SME ควรรู้กฎหมายและภาษี e-Commerce

SME in Focus
07/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 5404 คน
SME ควรรู้กฎหมายและภาษี e-Commerce
banner

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกสนใจเป็นลูกจ้างบริษัท หันมาประกอบธุรกิจ SME หรือเป็นเจ้านายตัวเองขายสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางหลากหลายเพลตฟอร์มที่เป็นเครื่องมือทันสมัยเอื้ออำนวยความสะดวกไม่ยุ่งยากเหมือนในอดีตโดยสิ้นเชิง

ทำให้คนรุ่นใหม่ยุคนี้ดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างง่ายดาย สามารถค้าขายบนสังคมโลกโซเชียลเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตรงจุด เช่น การค้าขายผ่านเว็บไซต์ อินสตราแกม เฟซบุ๊ก รวมทั้งไลน์ หรือผ่านอินเตอร์เน็ต ที่สำคัญการลงทุนไม่แพงเพียงมีแค่อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ทันสมัยก็สามารถทะลุทะลวงถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

การทำธุรกรรมและดำเนินกิจการขายสินค้าผ่านออนไลน์เฟื่องฟูมากเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยในช่วงแรกของการทำธุรกิจประเภทนี้อัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่ากฎหมายทางภาษีก็ต้องปรับตัวตามเช่นกัน ต้นปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ผ่าน พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ ๔๘) พ.ศ. ๒๕๖๒หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ 'พ.ร.บ.เก็บภาษีผู้ค้าออนไลน์'’ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าวมุ่งเน้นการเข้าถึงข้อมูลเพื่อจัดเก็บภาษีในกลุ่มคนขายออนไลน์โดยเฉพาะ

สำหรับการจัดเก็บภาษีมีเงื่อนไขแรกเมื่อมี transaction คือมียอดฝากเงิน โอนเงินเข้าบัญชีทุกช่องทาง 3,000 ครั้งขึ้นไป และเงื่อนไขที่สองคือเมื่อมีการทำรายการตั้งแต่ 400 ครั้งและมียอดตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป นั้นหมายความว่ากรมสรรพากรจะมีการตรวจสอบบัญชีของคุณว่าเข้าข่ายจะต้องเสียภาษีหรือไม่ โดยในกฎหมายได้เขียนว่าให้ส่งข้อมูลครั้งแรก 31 มีนาคม 2563 นั่นหมายความว่าข้อมูลที่ส่งเป็นรายปีต้องส่งในปี 2562 แต่ ณ ปัจจุบันกฎหมายฉบับดังกล่าวคาดว่าจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ปี 2563 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 




สิ่งที่ผู้ประกอบการค้าออนไลน์ต้องเตรียมตัว

1.การจดทะเบียนการค้า

ผู้ประกอบธุรกิจที่ทำการค้าขายสินค้าออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 จึงจะสามารถประกอบกิจการได้ เหตุที่กฎหมายต้องบังคับให้ต้องจดทะเบียน เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถตรวจสอบหรือติดตามผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ค้าขายได้หากผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิ์จากการซื้อสินค้าหรือบริการ โดยผู้ทำการค้าขายสินค้าผ่านสื่อออนไลน์หรืออินเตอร์เน็ตต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะสามารถดำเนินการค้าขายได้ มิใช่ดำเนินการไปก่อนแล้วจึงไปจดทะเบียนภายหลัง

2. บทกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำการฝ่าฝืน

ผู้ใดประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง (ค้าขายสินค้าผ่านสื่อ) โดยไม่จดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรงต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ (มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545)

