“ฮ่องกง” แตกไลน์แห่ลงทุน“อีอีซี”

SME Update
04/12/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4063 คน
“ฮ่องกง” แตกไลน์แห่ลงทุน“อีอีซี”
banner

การโยกย้ายฐานการผลิตจากเกาะฮ่องกงมาลงทุนไทย เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนนับตั้งแต่เกิดสงครามการค้า ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ทวีความรุนแรงมาตั้งแต่ปี 2561 ถาโถมด้วยสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังคงยืดยื้อมายาวนานกว่า 6 เดือน และยังไม่มีท่าทีจะยุติลงในเร็วๆ วันนี้ ยิ่งเร่งนักลงทุนฮ่องกงตัดสินใจมาลงทุนในในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)เร็วขึ้น เพื่อหลีกหนีวิกฤติครั้งนี้

โดยที่ผ่านมากลุ่มนักลงทุนจากฮ่องกง ได้ขอรับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการส่งทุน(บีโอไอ) อย่างต่อเนื่อง เข้ามาลงทุนในไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2558 มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยปีดังกล่าวนักลงทุนฮ่องกงได้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอจำนวน 26 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนจำนวน 3,796 ล้านบาท

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2561 ยอดขอส่งเสริมการลงทุนกับบีโอไอพุ่งขึ้นเป็นจำนวน 42 โครงการ คิดมูลค่าเงินลงทุนจำนวน 18,817 ล้านบาท  ทว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562(ตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน 2562) มีกลุ่มนักลงทุนจากฮ่องกงแห่เข้าไปได้ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอเพิ่มเป็นจำนวน 44 โครงการ คิดมูลค่าลงทุนรวมทั้งสิ้น 8,937 ล้านบาท ส่วนใหญ่การลงทุนอยู่ในกิจการด้านธุรกิจบริการ เช่น กิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ, กิจการด้านโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ,อุตสาหกรรมดิจิทัลและอุตสาหกรรมเบา

จากปัญหา 2 ปัจจัยลบดังกล่าว เป็นสาเหตุทำให้กลุ่มนักธุรกิจจากฮ่องกงต้องแตกไลน์การผลิตเข้ามาลงทุนในไทย เนื่องจากไทยอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ยอดเยี่ยมของภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของกลุ่มชาติอาเซียนและกลุ่มประเทศ CLMV(กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) ที่มีอัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจแข็งแกร่งเคียงข้างกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดทั้งแต่ละประเทศก็เร่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงเป็นใยแมงมุมทั้งกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อความสะดวกในการค้า การลงทุนและท่องเที่ยวระหว่างกัน

ขณะที่ประเทศไทยเอง มีจุดแข็งกว่าประเทศเพื่อนบ้านตรงที่เป็นศูนย์กลางอาเซียน แล้วยังเร่งผลักดันให้ต่างชาติมาลงทุนใน โครงการอีอีซี ซึ่งเป็นโครงการที่มีศักยภาพและมีความพร้อมครบครัน ที่สามารถรองรับการลงทุนจากต่างชาติแบบไร้ขีดจำกัดที่อยากเข้ามาลงทุนด้วย เช่นเดียวกับนักลงทุนฮ่องกง ที่ต้องการขยายฐานการผลิตสู่ประตูภูมิภาคอาเซียนและกลุ่มประเทศ CLMVT(กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย)ทางโครงการอีอีซี เปิดกว้างอ้าแขนต้อนรับตลอดเวลา

 

ทัพนักธุรกิจฮ่องกงลุยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน-ดิจิทัล

ก่อนหน้านี้ทัพนักธุรกิจจากฮ่องกงกว่า 70 ชีวิตยกทัพมาเยือนไทย เข้าพบ ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ เพื่อขอการส่งเสริมสนับสนุนทางด้านการลงทุนในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน, อุตสาหกรรมการผลิต, ดิจิทัล,บริการมูลค่าเพิ่มสูง พร้อมร่วมมือผู้ประกอบการไทย และสตาร์ทอัพ ในการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่วนนักธุรกิจชั้นนำอีกกว่า 50 ในฮ่องกงยังมีความสนใจและมองหาโอกาสการลงทุนในด้านต่างๆในไทย

เช่นเดียวกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ฮ่องกง (Hong Kong Software Industry Association) ก็ได้นำนักธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและซอฟต์แวร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก(เอสเอ็มอี) และกลุ่มสตาร์ทอัพจากฮ่องกง จำนวน 25 ราย ซึ่งได้เข้าพบบีโอไอเพื่อรับฟังนโยบายการส่งเสริมการลงทุน และการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยว่ามีเงื่อนไขอย่างไรเป็นพิเศษบ้าง

โดยเฉพาะระบบนิเวศ (Ecosystem) ของไทย ในการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ โดยภายหลังจากสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ฮ่องกงได้รับทราบข้อมูลครบทุกด้าน ก็ได้แสดงเจตจำนงและยืนยันว่าเข้าจะขนกลุ่มนักธุรกิจมาร่วมลงทุนกับไทยอย่างแน่นอน โดยการลงทุนลักษณะร่วมมือทางธุรกิจกับผู้ประกอบการไทย เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจร่วมกันให้เกิดความมั่นคงในอนาคต

“หลังจากเกาะฮ่องกงเผชิญกับวิกฤติทางการเมืองที่ยังไม่มีวีแววว่าจะยุติเมื่อไหร่ สร้างความหวั่นวิตกให้กับบรรดานักธุรกิจเป็นอย่างมาก หากปล่อยเหตุการณ์ลากยาวโดยไม่มีจุดยุติ ย่อมส่งกระทบเศรษฐกิจฮ่องกงถึงขั้นทรุดยาว เพราะฮ่องกงถือว่าเป็นศูนย์กลางการเงิน การค้า ชั้นนำของโลก ด้วยเหตุนี้จึงเร่งกระตุ้นกลุ่มนักลงทุนตัดสินใจไปลงทุนต่างประเทศเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านธุรกิจ โดย 1 ในนั้นประเทศที่นักธุรกิจฮ่องกงตัดสินใจมาลงทุนด้วยมากที่สุด คือโครงการอีอีซีของไทย เพราะได้รับสิทธิ์ประโยชน์มากมายที่เอื้ออำนวยในการตัดสินใจลงทุนด้วยโดยไม่ลังเล”


CLMVT เชื่อม One Belt One Road

ภาคอุตสาหกรรมใหม่ที่ไม่ได้รับผลจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนโดยตรง ประกอบด้วย กิจการดิจิทัล และเทคโนโลยีชีวภาพ ส่งผลทำให้ธุรกิจเหล่านี้เริ่มมาลงทุนในไทยมากขึ้น มองเห็นโอกาสการมาลงทุนไปได้สวยเพราะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล อีกทั้งยังมองเห็นศักยภาพของไทยที่เร่งผลักดันกลุ่มชาติ CLMVT ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่กำลังมีอัตราการเติบโตแข็งแกร่งเชื่อมโยงนโยบาย One Belt One  Road ของทางการจีน ตลอดทั้งยังเชื่อมโยงพื้นที่ที่เศรษฐกิจเติบโตสูง Greater Bay Area (GBA) ซึ่งครอบคลุมมณฑลกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า

อีกทั้งความขัดแย้งในฮ่องกงที่ยาวนานกว่า 6 เดือน ทำให้บรรดานักธุรกิจในฮ่องกงต่างย้ายฐานธุรกิจไปยังประเทศอื่น โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมาย และมีเงื่อนไขอื้อทำให้ตัดสินใจมาลงทุนในไทยเร็วขึ้น ซึ่งนักธุรกิจกลุ่มนี้ต้องการย้ายมาอาเซียนอยู่แล้ว โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ไทยและเวียดนาม แต่หากเป็นนักลงทุนจากฮ่องกงแล้วละก็ ส่วนใหญ่จะเลือกมาลงทุนไทยเพราะคุยกันรู้เรื่องมากกว่า และไม่มีปัญหาด้านการเมืองหรือประวัติศาสตร์กับจีนเหมือนเวียดนาม ขณะที่นักลงทุนชาติอื่นที่อยู่ในฮ่องกงอาจเลือกเวียดนามมากกว่า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานราคาถูก ส่วนจะย้ายมาลงทุนในไทยก็เป็นไปได้ยากเพราะแรงงานไทยแพงเมื่อเทียบกับเวียดนาม ประกอบกับไทยมีมาตรการดึงดูดกลุ่มนักลงทุนมาลงทุนด้วยส่วนใหญ่เน้นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูง

ปี 2563 กลุ่มนักลงทุนจากเกาะฮ่องกงจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในโครงการอีอีซี ไม่แพ้กลุ่มนักลงทุนจากจีนแผ่นดินใหญ่ภายหลังจาก แคร์รี หล่ำ ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าพบ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม,สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้งทีมเศรษฐกิจครม.เมื่อวันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงพร้อมที่จะสนับสนุนกลุ่มนักธุรกิจฮ่องกงมาย้ายฐานมาลงทุนในไทยเพื่อหลีกเลี่ยงม็อบต้นที่ยังไม่เห็นทางลงรอยกัน ดังนั้นการสนับสนุนนักลงทุนจากฮ่องกงมาลงทุนในไทยมีโอกาขยับขยายธุรกิจและเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนและกลุ่มชาติ CLMVT ได้มากกว่า

ขณะเดียวกันรัฐบาลฮ่องกงพร้อมร่วมมือกับรัฐบาลไทย เร่งรัดการเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรม อาทิ การเชื่อมโยงระหว่างนโยบายการพัฒนาของไทย ประกอบด้วย ประเทศไทย 4.0 EEC และ “Connecting the Connectivities” กับข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative: BRI) ของจีน ให้สอดคล้องกับ Greater Bay Area  ซึ่งฮ่องกงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า ตลอดจน การส่งเสริมความร่วมมือเศรษฐกิจใหม่ SMEs Start-ups การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัยฯ

คาดว่าภายในปี 2563 กลุ่มทุนจากฮ่องกงจะกลายเป็นอีกนักลงทุนมหาอำนาจการลงทุน ในโครงการอีอีซีต่อจากจีนแผ่นใหญ่  แม้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองในเกาะฮ่องกงลากยาวมานานกว่า 6 เดือนอาจจะยุติลงแบบเบ็ดเสร็จ แต่นักธุรกิจในเกาะฮ่องกงยังมองว่าสถานการณ์ยังไม่แน่นอน เพื่อลดความเสี่ยงบรรดานักลงทุนจากเกาะฮ่องกง เลือกจะย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศมากกว่าจะอยู่แบบเดิม เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังไม่มีความแน่นอน


500 บริษัทญี่ปุ่นลุยลงทุน EEC

หลายๆ เหตุผลที่ผู้ประกอบการต้องสนใจ EEC


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1228 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1588 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1874 | 25/01/2024
“ฮ่องกง” แตกไลน์แห่ลงทุน“อีอีซี”