ปี 2562 ‘ไทย’ เป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ
11 ของโลก มูลค่าการส่งออก 1,016,932 ล้านบาท มูลค่าการนำเข้า 385,517 ล้านบาท
ได้เปรียบดุลการค้า 631,415 ล้านบาท
‘ประเทศแคนาดา’ ในปี 2562 ซื้อ ‘ทูน่ากระป๋องและแปรรูป’
ผลิตภัณฑ์ส่งออกของไทยเป็นอันดับ 4 แม้ชาวแคนาเดียนจะบริโภคอาหารทะเลแบบคงตัวไม่หวือหวามาตั้งแต่ปี 2559
แต่ข้อมูลจากบริษัทวิจัยและสำรวจตลาด Nielson บ่งบอกว่ายอดขายอาหารทะเลระหว่างเดือนตุลาคม 2562 - พฤศจิกายน 2563
สูงขึ้นถึง 9% หรือมียอดขาย 787 ล้านเหรียญแคนาดา (ประมาณ 19.750 พันล้านบาท)
ในขณะที่ยอดขายอาหารทะเลแช่แข็งสูงขึ้นถึง 20% หรือมียอดขาย 1.07 พันล้านเหรียญแคนาดา (ประมาณ 26.75 พันล้านบาท) เหตุผลสนับสนุนยอดขายที่เพิ่มขึ้น มาจากการกักตุนอาหารในระยะแรกของการแพร่ระบาดโควิด 19 ต่อมาก็คือการที่ผู้บริโภคมีเวลาทำอาหารเองมากขึ้นเมื่อทำงานที่บ้าน (Work From Home) มีความใส่ใจสุขภาพเพื่อป้องกันตัวเอง (หันมารับประทานโปรตีนจากอาหารทะเล) และมีเวลาในการมองหาเมนูใหม่ๆ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
อาหารทะเลสด
แบบไม่มีการปรุงรสใดๆ หรือ Fresh Raw Seafood
และแบบมีการปรุงรสให้ล่วงหน้าหรือ
Seasoned Raw Seafood เพื่อให้เกิด Value
Added (เช่น ปลาสดหั่นชิ้นหมักเกลือ พริกไทย ชุบหรือเคลือบขนมปังและผักหั่นฝอย
หรือเกี๊ยวฝรั่งใส้ครีมชีสและปูสดบด เป็นต้น) ซึ่งอาหารทะเลสดที่ได้รับความนิยม
อาทิ แซลมอน ค็อด
กุ้ง หอยเชลล์ ฮาลิบัท และปลาชนิดอื่นๆ
อาหารทะเลแช่แข็ง
ทั้งแบบปรุงเครื่องพร้อมนำมาอบหรือทอดรับประทานและแบบไม่มีการปรุงเครื่องปรุงรสที่ต้องมาปรุงเครื่องเอง ได้กลายเป็น Superstar ของกลุ่มอาหารทะเลตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 เนื่องจากอายุการเก็บรักษายาวนาน (Shelf Life) และความสะดวกในการนำมาประกอบอาหาร ยอดขายอาหารทะเลแช่แข็งระหว่างเดือนตุลาคม 2562 - พฤศจิกายน 2563 สูงขึ้นมากกว่า 55% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน อาหารทะเลที่มาจากการเติบโตตามธรรมชาติ หรือ Wild Caught (ไม่ใช่จากฟาร์มเพาะเลี้ยง) ได้รับความนิยมอย่างมาก อาจเป็นเพราะกระแสคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภค
อาหารทะเลกระป๋อง
ด้วยเหตุผลเดียวกันกับอาหารทะเลแช่แข็ง ที่มีอายุการเก็บรักษายาวนานและความสะดวกในการนำมาประกอบอาหาร
ทำให้ยอดขายของอาหารทะเลกระป๋องกระโดดสูงขึ้น โดย Statistic
Canada มีข้อมูลว่าในปี 2563
อาหารทะเลกระป๋องและโปรตีนประเภทอื่นๆ เช่น แฮมกระป๋อง
มียอดขายสูงขึ้นกว่ายอดขายเฉลี่ยในปี 2562 ถึง 169% อาหารทะเลกระป๋องที่ขายดีที่สุดคือปลาทูน่ากระป๋อง
ทั้งนี้ในแง่การผลิตไม่ได้มีนวัตกรรมใหม่ แต่มีการเพิ่มรสชาติให้มีความหลากหลายมากขึ้น
เช่น การเสริมใส่ผักสมุนไพรพวกพริกไทยดำกับโรสแมรี่เป็นต้น เพื่อให้เกิด Value Added ของสินค้า และการใส่สมุนไพรต่างๆ
ยังเป็นการสร้างความรู้สึกในใจผู้บริโภคในแง่ของสุขภาพด้วย
อาหาร Plant Based Seafood
ในตลาดแคนาดามีสัญญาณของการเติบโตขึ้น แต่ในด้านการผลิตยังคงมีจำกัด
กลุ่มผู้บริโภคสำคัญคือกลุ่มมังสวิรัติ และกลุ่มที่ชอบทดลองอะไรใหม่ๆ
มีความอยากรู้อยากเห็น สินค้าอาหาร Plant Based
Seafood ที่มีจำหน่ายในขณะนี้ เช่น Plant Based
