4 เหตุผลที่ธุรกิจอาหารไทยควรรุกตลาด Plant-based Food

SME Go Inter
08/11/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 3466 คน
4 เหตุผลที่ธุรกิจอาหารไทยควรรุกตลาด Plant-based Food
banner

          จากกระแสรักสุขภาพ บวกกับทั้งสถานการณ์การระบาดของโควิด 19  ส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกรวมทั้งคนไทยเองหันมาใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกิน เทรนด์หนึ่งในวงการอาหารที่ถูกพูดถึงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คงหนีไม่พ้นเรื่องของ Plant-Based Food’ หรือ เนื้อเนื้อสัตว์จากพืช’ อาหารทางเลือกที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

          สำหรับ Plant-Based Food เป็นอาหารที่ทำจากพืช 100%  ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ เห็ด เต้าหู้ ธัญพืช และถั่วชนิดต่างๆ เป็นอาหารทางเลือกที่เน้นโปรตีนจากพืชเพื่อใช้ในการทำอาหาร รวมทั้งใช้น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันมะกอกเพื่อการทอด ผัด และเติมความชุ่มฉ่ำในเนื้อสัมผัสของอาหาร ซึ่งอาหารประเภท Plant-Based Food มีรสชาติเหมือนเนื้อ หมู และไก่จนสามารถรังสรรค์ความอร่อยได้ใกล้เคียงกับการรับประทานเนื้อสัตว์

          ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ Plant-based Food กลายมาเป็นทางเลือกใหม่ ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากกลุ่มผู้บริโภค ในการนำมาปรับให้เข้ากับการกินของตนเอง ทั้งคนที่เป็นมังสวิรัติอยู่แล้ว หรือกลุ่มคนที่พยายามจะลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ด้วยเหตุผลทางสุขภาพ รวมไปถึงการลดน้ำหนัก

 

 

 

 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 



ทำไมกระแส Plant-based เติบโตต่อเนื่องอย่างน่าสนใจ

 

          กระแส Plant-based เริ่มต้นมาจากทางประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการใช้เทคโนโลยีทางอาหารเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชได้หลากหลาย ทั้งนี้ ยังมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oxford ว่า อาหารแบบ Plant-based จะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เพราะการทำปศุสัตว์นับเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก และทำให้โลกร้อนมาจนถึงทุกวันนี้

          แต่ในทางกลับกันการทำเกษตรกรรมจากพืชนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อโลกมากกว่าเยอะ ทำให้ผู้คนที่ใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เริ่มที่จะหาข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ และเปลี่ยนวิถีการกินกันมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการช่วยกันลดมลพิษและสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้น

          จนกลายเป็นอีกธุรกิจที่ขยับขยาย และปรับตัวตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ยิ่งทำให้ผู้ประกอบการกระโดดลุยตลาดกันอย่างคึกคักทั้งรายเล็กรายใหญ่ที่พัฒนาสินค้ามาหลากหลายรูปแบบ ทำให้เทรนด์ Plant-based Food เติบโตต่อเนื่องอย่างน่าสนใจ โดยจุดเด่นที่ผู้ประกอบการทั้งหลายที่นำมานำเสนอกันหนีไม่พ้นเทคโนโลยีและรสชาติที่พยายามให้ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ คงความอร่อยเป็นเมนูที่น่าชวนรับประทาน

          นอกจากนี้ ข้อมูลจาก EUROMONITOR คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดในปี 2024 จะเติบโตขึ้นไปอยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สำหรับประเทศไทย Plant-based มีการคาดการณ์ว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้า จะมีมูลค่าตลาดแนวโน้มขยายตัวประมาณ 5 หมื่นล้านบาท



 

 

4 เหตุผลธุรกิจอาหารไทยควรรุกตลาด Plant-based Food

 

1. ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น

                  ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเลือกบริโภคในสิ่งที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการหันมาบริโภคพืชผักผลไม้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลง เพราะความกังวลด้านสุขภาพ เนื่องจากความเจ็บป่วยที่เกิดจากการบริโภคอาหารจากเนื้อสัตว์นั่นเอง อีกทั้งการแพร่ระบาดของโควิด 19 ยิ่งทำให้คนตื่นตัวและเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ตลอดจนลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลง เพราะมองว่าอาจเป็นที่มาของการแพร่เชื้อ ยกตัวอย่าง ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกามีถึง 23% ที่เลือกบริโภคอาหารจากพืชมากขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด 19

 

2. แรงหนุนจากเทรนด์รักษ์โลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

 

                   ไม่เพียงแค่กระแสรักสุขภาพที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้ตลาด Plant-based Food ขยายตัวในเวลาอันรวดเร็ว ผู้บริโภคที่ตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นอีกกลุ่มใหญ่ที่ช่วยออกแรงผลักดันทำให้เทรนด์ Plant-based Food ติดลมบนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ หากดูผลกระทบจากการผลิตอาหารที่มีต่อสิ่งแวดล้อม จะพบว่าผลิตภัณฑ์จากสัตว์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตภัณฑ์จากพืช อีกทั้ง การผลิต และบริโภคเนื้อจากพืช ยังช่วยลดโลกร้อนได้ด้วย เนื่องจากกระบวนการผลิตเนื้อจากพืชนั้นจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์จริง 30%-90% จึงทำให้เชื่อว่า การบริโภคเนื้อจากพืชจะช่วยลดโลกร้อน

 

 

 

3. พฤติกรรมเปลี่ยน กระแส Flexitarian เติบโตต่อเนื่อง

 
                  จากงานวิจัยโดย Human Research Council บอกไว้ว่า 5 ใน 6 ของกลุ่มคนรับประทานมังสวิรัติและวีแกนจะล้มเลิกความตั้งใจกลางคัน ซึ่งสาเหตุมาจากการบริโภคแบบ Full-time นั้นต้องอาศัยความอดทนอย่างมาก และทำได้ยาก อีกทั้งยังรบกวนวิถีชีวิตประจำวัน เช่น การไม่บริโภคเนื้อสัตว์ในร้านอาหารทั่วไปปัจจุบันมีตัวเลือกน้อย เมนูจำเจ และไม่อร่อยนัก ด้วยเหตุนี้ ทำให้คนส่วนมากหันมาบริโภคแบบ Flexitarian หรือ การบริโภคมังสวิรัติเป็นครั้งคราวมากขึ้น

 

4. เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอาหารก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

 

                  เทคโนโลยีด้านอาหารที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกที่หลากหลายให้รสสัมผัสไม่ต่างจากของจริง เช่น การนำยีสต์และโปรตีนที่สังเคราะห์ได้จากรากของพืชตระกูลถั่วมาเข้าสู่กระบวนการหมัก เพื่อผลิตโปรตีนเฉพาะ จนทำให้เกิดฮีม (Heme) และนำไปใส่ในโปรตีนจากพืช หรือแปลงสภาพโปรตีนจากพืชตระกูลถั่วภายใต้สภาวะความเป็นด่างให้กลายเป็นแป้งสาลี และอัดขึ้นรูปเพื่อจัดแนวโปรตีนให้เป็นเส้นๆ คล้ายคลึงกับผิวสัมผัสของเนื้อสัตว์

 

 

 

แหล่งอ้างอิง : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

 https://www.longtunman.com/31801


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6347 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2035 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5085 | 23/10/2022
4 เหตุผลที่ธุรกิจอาหารไทยควรรุกตลาด Plant-based Food