ผู้ค้าตลาดนัด-ออนไลน์ รู้ไหม..ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง?

SME Update
04/03/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 27921 คน
ผู้ค้าตลาดนัด-ออนไลน์ รู้ไหม..ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง?
banner

‘อาชีพขายของออนไลน์ - ตลาดนัด’ ช่วยสร้างรายได้งาม ไม่ต้องลาออกจากงานประจำก็ทำได้ อาชีพนี้จึงกลายเป็นแหล่งรายได้ยอดนิยม เมื่อมีรายได้หน้าที่สำคัญตามมาก็คือ ‘การเสียภาษี’ ซึ่งปีนี้กรมสรรพากรเริ่มเอาจริงเอาจังกับพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลายที่มีรายได้แต่ไม่ยื่นภาษีให้ถูกต้อง ดังนั้นมาดูกันว่าสิ่งจำเป็นต้องรู้สำหรับพ่อค้า-แม่ค้าตลาดนัดหรือขายของออนไลน์เกี่ยวกับการเสียภาษีมีอะไรบ้าง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ขายของออนไลน์-ตลาดนัดต้องเสียภาษีแบบไหน?

หากไม่ได้มีการเปิดหรือจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท จะถือเป็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้จากการค้าขาย และช่วงเวลาที่พ่อค้าแม่ค้าต้องยื่นภาษีจะมีอยู่ 2 ช่วงคือ

- ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา

- ยื่นภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือนกรกฏาคม-กันยายน เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่ค่าลดหย่อนบางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวจะลดลงจาก 30,000 บาท เหลือ 15,000 บาท

 

ขายของตลาดนัด-ออนไลน์เสียภาษีเงินได้อย่างไร รายได้เท่าไหร่ถึงเสียภาษี?

(ตัวอย่าง ค่าใช้จ่ายเหมา 60% และมีเฉพาะค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท)

- มีรายได้ทั้งปีเกิน 60,000 บาท ถึง 525,049 บาท ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ แต่ไม่มีภาษีต้องเสีย

- มีรายได้ทั้งปี 525,050 บาทขึ้นไป ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ และต้องเสียภาษี เริ่มต้น 1 บาท

- มีรายได้ทั้งปี 1,000,001 บาท ต้องเสียภาษี 11,500 บาท

- มีรายได้ทั้งปี 2,000,000 บาท ต้องเสียภาษี 63,500 บาท

อย่างไรก็ตาม หากมีเอกสารค่าใช้จ่ายจริง เช่น ค่าวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต ต้นทุนสินค้า ค่าขนส่ง ค่าจ้างลูกจ้าง หรือค้าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขาย และพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายจริงมากกว่าการหักค่าใช้จ่ายเหมา เมื่อนำไปคำนวณภาษีแล้ว สามารถลดจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียได้

 

ค่าใช้จ่ายที่นำมาคิดภาษีร้านค้าออนไลน์มีกี่แบบ?

1. หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ซื้อมา ขายไป ไม่ได้ผลิตเอง

2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้าเอง แต่กรณีนี้ต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ยื่นเพื่อยันยืนความถูกต้อง

3. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา คือคิดภาษี 0.5% หากมีรายได้จากการขายของออนไลน์มากกว่า 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)

 

ร้านค้าตลาดนัด-ออนไลน์ มีรายได้เกินปีละ 1-1.8 ล้านบาท ต้องเสียภาษี

เมื่อเปิดร้านค้าออนไลน์ขึ้นมาแล้วและเกิดรายได้ขึ้นมา ผู้ประกอบการจะเกี่ยวข้องกับการเสียภาษี 2 ประเภทก็คือ ภาษีเงินได้ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากเป็นร้านค้าธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยการคำนวณจากเงินได้สุทธิ แต่ถ้าจดทะเบียนเป็นบริษัท นิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนหรือในรูปแบบของบริษัท ก็ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวณจากกำไรสุทธิ

หากมีรายได้จากการขายทั้งปี 1,800,000 บาทขึ้นไป ซึ่งรายรับจากการขายนี้หรือยังไม่ได้รับยกเว้นจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ต้องยื่นคำขอร้องจดทะเบียนภาษี และยื่นในรูปแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) และจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี)

เงินได้จากการขายของออนไลน์ตลาดนัดถือเป็นเงินประเภทที่ 8 (เงินได้ประเภทอื่นๆ) สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธีคือ แบบเหมารวมในอัตรา 80% ของรายได้ และแบบตามความจำเป็น/ตามสมควร โดยส่วนที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่าย ให้นำมาหักค่าลดหย่อนตามกฎหมายเพื่อคำนวณเงินได้สุทธิในขั้นต่อไป

ข้อควรรู้เรื่องภาษีออนไลน์ ‘อี-เพย์เมนต์’ (e-Payment)

กรมสรรพากรรู้ว่ามีการขายของออนไลน์เกิดขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมายออกมารองรับให้ทางสถาบันการเงินต้องส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “อี-เพย์เมนต์ (e-Payment)” ที่เริ่มมีผลบังคับใช้จริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 63 เพื่อให้ทางสรรพากรตรวจสอบแต่ไม่ได้ตรวจสอบทุกบัญชี โดยจะมีเงื่อนไขที่เข้าข่ายโดนสรรพากรตรวจสอบดังนี้

- เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม

- ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมเกิน 2 ล้านบาท

*หากทางธนาคารพบว่าบัญชีใดเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งจะมีสิทธิ์ถูกตรวจสอบ และทำการส่งข้อมูลเข้าระบบให้กรมสรรพากรต่อไป

 

การเสียภาษีถือเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ตลาดนัดก็ถือว่าเป็นผู้มีรายได้เช่นกัน หากไม่ทำการยื่นภาษีก็อาจโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง และต้องเสียค่าปรับอีกด้วย ดังนั้นการทำให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงเป็นการดีที่สุด

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.rd.go.th/   



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

 

 

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1303 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1674 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1922 | 25/01/2024
ผู้ค้าตลาดนัด-ออนไลน์ รู้ไหม..ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง?