทศเดียว ระบบ Supply Chain ภาคอุตสาหกรรมจะขมวดเข้าสู่การพึ่งพาตลาดภายในประเทศมากขึ้น และเน้นรายได้จากการบริโภคภายในประเทศ

2. ธุรกิจปรับสู่อีคอมเมิร์ซ จากพฤติกรรมที่ถูกบีบบังคับจากการกักตัวอยู่บ้าน ทำให้ภาคธุรกิจเข้าสู่การค้าอีคอมเมิร์ซ การชำระสินค้าและบริการผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ผู้ประกอบการหลายอุตสาหกรรมต้องเพิ่มบริการแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น เป็นโอกาสเติบโตหลายธุรกิจ

3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จะฟื้นกลับคืนสู่ระบบธุรกิจเช่นเดิมได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพึ่งพาวัตถุดิบจากแหล่งผลิตที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 มากน้อยแค่ไหน ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมยานยนต์ต้องพึ่งโซ่อุปทานจากหลายประเทศ ทำให้ได้รับผลกระทบสูงจากการประกาศปิดประเทศ นำไปสู่การระงับการผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ชั่วคราว ส่งผลให้ชิ้นส่วนขาดแคลนทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ภาคการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องกลับมาทบทวน ปรับโครงสร้างการผลิตในรูปแบบเดิมให้รองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะหลังจากนี้

4. การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการควบคุมการระบาดโควิด-19 เร่งด่วน ทำให้ภาคธุรกิจต้องเข้าสู่ยุค Digital Transformation อย่างเข้มงวด ทำให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน และต้องใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารมากขึ้น วิธีปฏิบัติเหล่านี้ช่วยให้การบริหารจัดการยืดหยุ่นมากขึ้น ธุรกิจถูกปรับเปลี่ยนไปสู่ด้วยวิธีทำงานที่ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม การย้ายฐานการผลิตรวมถึงการเปลี่ยนซัพพลายเออร์จากจีนเป็นเทรนด์ที่เกิดมาระยะหนึ่งแล้ว จากการที่จีนกำลังเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากโรงงานผลิตสินค้าราคาถูก ไปเป็นสินค้าไฮเทค เน้นภาคบริการและการบริโภค สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯและการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นปัจจัยลบเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเร็วขึ้น


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


เช็คอุณหภูมิเศรษฐกิจเมียนมา หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย

ผลพวงโควิด-19 ค้าชายแดนไทย-กัมพูชาไตรมาสแรกสะพัด!



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
176 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
275 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
900 | 17/04/2024
พลิกโฉมซัพพลายเชนโลก ผู้ผลิต ‘หนีจีน’ แห่ย้ายฐานสู่อาเซียน