4 ประเทศอาเซียนกับการเป็น MRO ของโลก

SME in Focus
22/07/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 6572 คน
4 ประเทศอาเซียนกับการเป็น MRO ของโลก
banner

ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมการบินถือเป็นกล่องหัวใจสำคัญของบรรดาชาติอาเซียนต่างก็ออกมาประกาศตัวเร่งผลักดันเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยานเบอร์ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นเดียวกับประเทศไทยก็ออกมาประกาศตัวจะผลักดันให้กลายเป็นศูนย์กลางซ่อมบำรุงอากาศยานสำคัญของอาเซียนและของโลก พร้อมจะโค่นล้ม สิงคโปร์” มหาอำนาจศูนย์กลางซ่อมบำรุงอากาศยานในภูมิภาคนี้

ซึ่งประเทศสิงคโปร์เองก็ยอมรับว่ามีหลายประเทศภูมิภาคเดียวกันพร้อมที่จะล้มแชมป์เก่าอย่างสิงคโปร์ ซึ่งไม่เพียงแค่ไทยเท่านั้นยังมี มาเลเชียและอินโดนีเซีย ที่พร้อมจะเข้ามีส่วนร่วมแบ่งเค้กก้อนโต ซึ่งสิงคโปร์ได้เปรียบคู่แข่งคือการให้บริการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานครบวงจร (Maintenance Repair and Overhaul: MRO) ทั้งแบบ มาเนจเม้นทร์, รีแพร์ และโอเวอร์ฮอล ซึ่งความท้าทายดังกล่าวทางการสิงคโปร์จะจัดการรับมือชาติคู่แข่งที่กำลังรุกคืบจรดปลายจมูกอย่างไร

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


ขณะที่ MRO ของชาติอาเซียนมีมูลค่ามากกว่า 6570 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ประมาณ 2.2 แสนหมื่นล้านบาท โดยประเทศสิงคโปร์ยังคงเป็นเจ้าตลาดครองส่วนแบ่งตลาดทั้งหมดอยู่ที่ 25% และโครงการที่จะขยายต่อไปคือรุกธุรกิจเข้าสู่ตลาดใน Supply chain ครอบคลุมทุกมิติเพราะตลาดนี้กำลังมีอัตราการขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าตลาดด้านการให้บริการฝูงบินในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอีก 2 เท่าตัวภายในอีก 20 ปีข้างหน้า จากทุกวันนี้มีฝูงบินจำนวน 6,100 ลำ อนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่า 1,7000 ลำ ผลพวงจากเศรษฐกิจเติบโตไม่หยุดและคนรุ่นใหม่นิยมออกเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น

อาเซียน ศูนย์การการซ่องบำรุงอุตสาหกรรมการบิน

ขณะที่บริษัทแอร์บัส ประเมินว่ามูลค่าของภาคส่วนการซ่อมบำรุงอากาศยานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีมูลค่าพุ่งสูงขึ้นประมาณ 64,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนที่มีฝูงบินใหญ่ของสายการบินแห่งชาติให้บริการในอาเซียนเพิ่มไม่หยุด เช่น อินโดนีเซีย มีจำนวน 141 ลำ สิงคโปร์ แอร์ไลน์ มีจำนวน 111 ลำ การบินไทย มี 89 ลำ มาเลเซียมีจำนวน 72 ลำ ฟิลิปินส์ แอร์ไลน์ 55 ลำ และ เวียดนาม แอร์ไลน์ มีจำนวน  87 ลำ

ส่วนฝูงบินของสายการบินต้นทุนต่ำในภูมิภาคอาเซียน มีจำนวนฝูงบินมากกว่าฝูงบินใหญ่ที่กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือด ได้แก่ แอร์เอเชีย มีฝูงบินมากที่สุดจำนวน 204 ลำ รองลงมาเป็น เจ็ตสตาร์ จำนวน  71 ลำ, เวียดเจ็ต แอร์ จำนวน 54 ลำ ,ไลอ้อนแอร์ จำนวน 116 ลำ ,เซบู แปซิฟิกจำนวน 62 ลำ ,สคู้ต จำนวน 42 ลำ และไทยสไมล์ จำนวน 20 ลำ

อย่างไรก็ตามแผนการดำเนินงานของสิงคโปร์ ที่ต้องการรักษาแชมป์ศูนย์กลางซ่อมบำรุงอากาศยานแห่งภูมิภาคนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียแล้ว เพราะประเทศไทยเองได้ออกมาประกาศอย่างชัดเจนจะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางซ่อมอากาศยานแห่งภูมิภาคอาเซียนและของโลกให้จงได้ โดยมีแผนการที่ชัดเจน โดยการบินไทยมีแผนร่วมมือกับบริษัทแอร์บัส ผลักดันให้เปิดศูนย์ซ่อมบำรุงอากาสยานที่อู่ตะเภา เป็นศูนย์กลางธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยาน MRO ระดับโลก


