Medical & Health Tourism โอกาสท่องเที่ยวไทยหลังจบโควิด-19

SME in Focus
18/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 8563 คน
Medical & Health Tourism โอกาสท่องเที่ยวไทยหลังจบโควิด-19
banner

หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง ประเทศไทยสามารถเปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกเดินทางมาท่องเที่ยวได้ปกติ โดยสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่านักท่องเที่ยวกลุ่มแรกที่พร้อมออกเดินทางมาเที่ยวไทย คือกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ( Gen Y ) ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่วัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 23-40 ปี กลุ่มนี้มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบคิดนอกกรอบ ชอบนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่

ผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจะต้อง Transform หรือปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงภายใต้ “ความปกติใหม่” หรือ New Normal จากเดิมส่วนใหญ่นิยมเดินทางท่องเที่ยวเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดจากการทำงาน แต่จะหันมาท่องเที่ยวควบคู่กับ “การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหรือ “Medical Tourism

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ  จะกลายเป็นเทรนด์ใหม่มาแรงที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวให้พร้อมต้อนรับศักราชการท่องเที่ยวใหม่ ที่กลุ่มนักท่องเที่ยวคำนึงให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัยมากขึ้น โดยสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการนับจากนี้ คือข้อมูลสำคัญๆ ด้านความสะอาดและสุขอนามัยพื้นฐานของแต่ละประเทศ เพื่อช่วยให้เกิดความมั่นใจและลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคได้

โดยแนวโน้มการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่จะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เช่นเดิมนักท่องเที่ยวมักเดินทางออกมาเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ หรือกรุ๊ปทัวร์ แต่หลังจากนี้ไปการเดินทางท่องเที่ยวจะเปลี่ยนมาเป็นกรุ๊ปขนาดเล็กมากขึ้น หรือเดินทางด้วยตัวเองแบบอิสระ (Free Individual Traveler- หรือกลุ่ม FIT) ส่วนระยะการพำนักของนักท่องเที่ยวก็อาจปรับเปลี่ยน จากการพำนักในระยะยาวเป็นระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส

แต่กรุ๊ปทัวร์ขนาดเล็กท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กลับเป็นกลุ่มมีศักยภาพและมีมูลค่าทางการตลาดสูงมากกว่ามาเป็นกรุ๊ปทัวร์ขนาดใหญ่ จากข้อของ Global Wellness Institute ระบุว่านับตั้งแต่ปี 2015 ตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยมีมูลค่าพุ่งสูงถึง 200,000 ล้านบาท หรือมีอัตราการเติบโต 7% ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลัก 3 ประการ  คือ

1. การขยายตัวของชนชั้นกลางทั่วโลกที่มีระดับรายได้ที่สูงขึ้น ซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายด้านท่องเที่ยวมากขึ้นด้วย

2. ผู้บริโภคทั่วโลกหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพของตนเองมากขึ้น ซึ่งถูกกระตุ้นจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases, NCDs) และความเครียดจากการทำงาน

3. เทรนด์การท่องเที่ยวที่นิยมการสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ ในแหล่งท่องเที่ยวมากกว่าการท่องเที่ยวแบบดั้งเดิม ซึ่งสะท้อนเห็นถึงแนวโน้มนักท่องเที่ยวหันมาให้ความสำคัญกับตลาดท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะกลายเป็นตลาดหลักของธุรกิจท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเติบโตสูงถึง 16% ต่อปีนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป

 

ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบ่งออก 2 ประเภท

1. การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Tourism) : เป็นลักษณะเดินทางเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่ตัวเองชอบ แล้วจึงจัดสรรเวลาส่วนหนึ่งเพื่อมาทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างถูกวิธี ตามหลักวิชาการและมีมาตรฐาน เช่น การนวด/อบ/ประคบสมุนไพร การบริการสุวคนธบำบัด (Aroma Therapy) และวารีบำบัด (Water Therapy) การท่องเที่ยวในลักษณะนี้ช่วยส่งเสริมให้ร่างกายของนักท่องเที่ยวรู้สึกผ่อนคลาย ส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี เป็นการเพิ่มพูนพละกำลังให้สมบูรณ์แข็งแรง ปรับความสมดุลให้กับร่างกาย

