สรุปสินค้าไทยปี 63 และแนวทางส่งออกในอนาคต

SME Go Inter
31/03/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 2582 คน
สรุปสินค้าไทยปี 63 และแนวทางส่งออกในอนาคต
banner

ปีที่ผ่านมาภาคการส่งออกไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจการค้าโลกชะลอตัวลง เนื่องจากมาตรการปิดเมืองเพื่อควบคุมโรคทั้งในและต่างประเทศ กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายภาคส่วนต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว ทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยลดลง โดยเฉพาะไตรมาสที่สองของปี 2563 หดตัวสูงถึงร้อยละ 15.24 ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2563 หดตัวร้อยละ 6.0 อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมการส่งออกจะหดตัว แต่เมื่อพิจารณาการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ พบว่ายังมีสินค้าศักยภาพหลายรายการสามารถผลักดันการส่งออกของไทยให้กลับมาฟื้นตัวได้

ซึ่งจากการศึกษาวิเคราะห์ของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เกี่ยวกับสินค้าส่งออกของไทยที่มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และ CLMV ในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การส่งออกเผชิญกับภาวะวิกฤตข้างต้น โดยใช้ดัชนีความสามารถในการส่งออก (Export Specialization Index : ESI) เพื่อวัดความสามารถในการส่งออกของสินค้าไทยในแต่ละตลาด พบว่าสินค้าไทยที่ยังสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันได้ มีดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ตลาดสหรัฐอเมริกา

หมวดสินค้าเกษตรและอาหาร : 1. ทูน่ากระป๋องและแปรรูป 2. ปลาแช่แข็ง แห้ง หรือรมควัน 3. กุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง 4. อาหารสัตว์เลี้ยง 5. ผลไม้ปรุงแต่ง และน้ำผลไม้ 6. กากมะพร้าวสำหรับเลี้ยงสัตว์ 7. สาคู 8. ถั่วลิสง 9. ธัญพืช (ลูกเดือย)

หมวดสินค้าอุตสาหกรรม : 1. นาฬิกาข้อมือ 2. ผ้าผืนและด้ายทำจากฝ้าย 3. เส้นใยประดิษฐ์ เส้นใยสังเคราะห์ 4. เครื่องสุขภัณฑ์ทำด้วยทองแดง 5. ผลิตภัณฑ์เซรามิก 6. อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์ และไดโอด (โซลาร์เซลล์) 7. หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ 8. แผงวงจรไฟฟ้าและตัวเก็บประจุไฟฟ้า 9. เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้ง 10. เหล็กและผลิตภัณฑ์ 11. ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม 12. โทรศัพท์และอุปกรณ์

 

ตลาดจีน

หมวดสินค้าเกษตรและอาหาร : 1. มันสำปะหลัง 2. ผลไม้แห้ง 3. ปลาแช่เย็นแช่แข็งและกระป๋อง 4. ผักและผลไม้เชื่อม แช่อิ่ม ดอง และกระป๋อง 5. น้ำตาลกลูโคส ฟรักโทส มอลโทส 6. ซอสปรุงรสและผงมัสตาร์ด 7. นมยูเอชที 8. อาหารสัตว์เลี้ยง

หมวดสินค้าอุตสาหกรรม : 1. ยางนอก 2. หนังเฟอร์ฟอกหรือตกแต่งแล้ว (หนังมิงค์) 3. เส้นใยสังเคราะห์ 4. แผ่นไม้อัด ไม้เลื่อย 5. สารที่ใช้ทำกาว 6. ผลิตภัณฑ์พลาสติก (ซิลิโคน พอลิเมอร์ และบรรจุภัณฑ์พลาสติก) 7. เครื่องสุขภัณฑ์และเครื่องใช้ในครัวที่ทำจากเซรามิก 8. ฐานรองฟูก 9. ใยยาวสังเคราะห์ 10. หนังฟอก 11. ผลิตภัณฑ์กระดาษ (แท่นกรองหรือแผ่นที่ทำด้วยเยื่อกระดาษ กระดาษ/กระดาษแข็ง)

 

ตลาดญี่ปุ่น

หมวดสินค้าเกษตรและอาหาร : 1. ผลิตภัณฑ์แป้ง (แป้งข้าวโพด/ข้าวไรซ์/ข้าวเหนียว) 2. เนื้อสัตว์แปรรูปและกระป๋อง 3. อาหารสัตว์เลี้ยง 4. ซอสปรุงรส 5. น้ำตาลทราย

