กฎหมายน่ารู้ ที่เกี่ยวข้องกับ SME ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร

SME Update
30/10/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 4065 คน
กฎหมายน่ารู้ ที่เกี่ยวข้องกับ SME ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร
banner

โลกกำลังเชิญความท้าทายในด้านความมั่นคงด้านอาหาร ผลพวงจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การขาดแคลนถิ่นที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดแคลนอาหารของประชากรโลกในอนาคต ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมอาหารจึงเป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่ได้ชื่อว่าอู่ข้าว อู่น้ำ แหล่งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลก

ภายใต้กฎระเบียบและมาตรฐานของอุตสาหกรรมอาหารนั้น ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วัตถุดิบทางการเกษตรไปจนถึงการแปรรูป การขนส่ง และการตลาดก่อนจะถึงมือผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการด้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เข้ามาในตลาดอาจจะไม่เข้าใจ หรือยังมองข้ามสิ่งเหล่านี้ เราเลยหยิบยกมาให้ทราบว่าในปัจจุบัน มีกฎหมายและข้อบังคับใดบ้างที่ผู้ผลิตอาหารควรให้ความสำคัญ และควรศึกษาไว้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2561 : กฎหมายที่กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรกำหนดกระบวนการตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อควบคุมและส่งเสริมสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัยแก่ประชาชน โดยครอบคลุมสินค้าเกษตรทั้งพืช สัตว์ ประมง และมีข้อกําหนดในการควบคุมกิจกรรมอื่นที่ต่อเนื่องจากการผลิตสินค้าเกษตร อาทิ การขนส่งสินค้าเกษตร คลังสินค้าเกษตร สะพานปลา โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น กำกับโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

2. พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ. 2550 : เป็นกฎหมายที่กำกับดูแลสุขอนามัยพืช โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนำเข้าและส่งออกสินค้าพืชให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากพืชที่นำเข้ามาในประเทศ รวมการส่งออกพืชไปยังตลาดต่างประเทศ โดยมีกรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานกำกับดูแล

3. พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 : กฎหมายข้อกำหนดให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีต่อองค์การระหว่างประเทศ และเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้เกิดความยั่งยืน โดยคำนึงถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และการรักษาความสมดุลในระบบนิเวศ และสร้างความมั่นใจในการบริโภคสัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ทั้งที่มีคุณภาพและสุขอนามัยที่ได้มาตรฐาน กำกับดูแลโดยกรมประมง

4. พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 : กฎหมายที่ใช้เกี่ยวข้องกับอาหารมากที่สุด คือ เครื่องหมาย อย. ที่กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีหน้าที่ดูแลการควบคุมคุณภาพของอาหาร คุ้มครองผู้บริโภคโดยมุ่งเน้นที่การขออนุญาต การตรวจสอบ การขึ้นทะเบียน รวมทั้งในเรื่องของการโฆษณาเกี่ยวกับอาหาร

5. พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 : กฎหมายที่สร้างระบบการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการฆ่าสัตว์ และการขนส่งเนื้อสัตว์ รวมถึงการชำแหละและตัดแต่งเนื้อสัตว์ เพื่อการจำหน่ายให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น และเพื่อสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขอนามัย โดยมีกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานกำกับดูแล

6. พ.ร.บ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ : และเพื่อให้มีหน่วยงานหลักที่เป็นกลไกในการกำหนดนโยบาย และกำหนดยุทธศาสตร์ด้านอาหารในมิติด้านคุณภาพ ความปลอดภัยของอาหาร ความมั่นคงอาหาร และการศึกษาด้านอาหารโดยครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน และมีประสิทธิภาพในลักษณะบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค การส่งเสริมและสนับสนุนการค้าและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอาหาร ทั้งภายในและตลาดต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ภายใต้โลกที่กังวลเรื่องปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและมลภาวะมากขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตอาหารตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งก็คือเกษตรกร ผู้ผลิตและแปรรูปในภาคอุตสาหกรรม ตัวแทนจำหน่ายและผู้ส่งออก จึงต้องให้ความสำคัญกับการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อโลก และการตรวจสอบย้อนกลับ และเน้นการผลิตในเชิงคุณภาพ มากกว่าการเน้นปริมาณ

ขณะเดียวกัน ในภาคการผลิตและแปรรูป เพื่อการค้าในประเทศและต่างประเทศ ก็อาจจะต้องศึกษามาตรการด้านอาหารของตลาดแต่ละประเทศด้วย อาทิ ผู้ผลิตอาหารที่มีตลาดในยุโรปอาจจะต้องศึกษาและกฎระเบียบเพิ่มเติมในยุโรป ซึ่งให้ความสำคัญต่อเรื่องอาหารปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

ดังนั้นจะเห็นว่า สิ่งที่ผู้ผลิตอาหารจะต้องเข้าใจ ไม่เพียงมาตรการกฎระเบียบในประเทศ แต่ยังต้องติดตามและทำความเข้าใจ มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ในตลาดต่างประเทศในกลุ่มอาหารด้วย เพราะแนวโน้มจะเป็นความท้าทายใหม่ที่ผู้ประกอบการด้านอาหารในทุกระดับจะต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน


แมลง ‘โปรตีนทางเลือก’ โอกาสตลาดอียู  

5 ความท้าทายใหม่ SME ด้านอาหาร เส้นชัยสู่ความยั่งยืน



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘ผงโปรตีนจากคาร์บอน’ นวัตกรรมรักษ์โลก เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็น อาหาร ลดโลกร้อน

‘ผงโปรตีนจากคาร์บอน’ นวัตกรรมรักษ์โลก เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็น อาหาร ลดโลกร้อน

เราทุกคนตระหนักดี ว่าโลกกำลังอยู่ในวิกฤติ “ภาวะโลกรวน” ซึ่งมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัญหาภาวะโลกร้อน และ สภาพภูมิอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน…
pin
213 | 26/09/2023
พาชม! นวัตกรรม EV ในงานพลังงาน และเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ASEAN Sustainable Energy Week และ Electric Vehicle Asia 2023

พาชม! นวัตกรรม EV ในงานพลังงาน และเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ASEAN Sustainable Energy Week และ Electric Vehicle Asia 2023

ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เติบโตอย่างก้าวกระโดดจากความนิยมใช้รถพลังงานไฟฟ้าเพื่อประหยัดพลังงาน นอกจากจะช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม…
pin
1383 | 14/09/2023
6 เทรนด์ ‘MarTech’ การตลาดยุคใหม่ ปี 2023-2026 ที่แบรนด์ต้องรู้!

6 เทรนด์ ‘MarTech’ การตลาดยุคใหม่ ปี 2023-2026 ที่แบรนด์ต้องรู้!

‘MarTech’ ถือเป็นเครื่องมือการตลาดที่ผสานการตลาด (Marketing) และ (Technology) ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และเป็นผู้ช่วยชั้นดีที่จะติดปีกแบรนด์ของคุณให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว…
pin
1184 | 29/08/2023
กฎหมายน่ารู้ ที่เกี่ยวข้องกับ SME ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร