ฝ่าทุกวิกฤต ‘ชาญ เรืองรุ่ง’ แม่ทัพสายครีเอทแห่งแม่ศรีเรือน
ชาญ เรืองรุ่ง ชื่อนี้พ้องกับ ‘ชาญ เย็นแข’ ผู้ขับร้องเพลง ‘แม่ศรีเรือน’ เพลงดังในอดีต ออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2498 แต่จะโดยตั้งใจหรือไม่เจตนา สมัยนั้น คุณศรีเรือน คำลักษณ์ คุณยายแท้ๆ ของคุณชาญ เรืองรุ่ง ผู้คิดค้นสูตรก๋วยเตี๋ยวไก่ เปิดขายสาขาแรกที่พัทยา ตั้งชื่อร้านว่า ‘แม่ศรีเรือน’ ตามชื่อเพลงดัง กลยุทธ์สร้างการจดจำที่ง่าย และได้ผลดี สมัยนั้นขายกันที่ชามละ 6 สลึง ต้นกำเนิดก๋วยเตี๋ยวไก่ร้านดังที่อยู่คู่สังคมไทยมากว่า 64 ปี
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
กว่า 64 ปี แม่ศรีเรือน
‘No Manu But The Best Restaurant’
พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ BANGKOK
POST ฉบับภาษาอังกฤษตีพิมพ์ในปี 2515
จุดเริ่มต้นที่ทำให้คนไทยรู้จัก ก๋วยเตี๋ยวไก่แม่ศรีเรือน ดังมากในช่วงนั้น
เรียกว่าถ้าไปพัทยา แล้วไม่ไปกินก๋วยเตี๋ยวไก่แม่ศรีเรือน...ถือว่ายังมาเที่ยวไม่ถึงพัทยา
จากก๋วยเตี๋ยวไก่ร้านดังเมืองพัทยา
ขยับเข้าสู่กรุงเทพฯ ผ่านมา 64 ปี ปัจจุบัน ‘แม่ศรีเรือน’
มี 31 สาขาใหญ่ในกรุงเทพฯ และ 11 สาขาย่อย โดยมี คุณชาญ เรืองรุ่ง หัวเรือใหญ่ของแม่ศรีเรือน
นำพาธุรกิจครอบครัวก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจมาหลายๆ ครั้ง
คุณชาญ
กล่าวขึ้นด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นเมื่อเล่าย้อนไปสมัยเริ่มก่อตั้งแม่ศรีเรือนร่วมกับพี่ๆ
ในครอบครัว เขากล่าวว่า คุณยาย ซึ่งเป็นเจ้าของสูตรก๋วยเตี๋ยวไก่แม่ศรีเรือน
ท่านเห็นพี่สาวต้องเลี้ยงดูน้องๆ หลายคน เลยเสนอทางเลือกให้พี่สาว คือมอบเงิน 5
หมื่นบาทให้ไปเรียนตัดเสื้อร้านดัง หรือจะเอาสูตรก๋วยเตี๋ยวไก่ และป้ายร้านไปเปิดสาขาที่กรุงเทพฯ
...ถึงตอนนี้ คงก็ทราบแล้วว่าพี่สาวเลือกอะไร
เปิดสาขาแรกในกรุงเทพ
คุณชาญ
เข้ามาช่วยงานในร้านก๋วยเตี๋ยวไก่แม่ศรีเรือนเมื่อปี 2514 และเปิดสาขาแรกในกรุงเทพฯ
ปี 2521 เขาเล่าว่า ตอนแรกยังไม่เรียกว่าร้าน โดยเช่าเต็นท์สองหลังเป็นเพิงเปิดร้านตรงซอยลาดพร้าว
101 จัดร้านแบบง่ายๆ เหมือนที่พัทยา ขายก๋วยเตี๋ยวไก่ชามละ 7 บาท ช่วงแรกขายได้เฉลี่ยวันละ
200 บาท ซึ่งไม่ได้ขายดีนัก แถมลาดพร้าวในตอนนั้นยังไม่มีตึกแถว รอบๆ ส่วนใหญ่ยังเป็นทุ่งนา
“มีอุปสรรคหลายด้าน แต่ร้านก็เปิดขายมาเรื่อยๆ
ผ่านมาได้ปีกว่า คิดว่าหากยังเป็นแบบนี้ต่อไปไม่ดีแน่ จึงมีแผนย้ายร้าน”
ย้ายไปลาดพร้าว 67 ตอนนี้เริ่มขายดีขึ้น ยอดขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นเป็น
2 พันบาท ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว ยอดขายช่วงนั้นดีทีเดียว จากวันละ 2
พันบาทขยายไปถึงวันละหมื่นบาท แนวคิดการขยายสาขาก็กลับมาวนเวียนในหัวของเขาอีกครั้ง
“ถ้าไม่อยากเหนื่อย ต้องขยายสาขาเยอะๆ ตั้งใจว่าจะต้องไปให้ถึง
25 สาขาให้ได้”
ความคิดของคุณชาญในตอนนั้น ต่อมาเขาก็เริ่มต้นสิ่งที่คิดไว้
โดยขยายร้านเป็น 4 สาขา คือ สาขาที่ลาดพร้าว รามอินทรา อิมพีเรียล และศรีนครินทร์
ตอนนี้เองที่เริ่มคิดถึงการจัดการทั้งในส่วนเรื่องคนที่จะมาทำทุกอย่างแทนเราในแต่ละสาขา
รวมทั้งการใช้วิธีการตรวจนับวัตถุดิบต่างๆ ที่กระจายส่งตามสาขา
คุณชาญ
บอกว่า เนื่องจากสาขาเพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญที่ต้องควบคุมต้นทุนภายในให้ได้ และมาตรฐานของแต่ละสาขาต้องเหมือนกันทุกร้าน
รวมถึงการจัดการด้านวัตถุดิบต่างๆ ให้สามารถตรวจนับได้
ซึ่งคุณชาญเองใช้วิธีการชั่งตวงวัตถุดิบในส่วนต่างๆ เพื่อทำให้ทุกอย่างสามารถนับปริมาณได้แน่นอน
แถมยังทำให้การจัดการแต่ละสาขาก็จะง่าย และสะดวกขึ้นด้วยที่สำคัญป้องกันการทุจริตจากบุคลากรภายในร้านได้ด้วย
เจอวิกฤต 40 ล้มครั้งแรก
ภาระหนี้สินที่ที่ใช้ขยายสาขา
กลับเป็นตรวนที่รัดเท้าแม่ศรีเรือนจนขยับลำบาก เพราะภายหลังเกิดวิกฤต
ค่าเงินบาทลอยตัว อัตราดอกเบี้ยขยับขึ้นเป็นร้อยละ 17.5 จำต้องขายทรัพย์สินเพื่อลดภาระหนี้และดอกเบี้ย
คุณชาญ
บอกว่า ตอนนั้นแม่ศรีเรือนมีหนี้อยู่ราว 20 ล้าน หลังจากเคลียร์ภาระหนี้สินจบในปี
2546 ก็เริ่มก่อตั้งเป็นรูปแบบบริษัทอย่างเป็นทางการ
และเดินหน้าขยายสาขาอีกครั้ง
โดยตอนนั้นมี 4 สาขา คือ ลาดพร้าว รามอินทรา
อิมพีเรียล และศรีนครินทร์ แต่จำเป็นต้องขายร้านทั้งหมดเพื่อลดภาระหนี้ ภายหลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มตั้งหลักได้
ประกอบกับวิกฤตครั้งนี้ดีมานด์ไม่ได้ลดลง ลูกค้าทั้งคนไทยและต่างชาติยังคงแวะเวียนมาที่ร้าน
เขามองว่าแม่ศรีเรือนเป็นร้านดัง ลูกค้าจึงเป็นกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางไปจนถึงสูง
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เคยไปร้านที่พัทยาก็รู้จัก ดังนั้นดีมานด์ไม่ได้ลดลงเยอะ
นี่จึงอีกสาเหตุหนึ่งทีทำให้แม่ศรีเรือนฟื้นจากวิกฤตต้มยำกุ้งได้เร็ว
ไข้หวัดนก นำโอกาสพัฒนาเมนูใหม่
จากวิกฤตค่าเงินบาทตอนต้มยำกุ้ง ต่อที่ปี
พ.ศ. 2547 ไข้หวัดนกระบาดทั่วโลก ผู้บริโภคหวาดกลัวในการกินไก่
ขณะที่ไก่เป็นวัตถุดิบหลักของเมนูร้านแม่ศรีเรือน
คุณชาญ
บอกว่า ตอนนั้นมีราว 10 สาขา แม่ศรีเรือนจึงได้ปรับเมนูไปขายก๋วยเตี๋ยวหมู ผัดไท
รวมถึงปรับเมนูอื่นๆ แทน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในช่วงที่คนหวาดกลัวการกินไก่
“หลังจบวิกฤต
แม่ศรีเรือนก็พัฒนาไปสู่ร้านอาหารที่มีเมนูหลากหลาย
ไม่ได้มีเพียงก๋วยเตี๋ยวไก่อีกต่อไป วิกฤตครั้งนี้ใช้เวลาเพียงปีกว่าก็ผ่านไปได้”
น้ำท่วม 2554 กับแนวคิด
‘ครัวกลาง’
ปี 2554 น้ำท่วมกรุงเทพฯ ครั้งใหญ่
ตอนนั้นสาขาหลายแห่งที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ
รอบนอกฝั่งตะวันออกได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ร้านแม่ศรีเรือนก็ต้องหยุดชั่วคราวไป 7
สาขา การลงทุนที่คิดจะสร้างโรงงานแห่งใหม่
เพื่อเตรียมขยายฐานการผลิตก็ต้องหยุดชะงักลงชั่วคราว
กำลังการซื้อของผู้บริโภคก็ลดลงไปกว่าครึ่ง คุณชาญ
บอกว่า สิ่งที่ทำได้คือประคับประคองธุรกิจ รอจนกว่าน้ำจะลดลง สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ตอนนี้เองที่เริ่มเห็นประโยชน์จากครัวกลางที่เขาทำมาสักระยะหนึ่งแล้ว
โดยตอนแม่ศรีเรือนขยายมาที่สาขาที่ 7 เขาเริ่มมองถึงอนาคต
เป็นสัญชาติญาณของคนทำธุรกิจ จึงคิดว่าต้องมี ‘ครัวกลาง’ เพื่อการเตรียมวัตถุดิบ
ซอส น้ำแกงแบบสำเร็จรูป และจัดส่งไปตามสาขาต่างๆ ไม่เพียงช่วยให้การจัดการวัตถุดิบแต่ละสาขาปรุงอาหารได้สะดวกขึ้น
แถมยังแก้ปัญหาในกรณีบางสาขาคนไม่พอได้อีกด้วย
Collab ‘โฮมโปร’
ขยายความอร่อยเจาะกลุ่ม Family
คุณชาญ บอกว่า สาขาของแม่ศรีเรือนในกรุงเทพฯ
ปัจจุบันมี 31 โดยส่วนใหญ่เน้นการขยายสาขาไปตามห้างสรรพสินค้า
ที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับ ‘โฮมโปร’
ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครอบครัว ส่วนร้านที่เป็น Stand
Alone อีก 3 สาขา
ก๋วยเตี๋ยวไก่แม่ศรีเรือนที่โฮมโปร
เน้นความสะดวก ใช้เวลาไม่นาน
ขณะที่โฮมโปรมีจุดแข็งที่มีทำเลสะดวกในเรื่องของที่จอดรถ อยู่ในย่านชุมชน
รวมทั้งกลุ่มลูกค้าที่มาก็เป็นกลุ่มเป้าหมายของแม่ศรีเรือนด้วยเช่นกัน
ถือเป็นการจับคู่ Collaboration ที่เข้ากันได้ดี
โควิด 19 ปรับธุรกิจสู่ New
Normal
“ธุรกิจก็เหมือนทอดแหหาปลา จะเหวี่ยงแหอยู่แต่ในที่เดิมๆ
ไม่ได้”
คุณชาญ
วิเคราะห์ว่า ถ้าผู้นำที่มีลักษณะนิสัยแบบ Proactive และ
Creator เขาจะคิดไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสำหรับแม่ศรีเรือน
การระบาดของโควิด 19 แม้โดยภาพรวมย่อมได้รับผมกระทบ
แต่ก็มีการปรับตัวเข้าสู่ตลาดออนไลน์ก่อนจะเกิดโควิด 2 ปี ด้วยสัญชาติญาณของคนทำธุรกิจ ทำให้มองสัญญาณบางอย่างที่จะต้องทำสิ่งใหม่
เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าและพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไปในอนาคต
ก่อนโควิด 19 ระบาด
แม่ศรีเรือนมียอดขายออนไลน์เพียงร้อยละ 2
ขณะที่ปัจจุบันยอดขายออนไลน์ขยับขึ้นถึงร้อยละ 30 เพียงพอให้ประคับประคองธุรกิจไปต่อได้
แต่ด้วยการที่เขามองว่าจะต้องมีการระบาดอีกหลายระลอก จึงทำให้มีการปรับแผนรองรับอีกแผนไว้แล้ว
Bring Go My Family ‘สำรับกับข้าวที่สอง...ของครอบครัวไทย’
จากแนวคิดพาทุกคนกลับมารับประทานข้าวที่บ้าน
‘Bring
Go My Family’ ต่อยอดไปสู่ใครๆ ก็ปรุงอร่อยได้ กลุ่มสินค้าพร้อมทาน
‘น้ำแกงไทยสำเร็จรูป’ ตอบโจทย์การทำอาหารที่ สะดวก อร่อย ง่ายๆ
สไตล์แม่ศรีเรือน อบอุ่นที่บ้านด้วยเสน่ห์ปลายจวัก
คุณชาญ
บอกว่า น้ำแกงไทยสำเร็จรูปนี้ไม่ได้เป็นโปรเจคใหม่เสียทีเดียว
เพราะเป็นน้ำแกงพร้อมปรุงที่ใช้ครัวกลางผลิต ส่งให้สาขาแม่ศรีเรือนมากว่า 15 ปี
อาทิ น้ำแกงส้ม, น้ำแกงเลียง,
แกงเขียวหวาน, น้ำแกงพะแนง ซึ่งมีหลากหลายมากสารพัดแกง
ที่ทำง่ายแค่ฉีกซอง โมเดลเก่าที่เอาต่อยอดสู่การจำหน่ายในลักษณะ B2B และ B2C โดยผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรด ห้างขายส่ง และช่องทางออนไลน์
เขาเปรียบว่า น้ำแกงไทยของแม่ศรีเรือนก็เหมือนสาวงาม
ก่อนนี้เก็บซ่อนไว้ ไม่ได้นำมาโชว์ แต่ตอนนี้เราอยากจะบอกว่าแม่ศรีเรือนมีสาวสวยหน้าร้านเต็มไปหมดเลย
โดยที่ผ่านมาได้มีการทำน้ำแกงไทยสำเร็จรูปแบบต่างๆ มากมาย ของดีที่วันนี้เราอยากนำมาให้ทุกคนได้รู้จัก
“แม่ศรีเรือนจะเป็นสำรับกับข้าวที่สองของครอบครัวไทย”
บันได 4 ขั้น ปั้นร้านอาหารโตยั่งยืน
จากประสบการณ์กว่าทำธุรกิจร้านอาหารมายาวนาน
ผ่านวิกฤตและบทเรียนมาหลายครั้ง ทำให้คุณชาญตกผลึกถึงการทำร้านอาหารให้อยู่รอดและยั่งยืนได้ด้วยหลักบันได
4 ขั้น คือ
1. นับได้
การจัดการภายในร้านไม่ให้เกิดการรั่วไหล ทั้งในส่วนการจัดหาวัตถุดิบ คุณภาพ
และการคำนวณต้นทุนรายจ่ายต่างๆ ซึ่งต้องนับปริมาณได้ยากมาก นี่จึงเป็นข้อจำกัดสำคัญที่จะทำให้ร้านอาหารไม่ประสบความสำเร็จ
เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายแฝงและต้นทุนที่เจ้าของร้านอาจไม่ทราบมากมาย จึงต้องจัดการระบบหลังบ้าน
สต็อกวัตถุดิบ การจัดหาซัพพลายเออร์เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
ที่สำคัญต้องมีวิธีการหรือเครื่องที่ทำให้สามารถนับปริมาณได้
2. รสชาติคงที
เหตุผลสำคัญที่แม่ศรีเรือนทำครัวกลาง เพื่อซัพพลายเครื่องปรุงหรือวัตถุดิบ
เครื่องปรุง น้ำแกง และซอสต่างๆ เพื่อให้สาขาการจัดการในครัว ‘ง่ายและใช้การได้’ แต่รสชาติไม่เปลี่ยน แถมยังตัดปัญหาเรื่องพนักงานในครัวลาออกบ่อยได้อีก
ด้วยความที่ง่ายและใช้การได้ ก็ไม่จำเป็นต้องจ้างแม่ครัวที่ฝีมือดีมากนักทำก็อร่อยได้
3. Lean
เมื่อร้านอาหารสามารถจัดการข้อ 1 และ 2 ได้ ทุกอย่างจะ ‘Lean’ โดยธรรมชาติ ร้านจะมีความคล่องตัว มีกำไร
จัดการทุกอย่างเป็นระบบร้านก็จะมีความยั่งยืนได้
“ลองให้คนอ้วนกับคนผอมวิ่งแข่งกัน ...คุณคิดว่าใครจะชนะ”
4. Brand Identity เมื่อร้านผ่านมาถึงจุดหนึ่ง ภาพจำของแบรนด์จะอยู่ในใจของผู้คน
ซึ่งแบรนด์ที่ดีจะเป็นแถมต่อทางธุรกิจ ซึ่งถ้าเราทำตั้งแต่ข้อ 1- 3
มาได้ก็จะเกิดเป็นแบรนด์ที่ลูกค้าจดจำได้
“เทคนิคง่ายๆ ถ้าคุณทำข้อ 1 และข้อ 2
ก็จะได้ข้อ 3 และข้อ 4ด้วย”
อาหารไทยสามารถเป็นส่วนหนึ่งของอาหารทั้งโลกได้
ด้วยการนำเครื่องแกงไทยให้สามารถปรุงได้ง่าย สะดวก และรสชาติอร่อย ขณะที่แม่ศรีเรือนมีแต้มต่อที่ดี
เป็นร้านอาหารที่มีวัฒนธรรมควบคู่กับสังคมไทยมากว่า 64 ปี
สำหรับภาพอนาคตของแม่ศรีเรือนจากนี้
คุณชาญบอกว่า คือการเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารอย่างเต็มตัว จะเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
และปัจจุบันกำลังต้องการแนวร่วมสานฝันอีกมาก ตั้งเป้าว่าใน 10 ปีจะต้องเกิดขึ้นจริง
รู้จักแม่ศรีเรือนได้ที่ :
https://www.facebook.com/Maesriruen