Fishless Cake, Plant Based Fishless Burger หรือ Plant Based Crabless Cake เป็นต้น ซึ่งการทำตลาดของสินค้าอาหารประเภท
Plant Based ที่ออกวางจำหน่ายไปแล้วก่อนหน้านี้ได้แก่ สินค้า
Plant Based Meat ได้สร้างการรับรู้และการยอมรับในใจผู้บริโภค (Awareness and Perception) ด้วยการนำไปวางจำหน่ายคู่กับสินค้าที่ทำจากเนื้อสัตว์จริงๆ
เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ (สร้าง Awareness) ว่าสามารถรับประทานทดแทนกันได้
อาหารทะเลแช่แข็งอาหารทะเลกระป๋อง เป็นอาหารที่มีประชาชนผู้บริโภคกักตุนเป็นจำนวนมากนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19
เนื่องจากเหตุผลของการเก็บรักษาได้นานและสะดวกในการนำมาออกประกอบอาหาร
ในขณะที่อาหารทะเลสดจะเป็นการซื้อแบบวันต่อวัน ส่วนอาหารทะเล Plant Based เป็นทางเลือกใหม่ที่มีศักยภาพและกำลังเติบโต
ไทยในฐานะเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปอันดับ 2 ของโลกรองจากจีน และส่งออกทูน่ากระป๋องอันดับ 1 ของโลก ซึ่งในปี 2564 คาดว่ายอดส่งออกจะขยายตัวจากปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 5% เนื่องจากคู่ค้ามีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบในไตรมาส 1/2564 ซึ่งแนวโน้มไปในทิศทางบวกเช่นนี้ จึงเป็นโอกาสสำคัญของอาหารทะเลไทยในแคนาดาผ่าน
3 เหตุผลก็คือ
1. อาหารทะเลแช่แข็งแบบปรุงรส
ด้วยศักยภาพของไทยในการผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง
การเพิ่มการผลิตที่หลากหลายรูปแบบรสชาติ (เพิ่ม Value Added) เป็นเรื่องง่าย
จะทำให้สามารถขยายตลาดได้ไม่ยาก
2. อาหารทะเลกระป๋อง
เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่าไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกปลาทูน่ากระป๋องเป็นอันดับ 1 ของโลก แม้ว่าวัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากการนำเข้า
ดังนั้นการขยายไลน์การผลิตโดยการเพิ่ม Value Added ด้วยรสชาติที่หลากหลายจะเป็นโอกาสสำคัญอีกทางหนึ่งของไทย
3. อาหาร Plant Based Seafood นับเป็นโอกาสใหม่ของไทยเนื่องจากมีความพร้อมในด้านวัตถุดิบ
(ถั่วต่างๆ มัน ข้าว ข้าวโพด ฯลฯ) และเป็นแหล่งผลิต-ส่งออกอาหารสำคัญของโลก
ดังนั้นผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยควรพิจารณาสินค้า Plant Based Seafood ด้วยอีกทางหนึ่ง อาศัยจังหวะและโอกาสที่แคนาดามีสัญญาณการเติบโตของตลาดกลุ่มนี้
แต่ยังมีกำลังการผลิตจำกัด หากไทยสามารถผลิตได้อย่างหลากหลายรูปแบบและหลายรสชาติ
จะสามารถเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้เล่นสำคัญในตลาดสินค้ากลุ่มนี้ได้
ด้วยแต้มต่อของไทยซึ่งก็คือ ความตกลงการค้าเสรีที่ช่วยปลดล็อกกำแพงภาษีศุลกากรประเทศคู่ค้าเอฟทีเอ 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ และจีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู ฮ่องกง เอฟทีเอที่ไทยมีต่อประเทศคู่ค้าจะช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้ามาใช้ในการผลิตอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เข้าถึงแหล่งวัตถุดิบได้หลากหลายขึ้น เนื่องจากภายใต้เอฟทีเอไทยได้ลดเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าประมงกลุ่มวัตถุดิบที่ไทยขาดแคลนและจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน นั่นเอง
แหล่งอ้างอิง :