ปรับตัวอย่างไร ถ้าการทำธุรกิจบน Facebook นั้นไม่ง่ายอีกแล้ว

SME Update
02/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4039 คน
ปรับตัวอย่างไร ถ้าการทำธุรกิจบน Facebook นั้นไม่ง่ายอีกแล้ว
banner

ดูเหมือนเฟซบุ๊กจะเผชิญการทดสอบอีกครั้ง ซึ่งผลจากการรณรงค์ต่อต้านการเหยียดผิว Black Lives Matter ทำให้เกิดการรณรงค์ต่อต้านเนื้อหาที่มีวาทะสร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) ใน Facebook ด้วยแฮชแท็ก #StopHateForProfit หยุดยั้งการแสวงกำไรจากความเกลียดชัง ซึ่งล่าสุดแบรนด์ยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันหลายรายต่างมีนโยบายไม่ทำการตลาดในแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊กตลอดจนในอินสตาแกรมอีกต่อไป  ซึ่งในปีที่ผ่านมาเฟซบุ๊กมีรายได้โฆษณาจากทั่วโลกถึง 69,700 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณราว 2.15 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตามหากเฟซบุ๊กไม่มีการปรับเปลี่ยนในทางใดทางหนึ่ง คาดว่ากลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างทยอยบอกลาการทำการตลาด ไม่ซื้อโฆษณาในเฟซบุ๊กอีกหลายรายจนกระทบต่อรายได้ และสุดท้ายเฟซบุ๊กอาจมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

สำหรับธุรกิจไทย เฟซบุ๊กกลายเป็นเครื่องมือช่วยในการทำธุรกิจที่ถูกเลือกใช้มานานจนกลายเป็นความเคยชิน ไม่ว่าแบรนด์น้อยแบรนด์ใหญ่ล้วนหันเข้ามาให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก เพื่อสร้างการรับรู้ไปพร้อมกับการขายสินค้า ด้วยผลตอบรับที่ได้จากการใช้เฟซบุ๊กในช่วงเริ่มต้นนั้นให้ผลดีเกินคาด ทั้งยังทำให้เกิดลูกค้าหน้าใหม่ๆ เข้ามาภายใต้ต้นทุนการจัดการที่ถูกและรวดเร็ว จนทำให้เกิดเศรษฐีหน้าใหม่ขึ้นมาจากการขายของหรือทำธุรกิจบนเฟซบุ๊กหลายคน  

แต่ยิ่งประสบความสำเร็จบนแพลตฟอร์มนี้มากเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้เสพติดการใช้ไปโดยไม่รู้ตัวจนไม่ได้มองหาลู่ทางเผื่อไว้ ถ้าหากว่าวันหนึ่งข้างหน้าเฟซบุ๊กจะพึ่งพาไม่ได้อีกต่อไป และการทำตลาด สื่อสาร หรือขายสินค้าบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กไม่ได้ง่ายดายเหมือนที่เคยเป็นมาอีกแล้ว  

ดังสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องปรับตัว เมื่อ มาร์ก เอลเลียตซักเคอร์เบิร์ก (Mark Elliot Zuckerberg) สั่งปรับลด New Feed ของเพจและเฟซบุ๊กส่วนตัว เพื่อคัดกรองโพสต์ที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน ลด Traffic ที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้งานสนใจลง ที่มองว่าเป็นการคงผู้ใช้งานไว้ไม่ให้หนีหายไปอูยู่ในแพลตฟอร์มอื่น

โดยโพสต์ที่ไม่มีการคอมเม้นท์หรือผู้ใช้งานไม่ได้มีส่วนร่วมจะถูกลดการมองเห็นลงไป และให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่มีประโยชน์มากขึ้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 ทำให้ผู้ประกอบการที่ใช้เฟซบุ๊กในการขับเคลื่อนธุรกิจ ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ โดยหันมาขับเคลื่อนเพจด้วยการผลิตคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ ตรงกลุ่มเป้าหมาย และซื้อโฆษณาจากเฟซบุ๊กเพิ่มขึ้นแทน เพื่อให้เกิดการมองเห็นมากขึ้น ดังนั้นการขับเคลื่อนธุรกิจโดยอาศัยเฟซบุ๊กจึงไม่ง่ายเหมือนเก่าเมื่อ

