4 ยุทธศาสตร์สู่ความมั่นคงด้านอาหาร

SME in Focus
10/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4022 คน
4 ยุทธศาสตร์สู่ความมั่นคงด้านอาหาร
banner

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร หลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก (Local Economy) พร้อมยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารสู่อาหารอนาคต ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตแห่งอาเซียนและเป็น 1 ใน 10 ของประเทศผู้ส่งออกอาหารของโลกภายในปี 2570

สำหรับแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอคาดว่าจะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยเป็น 1.42 ล้านล้านบาท ก่อให้เกิดรายได้ในธุรกิจเกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้น 4.5 ล้านล้านบาท ครอบคลุมผู้ประกอบการในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกว่า 7.6 ล้านราย และก่อให้เกิดการลงทุนใหม่ในอุตสาหกรรมอาหารภายในประเทศกว่า 4.แสนล้านบาท

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


สาระสำคัญแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ประกอบด้วย 4 มาตรการ ดังนี้

1. มาตรการสร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (Food Warriors) : เป็นมาตรการสร้างผู้ประกอบการอาหารรุ่นใหม่ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ภาคการเกษตร ภาคการผลิต และภาคการตลาด เพื่อให้เป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างการเติบโตให้เศรษฐกิจไทย

โดยให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารอนาคต (Future Food) เช่น อาหารสุขภาพ (Healthy Food) ผลิตภัณฑ์อาหารจากเทคโนโลยีชีวภาพ (Food Biotechnology Products) และอาหารใหม่ (Novel Food) ซึ่งในส่วนนี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะบูรณาการร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และภาคเอกชนตั้งแต่ต้นน้ำ ยกระดับเกษตรกรให้ปลูกพืชเชิงอุตสาหกรรม นำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตให้ตรงความต้องการของห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมมีเครือข่ายบริษัทอาหารชั้นนำ (Global Player) และจะเชิญมาเป็นพี่เลี้ยง (Big Brother) ให้กับผู้ประกอบการ และ SMEs เพื่อบ่มเพาะแนวคิดธุรกิจและเทคโนโลยี เพื่อผลักดันผู้ประกอบการอาหารรุ่นใหม่ไปสู่เวทีโลก

2. มาตรการสร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต (Future Food Innovation) : เป็นมาตรการยกระดับนวัตกรรมอาหารอนาคตสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทย เช่น การพัฒนาศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมอาหาร (Food Industrial Transformation Center : FITC) เพื่อพัฒนาสินค้านวัตกรรมอาหาร การพัฒนาและสนับสนุนการใช้ Intelligence Packaging (บรรจุภัณฑ์ฉลาด) ที่สามารถแสดงข้อมูลระดับสินค้า (Grade) คุณภาพ และความปลอดภัยทางอาหารเพื่อใช้บรรจุอาหารสด 

การส่งเสริมให้มี Future Food Lab ในพื้นที่เมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยายที่อยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้ประกอบการ โดยในมาตรการนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะบูรณาการร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และภาคเอกชน

3. มาตรการสร้างโอกาสทางธุรกิจ (New Marketing Platform) : เป็นมาตรการเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์ม (Platform) ที่เหมาะสมกับผู้ผลิตทุกระดับให้อุตสาหกรรมอาหารไทยมีบทบาทในตลาดโลก โดยการเชื่อมโยงการค้าสู่สากล รวมถึงการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ และเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์อาหารกับการท่องเที่ยว เช่น การจัดกิจกรรม Food Expo ระดับโลกอย่างงาน THAIFEX 

การพัฒนา Big Data ฐานข้อมูล SMEs และเปิด SMEs One Portal หรือแหล่งรวม Knowledge & Service ให้ SMEs เข้าถึงบริการทั่วถึง ทุกที่ ทุกเวลา การพัฒนา Digital Value Chain เพื่อผลักดันผู้ประกอบการอาหารอนาคต สู่ Global Value Chain และเข้าสู่ระบบ E-commerce ที่มีอยู่แล้วเข้าสู่ตลาดโลก การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะ SMEs เพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งในภาพรวมของมาตรการนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะบูรณาการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

4. มาตรการสร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม (Enabling) : เป็นมาตรการสร้างปัจจัยเอื้อสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทย และลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ ที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 เช่น การส่งเสริมการสร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับอาหารในระดับต่างๆ การยกระดับ SMEs สู่มาตรฐาน (SMEs Standard) ที่เหมาะสม พร้อมสร้างระบบมาตรฐานเฉพาะ (มอก.S) 


การสร้างระบบมาตรฐานที่จะรองรับการพิสูจน์ (Identify) สารสกัดชนิดใหม่ของไทยจากสมุนไพรหรืออาหารให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับสากล เป็นต้น ซึ่งการขับเคลื่อนมาตรการนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นขับเคลื่อนหลัก และจะดำเนินการควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความโปร่งใส สุจริต ยุติธรรม รับผิดชอบต่อสาธารณะ และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการพัฒนาประเทศ

ในสถานการณ์ที่ทั้งภายในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกประสบปัญหากับโรคระบาด COVID-19 ส่งผลให้เกิดความต้องการอาหารทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคและทิศทางของโลก เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยต่อไป 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


COVID-19 ติดมากับโอกาส ‘สินค้าเกษตรไทย’

เปิดตลาดสินค้าฮาลาล UAE ไม่ยากอย่างที่คิด



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

A.I. TECHNOLOGY เพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วย Automation & Robotics สู่ Smart Factory 4.0

A.I. TECHNOLOGY เพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วย Automation & Robotics สู่ Smart Factory 4.0

ปัจจุบัน มีบริษัทจำนวนไม่น้อยที่ให้บริการเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Automation & Robotics ไม่ว่าจะเป็นการทำ System Analysis (SA) เพื่อพัฒนา และตรวจสอบหา…
pin
24 | 23/03/2023
‘Coral Hotel Bangsaphan’ ฝ่าวิกฤตโควิด 19 ด้วย Passion ธุรกิจโรงแรม คือ ‘ความสุข’

‘Coral Hotel Bangsaphan’ ฝ่าวิกฤตโควิด 19 ด้วย Passion ธุรกิจโรงแรม คือ ‘ความสุข’

ปักหมุดจุด Check in ใหม่ สไตล์ ไทยล้านนา กับ ‘Coral Hotel Bangsaphan’ ที่ตั้งอยู่ติดชายหาดและทะเลอ่าวไทยที่กว้างใหญ่ ภายในโรงแรมถูกโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติอันร่มรื่นและสวยงาม…
pin
109 | 22/03/2023
เปิดโมเดลธุรกิจ ESG กับ "คุณกร สุริยพันธุ์" ผู้บริหาร บจก. เทพไทย โปรดัคท์ ยกระดับสมุนไพรไทยสู่ธุรกิจพันล้าน

เปิดโมเดลธุรกิจ ESG กับ "คุณกร สุริยพันธุ์" ผู้บริหาร บจก. เทพไทย โปรดัคท์ ยกระดับสมุนไพรไทยสู่ธุรกิจพันล้าน

มองเป็น เห็นโอกาส Bangkok Bank SME ได้รับเกียรติสัมภาษณ์ “คุณกร สุริยพันธุ์” ผู้บริหารบริษัท เทพไทย โปรดัคท์ จำกัด แบรนด์ยาสีฟันของคนไทย…
pin
507 | 10/03/2023
4 ยุทธศาสตร์สู่ความมั่นคงด้านอาหาร