3. ธุรกิจที่ไม่อยู่ในข่ายต้องจดทะเบียน

บริษัท ห้างร้าน หรือบุคคลธรรมดา ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือผู้แทนจำหน่าย หรือผู้ขายที่ทำการโฆษณาสินค้าผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งสื่ออินเตอร์เน็ตด้วยนั้น หากประสงค์เพียงโฆษณาสินค้าหรือบริการผ่านสื่อเพียงอย่างเดียว โดยมิได้ประสงค์หรือมุ่งที่จะทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่อด้วยแล้ว ไม่มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อสำนักงานคณะกรรมการผู้บริโภค( สคบ.) แต่อย่างใด ธุรกิจประเภทนี้มุ่งที่จะทำการตลาดในลักษณะค้าปลีกหรือค้าส่งเท่านั้น แต่การโฆษณาสินค้าหรือบริการก็เพื่อให้บริโภครู้จักมักคุ้นกับชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้า หรือตัวสินค้าเท่านั้น และหากผู้บริโภคต้องการจะซื้อสินค้าก็สามารถไปเลือกซื้อได้ที่ร้านจำาหน่ายทั่วไปเกี่ยวข้องกับกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

 

กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

ผู้ประกอบการ SME ควรตรวจสอบว่าสินค้าที่นำมาจำนายหน่ายเป็นสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ หรือละเมิดเครื่องหมายการค้า หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่นหรือไม่ เนื่องจากหากผู้ประกอบการ SME ได้จำหน่ายสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาก็อาจมีโทษอาญาทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งก็ยังมีความรับผิดทางแพ่งต่อเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

 

การโฆษณาขายสินค้าที่ผิดกฎหมาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาขายสินค้าออนไลน์คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 โดยมีสาระสำคัญคือ “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท

 

ร้านค้าออนไลน์ต้องยื่นเสียภาษีที่มีรายได้ตามเกณฑ์

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาท/ปีขึ้นไป โดยเป็นการนำรายได้ทั้งหมดจากการขายสินค้าออนไลน์มาหักค่าใช้จ่ายก่อนที่จะนำไปคำนวณภาษี ซึ่งการคิดค่าใช้จ่าย สามารถคิดได้ 2 วิธี คือ "แบบเหมา" จะเป็นการหักต้นทุนในสัดส่วนร้อยละ 60 ของรายได้ หรือการนำร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมดไปคิดภาษี ส่วนอีกวิธีจะคิด "แบบตามความจำเป็น" คือ นำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง จากการขายสินค้าออนไลน์มาหักออก ซึ่งวิธีนี้จำเป็นต้องมีใบเสร็จ หรือใบกำกับภาษี หรือเอกสารแสดงรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆให้ถูกต้อง และครบถ้วน วิธีนี้จะมีความยุ่งยากมาก ดังนั้นเจ้าของกิจการ หรือพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มักเลือกจ่าย"แบบเหมา" มากกว่า

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปีซึ่งเจ้าของกิจการหรือพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะต้องไปยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สรรพากรในพื้นที่ ภายใน 30 นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกินและในทุกๆ เดือน จะต้องนำใบกำกับภาษีไปยื่นเพื่อเสียภาษีแก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป


บทลงโทษกรณีเลี่ยงภาษี

1. กรณีไม่ได้ยื่นแบบภาษีภายในเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย นับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนัดให้ยื่นแบบจนถึงวันชำระภาษี และมีโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท

2. กรณียื่นเสียภาษีไม่ครบจำนวน จะต้องเสียค่าปรับ 1 - 2 เท่า ของจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายทั้งหมด

3. เจตนาละเลยไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนดเพื่อหนีภาษี จะมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกสูงสุด 6 เดือน หรือทั้งจำและปรับ

4. จงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จเพื่อหนีภาษี จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 - 200,000 บาท

เรื่องภาษีกับการค้าเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด ดังนั้นผู้ประกอบการค้าออนไลน์ควรให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้และมีการวางแผนภาษีที่ดีจะช่วยได้มากและไม่เป็นภาระ ทั้งยังเป็นการจ่ายภาษีอย่างถูกต้องและสบายใจว่าจะไม่โดนสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง 

การเลือกรูปแบบธุรกิจและพื้นฐานภาษี 

ขอสินเชื่อ ธุรกิจต้องใช้อะไรบ้าง


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
168 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
389 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1308 | 01/04/2024
SME ควรรู้กฎหมายและภาษี e-Commerce