ใคร ? จัดจ้านสุดในย่านอาเซียน

การที่จะผลักดันให้อู่ตะเภาเป็นฮับซ่อมบำรุงอากาศยานระดับโลกถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย เพราะเมื่อดูคู่แข่งสำคัญของไทย คือ บริษัท ซ่อมบำรุงการบิน “การูดา” ของอินโดนีเซีย ที่ได้ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ มูลค่า 95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ 3,200 ล้านบาท) เป้าหมายเพื่อพัฒนาธุรกิจส่วนนี้ให้เติบโตและแข่งขันคู่แข่งได้

นอกจากนี้ยังมีแผนการเพิ่มทุนอีก 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ 6,600 ล้านบาท ) จากหุ้นส่วนของแอร์ฟรานซ์ มาเป็นพันธมิตรร่วมทุน โดยใช้ฐานที่มั่นเมือง “บาตัม” ทางตอนใต้ของอินโดนีเซียน ซึ่งอยู่ห่างจากประเทศสิงคโปร์ ประมาณ 31 กิโลเมตร หวังผลักดันเป็นศูนย์กลางซ่อมบำรุงอากาศยานระดับโลกเช่นกัน

ขณะเดียวกันอินโดนีเซียยังคงเดินหน้าธุรกิจศูนย์กลางซ่อมบำรุงอากาศยานอย่างจริงจัง โดยมีเป้าหมายสำคัญคือจะเรียกลูกค้าสัญชาติอินโดนีเซียที่มีฝูงบินขนาดใหญ่ให้กลับมาใช้บริการซ่อมบำรุงกับ การูดา อินโดนีเซีย อีกครั้ง หลังจากหันไปใช้บริการที่อื่น พร้อมกับตั้งเป้าให้อินโดนีเซียสยายปีกขึ้นเป็น Top 10 ในธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยาน MRO จากปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 13 ของโลก โดยใช้แผนการย้ายศูนย์ซ่อมบำรุงมาไปอยู่ที่ เมืองบาตัน”ใกล้ๆสิงคโปร์ เป็นยุทธศาสตร์เด็ดที่จะสามารถแข่งขันกับสิงคโปร์ได้ และไม่น่าจะยากเย็นนัก เพราะ อินโดเนียเซีย ได้เปรียบตรงที่ค่าจ้างแรงงานถูกกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งสิงคโปร์ ซึ่งศูนย์ฯใหม่นี้จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการภายใน  2019

ด้านมาเลเซีย แอร์ไลน์ เปิดปฎิบัติการเร่งฉีกหนีคู่แข่งเพื่อความอยู่รอด โดยปลายปี 2560 ที่ผ่านมาได้รับอนุญาตในการดัดแปลงตกแต่งโครงสร้างเครื่องบินและซ่อมบำรุงอากาศยานจากหุ้นส่วนที่ทำสัญญารับงานด้วนกัน 18  เดือนและบริษัทแอร์บัสของฝรั่งเศสก็เข้าไปถือหุ้นบริษัทซ่อมบำรุงอากาศยานของมาเลเซียน หรือ มาเลเซีย เซปัง แอร์คราฟท์ เอ็นจิเนียร์ริ่ง จำนวนร้อยละ 60 ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยมีเป้าหมายซ่อมบำรุงแอร์บัส รุ่น A230 ซึ่งใช้กับสารการบินต่ำทั่วอาเซียนและมีสายการบินอยู่ในย่านนี้หลายร้อยลำเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบคู่แข่งอาเซียน

แต่จ้าวตลาดแห่งอาเซียน อย่าง สิงคโปร์ แอร์ไลน์ เอ็นจิเนียร์ริ่ง” ที่มีประสบการณ์แวดวงธุรกิจย่านนี้เป็นอย่างดี เมื่อคู่แข่งขยับจึงแก้เกมด้านบริหารจัดการต้นทุนต่ำไปจับมือกับสายการบินเซบู แห่งฟิลิปปินส์ ใช้ฐานที่บัญชาการที่กรุงมะนิลา เป็นศูนย์กลางซ่อมบำรุงเครื่องบินอากาศยานต้นทุนต่ำ แม้ว่าได้ประโยชน์จากค่าแรงถูกลง แต่เสียเปรียบตรงเรื่องสถานที่เพราะตั้งออกไปไกลจากคู่แข่งอาเซียน เป็นระยะการบินกว่า 3 ชั่วโมง แม้ว่าทุกวันนี้ลูกค้าในฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ยังใช้บริการอยู่แต่เมื่อเทียบกับความสะดวกสบายย่อมเสียเปรียบคู่แข่งอยูดี

