เรื่องที่ SME ไทยควรรู้ เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้เป็นทางการ

SME Go Inter
06/01/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 2314 คน
เรื่องที่ SME ไทยควรรู้ เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้เป็นทางการ
banner

เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นวันปีใหม่แล้ว ยังเป็นดีเดย์ที่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) หรือ อาร์เซ็ป ซึ่งเป็นความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจะเริ่มมีผลบังคับใช้ด้วย

ซึ่ง 15 ประเทศที่ร่วมลงนามความตกลง RCEP ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์  ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์



จุดมุ่งหมายของความตกลงดังกล่าว คือสลายอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมการลงทุน เพื่อช่วยให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ก้าวทันประเทศอื่นในโลก ความตกลง RCEP เป็นความตกลงที่ทันสมัย ครอบคลุม คุณภาพสูง และได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน อีกทั้งมีการเพิ่มความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นจากเอฟทีเอของอาเซียนกับคู่เจรจาที่มีอยู่ก่อนหน้า


ความตกลง RCEP มีทั้งหมด 20 บท

1. บทบัญญัติพื้นฐานและคำนิยามทั่วไป

2. การค้าสินค้า

3. กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า

4. พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า

5. สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

6. มาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และกระบวนการตรวจสอบและรับรอง

7. การเยียวยาทางการค้า

8. การค้าบริการ ภาคผนวกบริการการเงิน ภาคผนวกบริการโทรคมนาคม ภาคผนวกบริการวิชาชีพ

9. การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา



10. การลงทุน

11. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ

12. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

13. ทรัพย์สินทางปัญญา

14. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

15. การแข่งขัน

16. การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ

17. บทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบัน

18. บทบัญญัติทั่วไปและข้อยกเว้น

19. การระงับข้อพิพาท

20. บทบัญญัติสุดท้าย




RCEP ใช้เวลานานกี่ปี

2012: ความตกลง RCEP ถูกนำเสนอขึ้นมาโดยมีเป้าหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเชิงลึกระหว่าง 16 ประเทศเอเชีย - แปซิฟิก

2015: เดิมมีแผนบรรลุความตกลง แต่เลยกำหนดเวลาหลายครั้ง

2016: จัดการประชุมหารือรวม 6 รอบ

2017: การประชุมสุดยอด RCEP ครั้งแรก จัดขึ้นที่กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์

2018: การประชุมสุดยอด RCEP ครั้งที่สอง จัดขึ้นที่สิงคโปร์

2019: ขับเคลื่อนการเจรจาเพื่อเร่งหาข้อสรุปที่กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย โดย 15 ประเทศที่เข้าร่วม RCEP สรุปข้อตกลงทั้ง 20 ข้อบท และประเด็นการเข้าถึงตลาดทั้งหมด มีเป้าหมายที่จะลงนามสนธิสัญญาการค้าเสรีขนาดใหญ่ในปีถัดไป

2020: ลงนามสัญญา



สินค้าประเทศไทยที่ได้รับประโยชน์จาก RCEP

1. หมวดสินค้าเกษตร เช่น แป้งมันสำปะหลัง สับปะรด สินค้าประมง เป็นต้น

2. หมวดอาหาร ผักผลไม้แปรรูป น้ำส้ม น้ำมะพร้าว รวมทั้งอาหารแปรรูปอื่น ๆ

3. หมวดสินค้าอุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติก กระดาษ เคมีภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องแต่งกาย รวมทั้งจักรยานยนต์

4. หมวดบริการ หมวดการก่อสร้าง ธุรกิจด้านสุขภาพ ธุรกิจด้านภาพยนตร์ บันเทิง แอนิเมชัน

5. การค้าปลีก


โดยสมาชิก RCEP จะยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทย จำนวน 39,366 รายการ โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที จำนวน 29,891 รายการ เช่น ผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น




ขณะที่ในปีแรกสินค้ากลุ่มอาหารนำเข้าหลายรายการจะมีภาษีเป็น 0% แบ่งเป็น

- กลุ่มประมงแช่แข็ง เช่น แซลมอน ทูน่า ซาร์ดีน ปลาหมึก กุ้งล็อบสเตอร์

- กลุ่มผักสด แช่เย็น แช่แข็ง เช่น มะเขือเทศ บร็อกโคลี กะหล่ำปลี ผักกาดหอม

- กลุ่มผลไม้ เช่น สับปะรดแห้ง ฝรั่ง มะม่วงแห้ง สตรอว์เบอรี ราสป์เบอรี แบล็กเบอรี่ มัลเบอรี ลำไย ส้ม ส้มแห้ง กีวี ลิ้นจี่ เงาะ

- สินค้ากลุ่มกาแฟ ชา เครื่องเทศ เช่น ซินนามอน

- สินค้ากลุ่มธัญพืช เช่น สาหร่าย

- สินค้ากลุ่มผักและผลไม้แปรรูป เช่น น้ำส้มโฟรเซ่น น้ำแอปเปิลมีค่าบริกซ์ไม่เกิน 20

 

ผู้ประกอบการไทยควรเตรียมตัวอย่างไร?

สิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ควรให้ความสำคัญในการทำการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันก็คือ การสร้างโอกาสและแต้มต่อจากการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA รวมถึงความตกลง RCEP ที่จะมีผลบังคับใช้ โดยผู้ประกอบการควรเร่งเตรียมความพร้อมเรียนรู้ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ทางการค้าต่างๆ ของความตกลง RCEP อาทิ การเปิดตลาดการค้าสินค้า อัตราภาษีศุลกากร กฎเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้า และสิทธิประโยชน์ รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดประเทศสมาชิก RCEP

เพื่อเตรียมวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจและพัฒนาสินค้าให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐาน คุณภาพ ความปลอดภัยของสินค้าและบริการมากขึ้น จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ สอดรับกับสถานการณ์ใหม่แบบ ‘New Normal’ สร้างความเชื่อมั่น - ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าและบริการ ของตน ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต


แหล่งอ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

https://mgronline.com/china/detail/9630000118575

https://www.thansettakij.com/business/456905

https://www.prachachat.net/economy/news-819146

https://www.prachachat.net/economy/news-638641

http://asean.dla.go.th/public/news.do?cmd=news&category=1&nid=34365&lang=th&random=1639647924954

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6326 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2033 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5067 | 23/10/2022
เรื่องที่ SME ไทยควรรู้ เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้เป็นทางการ