คู่มือ SMEs กับความรู้เรื่องงบการเงิน

SME in Focus
10/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 6713 คน
คู่มือ SMEs กับความรู้เรื่องงบการเงิน
banner

คนทำธุรกิจย่อมรู้จัก โดยเฉพาะนักลงทุนจะรู้จัก งบการเงิน เป็นอย่างดี  ซึ่งเป็นรายงานทางการเงินของกิจการที่แสดงถึงค่าใช้จ่าย รายได้ กำไร และการสรุปทางการเงินของธุรกิจนั้นในช่วงรอบบัญชีใด หรือระหว่างรอบบัญชี เพื่อให้ผู้บริหารดูผลการประกอบการ หรือให้บุคคลภายนอกสามารถดูผลประกอบการของบริษัทได้

จะดูทำไม เพราะข้อมูลเหล่านี้มักเป็นอดีต อาจไม่ชี้วัดอนาคต หรือเป็นตัวเลขที่ประมาณการณ์มากกว่าเป็นตัวเลขชัวร์ๆ อาจผ่านการ ตบแต่งมาจนสวยงาม กว่าเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ไว้ครั้งหน้าเรามาเรียนรู้การดูงบให้เป็นกัน แต่เบื้องต้นขอโฟกัสไปยังธุรกิจขนาดเล็ก หรือคนที่สนใจอยากเริ่มธุรกิจ เลยหยิบยกเรื่องงบการเงิน ที่ธุรกิจจดทะเบียนต้องยื่นกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปีว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง และหากยื่นช้าหรือไม่ยื่น จะผิดหรือไม่  

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


งบการเงิน อันประกอบด้วย

1. งบแสดงฐานะทางการเงิน หรือ งบดุล เป็นงบการเงินส่วนที่จะแสดงถึงฐานะทางการเงินของกิจการ โดยจะบอกเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

2. งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หรือ งบกำไรขาดทุน เป็นงบการเงินที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีรายได้และค่าใช้จ่ายเท่าไร ยังสามารถทำกำไรได้หรือไม่

3. งบกระแสเงินสด เป็นงบการเงินส่วนที่จะแสดงถึงการรับมาและจ่ายไปของเงินสด โดยงบกระแสเงินสดจะเกิดขึ้นจาก 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน

4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของเจ้าของ เป็นงบการเงินส่วนที่จะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของในรอบบัญชี

5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน จะแสดงข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน และเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน

 

ใครบ้างที่ต้องทำงบการเงิน

นิติบุคคลที่จดทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะดำเนินกิจการหรือไม่ มีหน้าที่จัดทำงบการเงินและส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปี  นิติบุคคลที่ต้องส่งงบการเงินดังนี้

1. บริษัทจำกัด

2. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

3. บริษัทมหาชนจำกัด

4. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

5. กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

 

รอบการทำงบการเงิน

ปกติควรเริ่มทำบัญชีนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล และภายในระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน ต้องปิดงบการเงินและนำส่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในกรณีนี้อาจจะทำให้การทำบัญชีนั้นง่ายขึ้น โดยปิดงบรอบบัญชีในวันที่ 31 ธันวาคม และวงรอบการทำงบการเงินในปีต่อๆไป

 

การจัดทำงบการเงิน

จัดทำบัญชีโดยผู้ทำบัญชี อาจจะว่าจ้างเป็นพนักงานของบริษัท หรือจ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชีก็ได้ และให้ผู้ตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบและออกรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

 

คุณสมบัติผู้ทำบัญชี

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5ล้านบาท มีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาทและมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาทางการบัญชีหรือเทียบเท่า

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีรายได้รวมเกินที่ระบุไว้,บริษัทจำกัด,บริษัทมหาชนจำกัด ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า

กรณีนี้ยกเว้นห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาทและมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ต้องมีรายงานผู้สอบบัญชีและไม่ต้องส่งรายงานตรวจสอบและรับรองบัญชี


ค่าปรับหากไม่ยื่นงบการเงิน

กรณียื่นงบเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ยื่นงบล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน,บริษัทจำกัด อัตราค่าปรับรวม 2,000บาท หากเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน อัตราค่าปรับรวม 8,000บาท และหากเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไป อัตราค่าปรับรวม 12,000บาท

สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเรื่องง่ายสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ แต่สำหรับเอสเอ็มอีรายขนาดเล็ก บ่อยครั้งที่โดนค่าปรับ เนื่องจากส่งงบการเงินล่าช้า เรื่องนี้แม้จะมองว่าอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าคุณต้องการทำธุรกิจให้เติบโต ก็ไม่ควรละเลยเรื่องเหล่านี้ 

สรุปรายการลดหย่อนภาษีปี 2562

SME ควรรู้กฎหมายและภาษี e-Commerce


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ถอดบทเรียนแนวคิดต่างของ “เวิลด์กรีน พลัส” พลิกภาระสู่โอกาส เปลี่ยนของเสียให้เป็นมูลค่า

ถอดบทเรียนแนวคิดต่างของ “เวิลด์กรีน พลัส” พลิกภาระสู่โอกาส เปลี่ยนของเสียให้เป็นมูลค่า

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตขยะอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บวกกับแรงกดดันจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด การดำเนินธุรกิจในยุคที่…
pin
12 | 28/02/2025
แพทย์หญิงนักปรุงจาก “อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย” ชวน ไขความลับของผู้ผลิต Food Ingredients ผู้ช่วยตัวจริงของ อุตสาหกรรมอาหาร

แพทย์หญิงนักปรุงจาก “อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย” ชวน ไขความลับของผู้ผลิต Food Ingredients ผู้ช่วยตัวจริงของ อุตสาหกรรมอาหาร

ปัจจัยสำคัญที่ร้านอาหารชื่อดัง ซึ่งมีสาขาทั่วประเทศต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ประกอบด้วยหลายด้านด้วยกัน ทั้งในเรื่องของความสะอาด การบริการที่ได้มาตรฐาน…
pin
13 | 25/02/2025
จาก YouTuber ช่องดัง สู่การสร้างแบรนด์ชานมไข่มุก BEARHOUSE และ SUNSU เจาะกลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงานที่อยากใส่ใจสุขภาพ และยังรักการกินขนม

จาก YouTuber ช่องดัง สู่การสร้างแบรนด์ชานมไข่มุก BEARHOUSE และ SUNSU เจาะกลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงานที่อยากใส่ใจสุขภาพ และยังรักการกินขนม

จาก YouTuber ที่เคยรีวิวของเล่นจนสร้างชื่อเสียงและมีผู้ติดตามจำนวนมาก สู่การเป็นเจ้าของร้านชานมไข่มุกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คุณปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช…
pin
17 | 10/02/2025
คู่มือ SMEs กับความรู้เรื่องงบการเงิน