ที่สำคัญอินโดนีเซียยังต้องเจอกับคู่แข่งสำคัญจากสิงคโปร์อีก 1 ราย คือ สิงคโปร์ เทคโนโลยี เอ็นจิเนียร์ริ่ง ยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจเอ็มอาร์โอที่ใหญ่ในโลกและฐานธุรกิจขนาดใหญ่อยู่ในกวางโจ ประเทศจีน ซึ่งเป็นจ้าวตลาดพรีเมี่ยมเน้นการวิจัยพัฒนาระดับสูงในธุรกิจการบินและอาวกาศ ซึ่งมีหุ้นส่วนรายใหญ่อีกราย คือ ผู้ผลิตอากาศยานโลกรายใหญ่บริษัทโรลลอยซ์ โฮลดิ่ง ซึ่งล่าสุดได้เพิ่มทุนอีกมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านบาท เพื่อพัฒนา 3D พริ้นติ้ง และโรบ็อตติก โซลูชั่น เพื่อใช้ทำธุรกิจซ่อมบำรุงยานอาวกาศ

ตลาดศูนย์กลางซ่อมบำรุงอากาศยาน หรือ MRO ของโลก เป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มชาติอยู่อาเซียนด้วยกัน และกำลังแข่งขันกันอย่างรุนแรงระหว่า สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่ชาติใหนจะก้าวผู้นำแห่งฮับซ่อมบำรุงอากาศยานเหนือกว่าสิงคโปร์ อยู่ที่วิสัยทัศน์ของแต่ละประเทศ แต่หากไทยจะก้าวขึ้นเบอร์หนึ่งเหนือคู่แข่งอย่างสิงคโปร์หรือชาติคู่แข่งด้วยกันไม่ยาก แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญของไทย คือ บุคลากรยังขาดความเชี่ยวชาญด้านอาชีพอากาศยาน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ไทยต้องเร่งเครื่องพัฒนาบุคลากรดังกล่าวเพื่อฉีกหนีเหนือคู่แข่ง


ปั้น EEC ศูนย์กลางซ่อมอากาศยานโลก

แม้ว่าโครงการศูนย์ซ่อมบำรุ่งอากาศยานอู่ตะเภา(MRO) ในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ขับเคลื่อนล่าช้าเพราะการบินไทยต้องรอนโยบายจากรัฐบาลชุดใหม่แต่โครงการนี้ไม่ล้มเลิกโครงการลงทุนอย่างแน่นอนเพราะที่ผ่านมารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบ นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่(ดีดี)บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน)อยู่ระหว่างหารือรายละอดียร่วมทุนกับบริษัทแอร์บัส แต่ยืนยันว่าโครงการเอ็มอาร์โอนั้นมีความจำเป็นต่อประเทศไทยซึ่งการพัฒนาจะล่าช้าออกไปบ้าง แต่ก็ต้องทำด้วยความรอบคอบแต่ต้องบรรลุเป้าหมายทั้งหมดไม่เกินปีนี้

MRO ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบันที่สนามบินอู่ตะเภา ตามแผนก็จะต้องรื้อและต้องย้ายไปพื้นที่ใหม่ ทำให้ตอนนี้การบินไทยต้องเร่งกระบวนการเจรจากับพันธมิตรร่วมทุน แต่ทั้งหมดก็ไม่ได้อยู่ที่การบินไทยฝ่ายเดียว อยู่ที่คู่เจรจาด้วย หากแอร์บัสพร้อมลงนามเมื่อไหร่ก็สามารถเริ่มทำได้ทันที แต่หากล่าช้า เอ็มอาร์โอ ที่เปิดอยู่ก็ต้องถถูกรื้อ ดังนั้นไทยเดือดร้อนแน่นอนเพราะต้องเจรจากับกลุ่มพันธุมิตรรายอื่อนแทน"นายสุเมธ กล่าว

กลุ่มยักษ์ใหญ่ชาติอาเซียนต่างปักธงเป็นรูปธรรมเดินหน้าขับเคลื่อนชัดเจนในการผลักดันศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานก้าวสู่ระดับโลกใช้ความได้เปรียบทั้งทางยุทธศาสตร์ภูมิประเทศและแผนการตลาดที่แยบยลเพื่อสร้างมาตรฐานการให้บริการระดับโลก ยกเว้นประเทศไทยที่อยู่ในช่วงตั้งไข่ทำให้ต้องรอลุ้นว่าจะขับเคลื่อนศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานก้าวสู่อันดับ 1 ของอาเซียนและระดับโลกเมื่อไหร่ 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
151 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
254 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
874 | 17/04/2024
4 ประเทศอาเซียนกับการเป็น MRO ของโลก