หมวดสินค้าอุตสาหกรรม : 1. สารที่ใช้ทำกาว 2. หลอดหรือท่อทำด้วยทองแดง 3. ด้ายที่ทำด้วยยางวัลคาไนซ์ 4. ถุงมือยาง 5. ตัวถังรถยนต์ 6. สิ่งปรุงแต่งสำหรับผม (แชมพู/น้ำยาดัดหรือยืดผม) 7. ของที่ทำจากดีบุก 8. ผลิตภัณฑ์ทำจากแก้ว (กระจกนาฬิกา/กระจกแว่นตา แก้ว กระเบื้องแก้ว) 9. เส้นใยสังเคราะห์ 10. เม็ดพลาสติกโพลิเมอร์

 

ตลาด CLMV

หมวดสินค้าเกษตรและอาหาร : 1. น้ำตาลจากอ้อย 2. โคกระบือและสุกรมีชีวิต 3. เครื่องดื่ม น้ำแร่ น้ำอัดลม น้ำดื่มปรุงกลิ่นรส 4. เนื้อสัตว์ปรุงแต่ง 5. ปลาปรุงแต่ง 6. ขนมปังกรอบ 7. อาหารปรุงแต่งจากธัญพืช

หมวดสินค้าอุตสาหกรรม : 1. แคลเซียมฟอสเฟตธรรมชาติ 2. สบู่ 3. แทรกเตอร์เพลาเดียว 4. รถพ่วง 5. ยางรถยนต์ (ขนาดใหญ่) 6. น้ำยางธรรมชาติ 7. ก๊าซและปิโตรเลียม

 

ผลจากการศึกษาพบว่าสินค้าส่วนใหญ่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี มีความต้องการสูงในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ทั่วโลกยังคงมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหาร ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องเร่งพัฒนาคุณภาพสินค้า ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนามาตรฐานและความปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคชาวต่างชาติในการนำเข้าสินค้าไทย ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมไทยมีศักยภาพค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยรักษาส่วนแบ่งตลาดในประเทศคู่ค้าไว้ได้ จึงควรรักษาตลาดและเร่งเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในช่วงที่ประเทศคู่แข่งยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด 19

 

3 กลุ่มประเทศคู่ค้าที่ไทยควรขยายสัมพันธ์การค้าในอนาคต

กลุ่มที่ 1 : ประเทศคู่ค้าที่มีศักยภาพการนำเข้าสูง ความต้องการสินค้านำเข้าเป็นสินค้าประเภทเดียวกับที่ไทยส่งออกหลายรายการ และไทยส่งออกไปประเทศเหล่านั้นได้สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศคู่ค้าอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องรักษาฐานลูกค้าและสร้างความจงรักภักดี (Loyalty) ต่อสินค้าไทย หากเจรจาจัดทำ FTAเพื่อให้ไทยมีแต้มต่อจะเป็นผลดีอย่างยิ่ง ได้แก่ อเมริกาเหนือ (สหรัฐฯ แคนาดา) ยุโรปตะวันตก (เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส) โอเชียเนีย (ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย

กลุ่มที่ 2 : ประเทศคู่ค้าที่มีศักยภาพการนำเข้าสูง ความต้องการสินค้านำเข้าเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับที่ไทยส่งออกหลายรายการ แต่ไทยมีการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าเหล่านั้นในระดับปานกลาง กลุ่มประเทศเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เป็นคู่ค้าที่มีการค้าอยู่ในระดับสูงได้ โดยไทยควรมุ่งทำการตลาดเชิงรุก หากมีอุปสรรคทางการค้าควรเร่งเจรจาแก้ไขปัญหาและอุปสรรค เพื่อขยายส่วนแบ่งตลาดหรือหากเจรจาการค้า เพื่อให้ไทยมีแต้มต่อหรือได้รับประโยชน์มากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไทยควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก โดยส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรปเหนือหรือสแกนดิเนเวีย (นอร์เวย์ เดนมาร์ก สวีเดน ฟินแลนด์) ยุโรปตะวันออก (สโลวีเนีย เช็ก ออสเตรีย ฮังการี โปแลนด์) และบางประเทศแถบตะวันออกกลาง (กาตาร์ อิสราเอล) โดยประเทศที่กล่าวมาล้วนเป็นประเทศที่ประชาชนมีรายได้ต่อหัวสูง

กลุ่มที่ 3 : ประเทศคู่ค้าที่มีศักยภาพการนำเข้าสูง ความต้องการสินค้านำเข้าเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับที่ไทยส่งออกหลายรายการ แต่ประเทศไทยส่งออกไปน้อย กลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ไทยควรเร่งศึกษาตลาด เพื่อขยายฐานลูกค้าเพิ่มเติม ได้แก่ ไอซ์แลนด์ เอสโตเนีย ลิทัวเนีย และคาซัคสถาน

 

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
7735 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2485 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5710 | 23/10/2022
สรุปสินค้าไทยปี 63 และแนวทางส่งออกในอนาคต