นวัตกรรม Novel Food เทรนด์อาหารโลกยั่งยืน

SME in Focus
23/01/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 6541 คน
นวัตกรรม Novel Food เทรนด์อาหารโลกยั่งยืน
banner

Novel Food หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า อาหารใหม่ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักและยอมรับในสังคมโลกมากขึ้น โดยเฉพาะในสหภาพยุโรป (อียู) ได้ปรับปรุงกฎระเบียบอาหารใหม่ในปี 2561 เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร และทำให้ผู้ประกอบการนำสินค้าหลากหลายและแปลกใหม่เข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น ทำให้ที่ผ่านมา หน่วยงานความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) ได้รับคำขอขึ้นทะเบียนอาหารที่ผลิตขึ้นด้วยนวัตกรรมใหม่ (Novel foods) เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการขอขึ้นทะเบียนกว่า 160 คำขอ ยกตัวอย่างคำขอขึ้นทะเบียน Novel food อาทิเช่น หนอนอบแห้ง (mealworms) สำหรับทำขนมปัง บิสกิต พาสต้า หรือซีเรียล ไปจนถึงการเพาะเลี้ยงเซลล์แอปเปิ้ล (apple cell cultures) และโปรตีนจากถั่วเขียว (mung bean proteins)  อย่างไรก็ตามมีคำขอถูกปฏิเสธ เนื่องจากอาจไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เช่น ไข่ที่มีตัวอ่อน (embryonic) ซึ่งอียูต้องตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานอย่างรอบคอบก่อนอนุญาตให้นำออกสู่ตลาด

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ เห็ด/รา (funghi) หรือสาหร่าย (algae) อาหารที่มีส่วนประกอบของเชื้อจุลินทรีย์ (microorganisms) หรืออาหารที่มีโครงสร้างโมเลกุลใหม่อื่นๆ (modified molecular structures) ที่น่าจับตามอง ได้แก่ ผงเห็ดที่เสริมด้วยวิตามิน D2 และมิราเคิลเบอร์รี่อบแห้ง (Dried miracle berries) ซึ่งเป็นผลไม้จากแอฟริกาตะวันตกที่สามารถเปลี่ยนรสเปรี้ยวให้เป็นหวาน โดยคำขอที่ได้รับส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากผู้ผลิตอาหารภายในยุโรปแต่เพียงที่เดียว แต่ยังรวมถึงอเมริกาและทวีปเอเชีย ด้วย เช่น สารสกัดจากพืชที่ใช้ในการแพทย์ทางเลือก (substances used in alternative medicines) เป็นต้น

โดย EU Novel food Regulation 2015/2283 ได้ปรับลดขั้นตอนของกระบวนการขออนุญาต โดยรวมศูนย์การพิจารณาคำร้องขึ้นทะเบียนอาหารใหม่ เป็นของสหภาพยุโรปทั้งหมด รวมทั้งจำกัดระยะเวลาการพิจารณาในแต่ละขั้นตอนที่กระชับมากขึ้น โดยใช้เวลาการขึ้นทะเบียนประมาณ 18 เดือน สำหรับอาหารใหม่ทั่วไป และประมาณ 5-11 เดือน สำหรับอาหารพื้นบ้าน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกฎระเบียบเดิม ที่ต้องใช้เวลาเฉลี่ย 3.8 ปี ในการขึ้นทะเบียนอาหารใหม่ทุกประเภท อันใหม่นี้ถือว่าเร็วมาก

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่ต้องการนำผลิตภัณฑ์อาหารใหม่มาวางจำหน่ายในสหภาพยุโรป จะต้องขึ้นทะเบียนบัญชีรายชื่ออาหารใหม่กับคณะกรรมธิการยุโรป หรือ EC ก่อน โดยต้องเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ให้ครบตาม Commission Recommendation 97/618/EC ซึ่งได้แก่

1. ชื่อ และที่อยู่ของผู้สมัคร

2. ชื่อ และคำอธิบายของผลิตภัณฑ์อาหารใหม่

3. คำอธิบายวิธีการผลิต

4. ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่

5. หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค

6. คำแนะนำสำหรับการบริโภคผลิตภัณฑ์และติดฉลากผลิตภัณฑ์เฉพาะให้ชัดเจน ซึ่งจะไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารที่มีแมลงเป็นส่วนประกอบ ได้เริ่มวางจำหน่ายในยุโรปที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560

 

คำนิยาม Novel Food

EU

นิยาม : อาหารเพื่อการบริโภคของมนุษย์ ที่ไม่เคยมีการบริโภคในสหภาพยุโรปก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 (ค.ศ. 1997) ได้แก่