1. ค่าโฆษณาเริ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว 

2. มีอัตราการแข่งขันสูงขึ้นแบบคูณ 10

3. ผู้บริโภคเริ่มหันไปใช้แพลตฟอร์มอื่นกันมากขึ้น รวมถึงหันไปใช้บริการซื้อขายสินค้าผ่าน Marketplace อื่นๆ แทนการซื้อขายบนเฟซบุ๊ก ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกหลอกถูกโกงมากกว่าใน marketplace

แค่เพียงเหตุผลดังกล่าวก็ทำให้ต้องคิดหาทางออกให้กับธุรกิจต่อไปได้แล้วว่า จะทำอย่างไรกับสถานการณ์แบบนี้ หากไม่พึ่งพาการตลาดจากเฟซบุ๊ก แล้วแพลตฟอร์มไหนถึงจะเวิร์ก ซึ่งตามหลักความเป็นจริงแล้ว ไม่มีแพลตฟอร์มไหนที่จะเอื้อประโยชน์ให้เราเข้าไปใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียอะไรอีกแล้วในตอนนี้

แม้แต่การจะหนีเข้าไปพึ่งพาแพลตฟอร์มอย่าง Amezon, Lazada หรือ Shopee ที่เคยให้ผลลัพธ์เป็นยอดขายที่ดีงามก็จะไม่ดีงามอีกแล้ว ด้วยมีจำนวนคู่แข่งมาก โดยที่สินค้าที่นำเสนอขายไม่ได้มีความแตกต่างกัน สิ่งที่ผู้ลงเล่นใน Marketplace ใช้ตีคู่แข่งก็คือการใช้ราคาเป็นตัวดึงดูดลูกค้า จึงเกิดสงครามการขายตัดราคากันอย่างเข้มข้น และเมื่อมีการแข่งขันกันด้านราคา ผลที่ตามมาคือไม่สามารถทำกำไรได้มาก ผลประกอบการจึงลดลงตามไปด้วย

ภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าว การปรับกลยุทธ์ออนไลน์เพื่อรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นก็เป็นสิ่งจำเป็น โดยสามารถเตรียมการปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ดังนี้

1. สร้างแบรนด์ให้แก่ธุรกิจตัวเอง : การสร้างแบรนด์เป็นจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจ เป็นการยกระดับจากการเป็นพ่อค้า แม่ค้า แบบซื้อมาขายไป มาสู่การเป็นผู้ประกอบการรายย่อย โดยอาจจะเริ่มจากการสร้างแบรนด์แบบ Personal Branding ในกรณีที่มีฐานเพื่อนหรือผู้ติดตามมาก เพื่อสร้างภาพจำให้แบรนด์เป็นตัวสื่อสารที่ดี เมื่อมี Personal Branding ดี ก็จะสามารถต่อยอดไปสู่สินค้าอย่างอื่นได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการจดจำและความแตกต่างของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในแบบเดียวกัน โดยมีแบรนด์เป็นตัวกำหนด

2. สร้างเว็บไซต์ใช้ช่องทางของตัวเอง : ต่อไปนี้ถ้าเฟซบุ๊กทำให้คนเข้าถึงสินค้าหรือแบรนด์ได้ยาก การปูทางหาช่องให้ตัวเองเป็นสิ่งจำเป็น หากธุรกิจยังไม่มีเว็บไซต์จงเรียนรู้ที่จะมีหรือสร้างมันขึ้นมา แล้วทำคอนเทนต์ SEO ดึงดูดคนผ่านช่องทาง google อีกทั้งธุรกิจออนไลน์ที่มีเว็บไซต์รองรับ จะสร้างความน่าเชื่อถือทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมันได้มากกว่า

