โตไม่กลัวโควิด! ปี 64 ตีตลาด E-Commerce จีน

SME Go Inter
15/03/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 2998 คน
โตไม่กลัวโควิด! ปี 64 ตีตลาด E-Commerce จีน
banner

แม้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรม แต่สวนทางกับอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซที่มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยความที่ผู้บริโภคชาวจีนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป หันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

ส่งผลให้มูลค่าตลาด E-Commerce ของจีนเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 ยอดค้าปลีกสินค้าออนไลน์มีมูลค่ากว่า 9.8 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 จากปีก่อนหน้า ทำให้จีนยังคงตำแหน่งตลาดค้าปลีกสินค้าออนไลน์ใหญ่ที่สุดของโลกต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 8 ส่วนในปีนี้คาดการณ์ว่าตลาด E-Commerce จีนจะยังคงขยายตัวอย่างโดดเด่น และบริษัทวิจัยตลาด Coresight Research ได้รายงาน 10 เทรนด์ที่ผู้ที่สนใจรวมถึงผู้ประกอบการไทยควรจับตามอง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. Livestreaming การตลาดสุดแสนสำคัญ

Livestreaming จะเป็นอาวุธทางการตลาดที่สำคัญมากและมีแนวโน้มที่ร้านค้าต่างๆ จะหันมาทำ Livestreaming เองแทนการจ้าง Key Opinion Leaders (KOLs) เนื่องจาก

- ต้นทุนต่ำกว่า

- ความเข้าใจในการแนะนำสินค้าลึกซึ้งมากกว่า

- สามารถเพิ่มความถี่ของการไลฟ์ได้มากขึ้น

โดย KPMG ร่วมกับ AliResearch ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยของ Alibaba คาดการณ์ว่า ในปี 2564 ตลาด Livestreaming E-Commerce ของจีนจะเติบโตต่อเนื่อง และมีมูลค่ารวมกว่า 2 ล้านล้านหยวน เติบโตถึงร้อยละ 384 จากปี 2562

 

2. วิดีโอขนาดสั้นจะครองส่วนแบ่งมากขึ้น

โต่วอิน (Douyin), TikTok และ ไคว่โฉ่ว (Kuaishou) เติบโตอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยข้อมูล ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 Douyin มีผู้ใช้รวมกว่า 524 ล้านคน เติบโตร้อยละ 8.5 ส่วน Kuaishou มีผู้ใช้รวมกว่า 408 ล้านคน เติบโตร้อยละ 20.4 ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้กำลังแย่งส่วนแบ่งตลาด E-Commerce จากเจ้าเก่าอย่าง Alibaba JD.com และพินตัวตัว (Pinduoduo) ด้วยกลยุทธ์ผนวกรวม User-generated Content และการช้อปปิ้งเข้าด้วยกัน

 

3. มินิโปรแกรมเครื่องมือส่งเสริมแบรนด์

ในปีที่ผ่านมา Baidu และ Wechat ใช้ช่องทางมินิโปรแกรมในการสื่อสารกับลูกค้าโดยตรง รวมถึงใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางการขายสำคัญ ซึ่ง Wechat รายงานยอดขายผ่านมินิโปรแกรมในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2563 ว่ามีการเติบโตถึงร้อยละ 115 นอกจากนี้ Wechat ยังได้เพิ่มฟังก์ชั่นไลฟ์ในมินิโปรแกรม และ ณ สิ้นเดือน กันยายน 2563 มีผู้ขายกว่า 1 แสนรายที่ใช้ฟังก์ชั่นไลฟ์นี้แล้ว

 