1. อาหารที่สกัด/พัฒนาด้วยนวัตกรรมใหม่

2. อาหารที่ผลิตจากแหล่งโภชนาการใหม่

3. อาหารที่ผลิตจากกรรมวิธีรูปแบบใหม่

4. อาหารแบบดั้งเดิมที่มีการบริโภคโดยทั่วไปนอกกลุ่ม EU


Australia

นิยาม : อาหารที่ไม่ใช่อาหารท้องถิ่น (Non-traditional food) ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาให้ประเมินด้านสาธารณสุขและความปลอดภัย ดังนี้

1. ความเป็นไปได้ในการเกิดผลข้างเคียงต่อมนุษย์ (potential for adverse effects in humans)

2. ส่วนประกอบหรือโครงสร้างของอาหาร (composition or structure of the food)

3. กระบวนการในการเตรียมอาหาร (process by which the food has been prepared)

4. แหล่งที่มา (source from which it is derived)

5. รูปแบบและปริมาณการบริโภค (patterns and levels of consumption of the food)

6. ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

 

United Stated

ข้อกำหนดสารที่ไม่เข้าข่ายในกลุ่ม GRAS (Generally Recognized As Safe) ภายใต้ Code of Federal Regulations Title 21

 

Thailand

โดยปัจจุบันไทยก็มีการรับรอง Novel Food เช่นกัน ภายใต้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 376) พ.ศ. 2559 เรื่อง อาหารใหม่ (Novel food) ที่กำหนดให้อาหารใหม่ที่เป็นไปตามนิยามที่กำหนดไว้  3 ข้อ ดังนี้

1. อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการว่ามีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่า 15 ปี

2. อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้นๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร รูปแบบของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์

3. ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุตามข้อ 1) และ ข้อ 2) เป็นส่วนประกอบ

 

ในปัจจุบันกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภคทั่วโลก รวมถึงในทวีปยุโรป บวกกับการคำนึงถึงเรื่องของความยั่งยืนและสวัสดิภาพของสัตว์ ส่งผลให้อาหารที่มีส่วนประกอบหรือทำจากพืชยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง คนจำนวนไม่น้อยหันมาเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น

ในขณะที่บางประเทศก็หันมาใช้พืชเป็นส่วนประกอบในอาหารเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาจจะเป็นการใช้เพื่อทดแทนเนื้อสัตว์ทั้งหมด อาทิ ใบโสม สารสกัดใบผักบุ้ง หรือเป็นการผสมผสานกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่น เช่น เบอร์เกอร์ที่ทำจากแมลง ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทย ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มลู่ทางการค้าในตลาดอียูต่อไป

Novel Food ในประเทศไทย

ตัวอย่างที่ชัดเจนใกล้ตัวเราในเรื่องการผลิต Novel Food คือ แมลง, รถด่วน (หนอน), ตั๊กแตน, จิ้งหรีด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่าแมลงมีประโยชน์หลายด้าน เช่น มีโปรตีนสูง ใกล้เคียงกับโปรตีนที่ได้จากไข่ไก่ 1 ฟอง หรือหมูบด เนื้อไก่ 100 กรัม แต่ยังไม่มีนวัตกรรมที่เป็นในแง่ของการพัฒนาในเชิงวิทยาศาสตร์มากนัก

นอกจากนี้ก็มีตัวอย่างเช่น เค้กจากแป้งข้าวจ้าว ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ เพราะปกติเค้กจะทำจากแป้งสาลี ยิ่งตอนนี้เกษตรกรบ้านเราหันมาปลูกข้าวออร์แกนิกกันมากขึ้น หากมาแปรูปเป็นแป้งเพื่อใช้สำหรับทำเค้ก ยิ่งจะตอบโจทก์ลูกค้าได้ตรงความต้องการ หรืออย่างสินค้าประเภทน้ำพริกกะปิผง ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อความสะดวก หรือส้มตำอบแห้งสำหรับคนไกลบ้าน พวกนี้ก็ถือเป็นอาหารใหม่ได้เช่นกัน

 

ขอขึ้นทะเบียนเป็นอาหารใหม่ทำไรอย่างไร

1. ต้องประเมินความปลอดภัยก่อนและต้องส่งมอบฉลากให้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อนุมัติก่อนนำไปใช้ โดยการประเมินความปลอดภัยนั้นต้องยื่นผลการประเมิน ความปลอดภัยจากหน่วยงานประเมินความปลอดภัยที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ และหลักฐานอื่นตามบัญชีแนบท้ายของประกาศฯ ดังกล่าว

2. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับเลขสารบบอาหาร พ.ศ.2557 กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร จดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของอาหาร เพื่อให้ได้เลขสาระบบอาหารต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานตามที่กำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกสารหลักฐานเพื่อพิสูจน์คุณภาพมาตรฐานความปลอดภัย และความเหมาะสมทางโภชนาการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร

ดังนั้นผู้ใดประสงค์จะผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือขอเลขสารบบอาหารสำหรับอาหารใหม่ (Novel food) หรืออาหารที่ยังไม่ได้กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน หรือมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ และความปลอดภัยของผู้บริโภค ต้องยื่นขอประเมินความปลอดภัยอาหาร ตามที่กำหนดไว้ในคู่มือประชาชนฉบับนี้ เพื่อการพิจารณาความปลอดภัย และใช้เป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานประกอบการขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ ต่อไป

3. อาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่ต้องขอประเมินความปลอดภัย

 

อาหารที่ไม่เข้าข่ายอาหารใหม่ (Novel food)

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 376) พ.ศ. 2559 เรื่องอาหารใหม่ (Novel food) ซึ่งหมายถึง อาหารที่นอกเหนือจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายังไม่เคยอนุญาต และอาหารที่มีคุณภาพหรือมาตรฐานแตกต่างจากที่เคยได้รับอนุญาตแล้ว ทั้งนี้รวมถึงการเพิ่มขนาดรับประทาน หรือเพิ่มประเภทอาหารอื่นที่นอกเหนือจากอนุญาตไว้ ซึ่งส่งผลต่อปริมาณการบริโภคหรือคุณค่าทางโภชนาการ หรือความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้การประเมินความปลอดภัยอาหารตามคู่มือฉบับนี้ ไม่รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร (Food additives) วัตถุแต่งกลิ่นรสอาหาร (Flavorings agent) และอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม (GMOs)

โดยเอกสารและหลักฐานประกอบการขอประเมินความปลอดภัยจะต้องมีความน่าเชื่อถือ โดยต้องมีความ ชัดเจน บ่งบอกคุณลักษณะของสารสำคัญที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าว และควรมีหลักการหรือทฤษฎีที่ใช้ ซึ่งสามารถอธิบายผลการศึกษาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และชัดเจน เป็นข้อมูลที่มีการรับรองจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ

ทั้งขั้นตอนในการยื่นคำขออาหารใหม่ อาจจะต้องใช้เวลาตั้งแต่ยื่นเอกสารจนถึงขั้นพิจารณาอาจต้องใช้เวลามากกว่า 280 วัน ขึ้นอยู่กับความเรียบร้อยของเอกสารที่คณะกรรมการพิจารณาด้านต่างๆ ด้วย

สำหรับอาหารใหม่ เช่น การบริโภคแมลง เห็ดรา หรือสาหร่ายบางประเภท อาจไม่ใช่เรื่องใหม่เท่าไหร่นักในประเทศไทย แถมเรียกว่ายังมีการบริโภคกันในวงกว้างเสียด้วย แต่ในบางประเทศแม้จะมีพฤติกรรมการบริโภคสิ่งเหล่านี้เช่นกัน แต่อาจยังจำกัดในเฉพาะบางกลุ่ม และยังขาดความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัย ด้วยเหตุนี้เองการขึ้นทะเบียนอาหารใหม่ในหลายๆ ประเทศ จึงมีมาตรการที่แตกต่างกัน ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการจะเจาะตลาดในกลุ่มประเทศใด ควรมีการศึกษาระเบียบการเหล่านี้อย่างถี่ถ้วยด้วย

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า Novel Food กับมิติด้านความยั่งยืนของอาหารสอดคล้องกันอย่างไร แต่หากมองภาพการบริโภคแมลงทดแทนโปรตีนในรูปแบบปกติ ที่สังคมโลกมองว่าในการทำปศุสัตว์เป็นต้นเหตุอันดับสองในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ รองจากภาคอุตสาหกรรม และปัจจุบันแมลงยังสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย ต้นทุนต่ำ และปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ น้อยกว่าปศุสัตว์ในรูปแบบปกติ แถมยังสามารถเพาะเลี้ยงไปเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย สิ่งเหล่านี้จึงสอดรับกับเมกะเทรนด์ด้านอาหารยั่งยืน

ขณะที่อาหารใหม่อื่นๆ ที่อาจเป็นอาหารประเภท ซูเปอร์ฟู้ด คือให้คุณค่าทางโภชนาการสูงผลิตได้คราวละมากๆ และต้นทุนน้อย เช่น สาหร่าย เห็ดรา วัตถุดิบท้องถิ่นต่างๆ จะเป็นโอกาสในตลาดนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งประเทศไทยมีพื้นฐานด้านชีวภาพที่มีความหลากหลาย ก็มีโอกาสในการพัฒนาต่อยอดในด้านนี้ได้อีกมาก

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.fda.moph.go.th/

https://politi.co/

 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
305 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1148 | 01/04/2024
ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
1522 | 25/03/2024
นวัตกรรม Novel Food เทรนด์อาหารโลกยั่งยืน