3. สร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า : หมดยุคการขายแบบปิดการขายในคราวเดียวแล้วจบกลับบ้านแล้ว ในเมื่อการขายแบบให้เกิดการบอกต่อๆ กันไป แบบปากต่อปากคือการโฆษณาและการตลาดที่ทรงพลังและคาดหวังถึงผลลัพธ์อันดีได้มากกว่า นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเชื่อมลึกระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ซึ่งเมื่อผลลัพธ์ของสินค้าเป็นที่น่าพอใจ และการมีปฏิสัมพันธ์อันดีทำให้เกิดความรู้สึกในเชิงบวก ก็จะทำให้เกิดการกลับมาซื้อซ้ำ

4. ใส่ใจลูกค้าเก่า : ลูกค้าเก่าจัดเป็นฐานอันดีในการทำตลาด เนื่องจากได้ทำความรู้จักกับแบรนด์ ผ่านการรับรู้เรื่องแบรนด์จากประสบการณ์ที่ได้เคยใช้สินค้ามาแล้ว ดังนั้นจงให้ความสำคัญกับการเก็บบันทึกฟีดแบ็ค คำแนะนำหลังการขายของลูกค้าให้มาก เพราะคำติชมของลูกค้าจะนำมาสู่การปรับใช้พัฒนาสินค้าได้ ตอบโจทย์ตรงจุดกว่าเดิม คราวนี้หากจะกระตุ้นการซื้อจากฐานลูกค้าเก่าด้วยโปรโมชั่นที่ยั่วใจก็ไม่ยากอีกแล้ว

ทั้งนี้การพึ่งพาช่องทางการตลาดที่หลากหลาย ไม่จำกัดเฉพาะแพลตฟอร์มเดียว สามารถช่วยให้ธุรกิจลดความเสี่ยงจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ที่สำคัญการมีเว็บไซต์ของตัวเอง คือหลักประกันที่ดีที่สุดในการทำการตลาดออนไลน์


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

 

6 เทรนด์ต้องรู้ เพื่อช่วยเซฟแบรนด์

ธุรกิจปรับตัวอย่างไร เมื่อ Digital Lifestyle แทรกอยู่ทุกมิติ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

5 นวัตกรรมสุดล้ำ! ฝีมือคนไทย พิชิตเชื้อโรคสุดฮิตที่มากับหน้าฝน

5 นวัตกรรมสุดล้ำ! ฝีมือคนไทย พิชิตเชื้อโรคสุดฮิตที่มากับหน้าฝน

ฤดูฝนเป็นช่วงที่คนเราเจ็บป่วยได้ง่าย เนื่องจากฝนได้ชะล้างมลพิษที่มีอยู่ในอากาศตกลงมาสู่ตัวเรา รวมถึงอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เกิดความอับชื้นและน้ำท่วมขัง…
pin
38 | 30/05/2023
ส่อง ‘6 กลุ่มอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ’ แนวโน้มการเติบโตสูงในตลาด AEC

ส่อง ‘6 กลุ่มอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ’ แนวโน้มการเติบโตสูงในตลาด AEC

ความมุ่งมั่นเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี (Health & Wellness Hub) เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญและมีการเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง…
pin
454 | 28/05/2023
โมเดล BCG ด้านเครื่องมือการแพทย์ ดันไทยเป็น ‘Medical Hub’ เพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพ

โมเดล BCG ด้านเครื่องมือการแพทย์ ดันไทยเป็น ‘Medical Hub’ เพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพ

การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 ต้องอาศัยการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 มิติ พร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน…
pin
445 | 27/05/2023
ปรับตัวอย่างไร ถ้าการทำธุรกิจบน Facebook นั้นไม่ง่ายอีกแล้ว