4. กลยุทธ์ C2M ดันอีคอมเมิร์ซโต

โมเดล C2M (Consumer-to-Manufacturer) เป็นการใช้ข้อมูลทางดิจิทัล ได้แก่ ข้อมูลเชิงลึก ระบบ AI ที่สามารถช่วยโรงงานดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยนำเทคโนโลยีและ Big Data มาช่วยให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้า ลดระยะเวลาและต้นทุนในการพัฒนาสินค้า สามารถผลิตสินค้าที่ตรงต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด โดย JD.com รายงานว่า ยอดขายสินค้า C2M ของ JD.com ในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563 เติบโตถึงร้อยละ 654 โดยบริษัทวิจัย Vzkoo ของจีนคาดการณ์ว่า ตลาด C2M จีนจะมีมูลค่า 1.4 ล้านล้านหยวนภายในปี 2565

 

5. ตลาดแบรนด์หรูเติบโตอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากแบรนด์หรูต่างๆ หันมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการขายมากขึ้น รวมกับข้อจำกัดในการเดินทางไปต่างประเทศ ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวจีนหันมาซื้อสินค้าแบรนด์หรูในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยในปีที่ผ่านมา ตลาด E-Commerce แบรนด์หรูมีมูลค่ารวม 9.3 หมื่นล้านหยวน และ McKinsey คาดว่าตลาดนี้จะมีมูลค่ากว่า 1.47 แสนล้านหยวน ภายในปี 2568 โดยมีอัตราการเติบโต 9.6% ต่อปี

 

6. Shopping Festival เครื่องมือดึงดูดลูกค้า

เทศกาลช้อปปิ้งยังคงดึงดูดลูกค้าและกระตุ้นยอดขายได้เป็นอย่างดี ซึ่งเทศกาลช้อปปิ้ง 11.11 ปีที่แล้วของ Alibaba มีมูลค่ายอดขายรวมทุกช่องทาง (GMV) อยู่ที่ 4.982 แสนล้านหยวน สูงกว่ายอดขายรวมของปี 2019 กว่า 1 เท่าตัว โดยหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ยอดขายพุ่งทะยาน เป็นเพราะ Alibaba จัดงานติดต่อกัน 11 วัน (1 - 11 พ.ย. 2563) ไม่ได้จัดเพียงวันเดียวเหมือนปีก่อนๆ

แนะ SME ไทยใช้ช่องทาง CBEC

Cross Border E-Commerce (CBEC) หรือการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นวิวัฒนาการของพฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีนหัวสมัยใหม่ โดยปีที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้กำหนดเพดานการสั่งซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศผ่านช่องทาง CBEC ได้ไม่เกินคนละ 26,000 หยวนต่อปี (ครั้งละไม่เกิน 5,000 หยวน) เมื่อสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนจะต้องชำระภาษีตามข้อกำหนดพิเศษในอัตรา 9.1% สำหรับสินค้าทั่วไป และอัตรา 17.9% - 28.9% สำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย โดยไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซ้ำอีก ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีการปรับลดอัตราภาษีพิเศษดังกล่าว และปรับเพิ่มเพดานมูลค่าการสั่งซื้อสินค้าต่อคนต่อปีให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งขยายกลุ่มสินค้าที่สามารถซื้อขายผ่าน CBEC ให้มากขึ้นอีกด้วย

โอกาสของ ‘สินค้าไทย’ สามารถเข้าถึงผู้บริโภคชาวจีนได้โดยตรง ด้วยช่องทาง CBEC ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมาก ข้อมูลจาก iiMedia Research ระบุว่า ปี 2563 นักช้อป CBEC ในจีนมีจำนวนมากกว่า 232 ล้านคน หรือมากกว่าจำนวนประชากรไทยถึง 3.3 เท่า ขณะที่จำนวนนักช้อปและมูลค่าการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทาง CBEC ก็มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย

 

แหล่งอ้างอิง :

http://finance.people.com.cn/

https://coresight.com/

https://thaibizchina.com/

https://www.chinanews.com/

https://thaibizchina.com/

https://www.ditp.go.th/

https://www.etda.or.th/  



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6278 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5039 | 23/10/2022
โตไม่กลัวโควิด! ปี 64 ตีตลาด E-Commerce จีน