2. การท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ (Heath Healing Tourism) : เป็นการเดินทางท่องเที่ยวโดยแบ่งเวลาส่วนหนึ่งในช่วงเที่ยวไปรับบริการบำบัดรักษาสุขภาพการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีคุณภาพมาตรฐาน เช่น การตรวจร่างกาย การรักษาโรคต่างๆ การทำฟัน และการรักษาสุขภาพฟัน การผ่าตัดเสริมความงาม การผ่าตัดแปลงเพศ ฯลฯ

การท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพจึงมุ่งประโยชน์ต่อการรักษาฟื้นฟูสุขภาพนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ หรืออาจจะเป็นการพักฟื้นหลังจากต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลนานๆ การที่ผู้ป่วยได้ทำกายภาพบำบัดหรือพักฟื้นในสถานที่ที่ไม่ใช่โรงพยาบาล แต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวท่ามกลางธรรมชาติที่มีอากาศที่บริสุทธิ์ ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพและสภาพจิตใจของผู้ป่วยอย่างเต็มที่

 

หลังจบโควิด จีนยังสนใจเที่ยวไทยอันดับ 1 เน้นเที่ยวอิสระ

จากผลสำรวจ The China Thailand Travel Sentiment จัดทำโดย C9 Hotelworks ได้สำรวจความคิดเห็นชาวจีนในช่วงกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา ภายหลังเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยพบว่า 71% นั้นยังอยากมาท่องเที่ยวไทย โดยกรุงเทพมหานครยังคงเป็นเมืองสำคัญที่ชาวจีนนิยมมาท่องเที่ยว ขณะที่จังหวัดปลายทาง คือ ภูเก็ต เชียงใหม่ เกาะสมุย และพัทยา

ผลสำรวจดังกล่าวยังสอบถามชาวจีนว่าในปี 2020 มีแผนออกต่างประเทศหรือไม่ 53% ให้ความเห็นว่าต้องการออกไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ และมุมมองของชาวจีนในผลสำรวจนี้ยังมองว่าโอกาสที่จะได้ออกมาท่องเที่ยว คือในช่วงเดือนตุลาคม รองลงมาคือเดือนธันวาคม

ขณะเดียวกันชาวจีน 83% ยังมีแผนที่ต้องการเที่ยวแบบอิสระ ไม่พึ่งพาบริษัทนำเที่ยว ซึ่งแตกต่างกับในช่วงที่ผ่านมามักจะเห็นชาวจีนส่วนใหญ่มากับบริษัทท่องเที่ยว และมาเป็นแบบกลุ่มใหญ่ๆ และอีก 72% ของผลสำรวจนั้นชื่นชอบการจองโรงแรมเองผ่านออนไลน์มากถึง 72% สำหรับช่องทางสำคัญในการจองที่พักต่างๆ ในไทยของชาวจีน คือ Ctrip รองลงมาคือ Fliggy และเว็บไซต์ของโรงแรมเอง

ด้านค่าใช้จ่ายต่อการท่องเที่ยว 1 ครั้งของชาวจีน 50% นั้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 หยวน หรือประมาณ 45,800 บาท รองลงมาอยู่ที่ 5,000 หยวน และผู้ที่ตอบแบบสำรวจครั้งนี้เป็นพนักงานบริษัทเกินกว่า 60% และอายุของผู้สำรวจส่วนใหญ่อยู่ที่ 20-40 ปี นักท่องเที่ยวชาวจีนถือเป็นนักท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้กับไทยมากที่สุด คิดเป็น 1 ใน 3 ของรายได้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งมีสัดส่วนเกือบๆ 12% ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ( GDP)


การฟื้นตัวอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอาจเป็นจุดเริ่มจากกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่สามารถดึงดูดต่างชาติมาท่องเที่ยวในเมืองไทย โดยใช้จุดแข็งเรื่องการแพทย์ที่ได้รับยกย่องไปทั่วโลก จากผลงานควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของสาธารณสุขไทยได้อย่างดีเยี่ยม 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


จัดประชุม – สัมมนาควรรู้ มาตรการป้องกันโควิด19 หลังรัฐคลายล็อก

4 ยุทธศาสตร์สู่ความมั่นคงด้านอาหาร


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
149 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
747 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
553 | 10/04/2024
Medical & Health Tourism โอกาสท่องเที่ยวไทยหลังจบโควิด-19