ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการปรับองค์กรในระยะยาว

SME in Focus
23/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2651 คน
ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการปรับองค์กรในระยะยาว
banner

เอสเอพี เอสอี (NYSE: SAP) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้นำองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 4,500 คน ภายในงาน SAP Forward Together ผลสำรวจระบุว่า ผู้นำองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่มองว่าวิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้กระทบกับการดำเนินธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาค และกังวลว่าอาจส่งผลต่อเนื่องในระยะยาว


โดยกว่าร้อยละ 40 ขององค์กรธุรกิจยังคงใช้กลยุทธ์รอดูสถานการณ์ (wait and see) ขณะเดียวกันหลายองค์กรเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกลยุทธ์ “innovate และ transform” ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อปรับวิธีในการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ทั้งนี้ในยุค new reality องค์กรที่หันมาใช้เทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาด และปรับตัวสู่การเป็น อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จะสามารถเพิ่มศัยกภาพในการทำงานภายในองค์กร โดยใช้ทรัพยากรที่น้อยลง (do more with less) เพื่อส่งมอบประสบการณ์และบริการที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า สามารถบริหารจัดการซัพพลายเชนได้คล่องตัว และแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ เพื่อเพิ่มรายได้ให้องค์กรในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น


นอกจากนี้ ผลสำรวจยังเผยให้เห็นทิศทางธุรกิจในตลาดอาเซียนท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 โดยร้อยละ 63 ของผู้นำองค์กรธุรกิจในภูมิภาคนี้ มองเห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและแรงจูงใจในการซื้อของลูกค้ามาตั้งแต่ต้นปี 2563 ขณะที่ร้อยละ 21 ยังขาดความเข้าใจและอินไซต์เชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ องค์กรส่วนใหญ่ยังยึดกับแผนการบริหารแบบ ‘เชิงรับ’ โดยรอให้ภาวะเศรษฐกิจหยุดชะงักจากโควิด-19 คลี่คลายในเวลาที่เหมาะสม


อย่างไรก็ตามแม้ว่าปัจจุบันองค์กรต่างๆ จะปรับกระบวนการทำงานไปสู่รูปแบบอีคอมเมิร์ซและการขายผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ธุรกิจขนาดเล็กยังคงมีความกังวลต่อค่าใช้จ่ายสำหรับการปรับใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล และการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่องค์กรธุรกิจกว่าร้อยละ 20 เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการปรับกลยุทธ์ด้าน Customer Experience เพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปในแพลตฟอร์มต่างๆ


รวมทั้งการบริหารจัดการด้านซัพพลายเชนและงาน Operations เป็นอีกด้านที่องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคนี้ให้ความสำคัญ โดยร้อยละ 22 ขององค์กรธุรกิจ กำลังแพลนที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเชนและงาน operations ในอนาคต นอกเหนือจากรูปแบบการบริโภคของลูกค้าที่เปลี่ยนไป มาตรการล็อคดาวน์ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านซัพพลายเชน เป็นไปในรูปแบบ Stop-go pattern ซึ่งมีการหยุดพักสลับกับเดินหน้าต่อในการทำธุรกิจร่วมกัน 

 

ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการปรับองค์กรในระยะยาว


อย่างไรก็ตามท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน องค์กรต่างตระหนักและกังวลถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิด-19 พร้อมโฟกัสไปที่วางแผนรับมือในระยะยาวและเน้นสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ผู้นำองค์กรธุรกิจในอาเซียนกว่าร้อยละ 80 เห็นว่าผลกระทบในครั้งนี้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจและวิธีการทำงานใหม่ โดยมีเพียงร้อยละ 1 ที่มองว่าสามารถดำเนินธุรกิจตามปกติ (business-as-usual) ได้ในระยะยาว  

  

เนื่องจากองค์กรต่างๆ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจตามปกติ (business-as-usual) ได้ ผู้นำธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนจึงจัดลำดับความสำคัญขององค์กรใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่การทำ business transformation หรือปรับวิธีในการทำธุรกิจ (ร้อยละ 21) รองลงมาคือการทำ Customer engagement  หรือสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (ร้อยละ 15) การปรับปรุงกระบวนการทำงานทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ร้อยละ 14) การสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ (ร้อยละ 12) และการเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการซัพพลายเชน (ร้อยละ 9) ตามลำดับ




ทั้งนี้ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตการณ์โควิด-19 การใช้งานเทคโนโลยีเพื่อทำ BusinessTransformation จะมุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นหลัก แต่หลังจากนี้จะเปลี่ยนไปในโลกหลังโควิด-19 จะมุ่งไปที่การปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตใหม่ บทบาทของเทคโนโลยีจะต้องสามารถตอบสนองจุดมุ่งหมายที่เปลี่ยนแปลงไป ดังต่อไปนี้


- ช่วยให้องค์กรปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว (Resiliency) เพื่อนำพาองค์กรผ่านช่วงเวลาที่ท้าทาย พร้อมปรับตัวสอดรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

ช่วยต่อยอดสร้างผลกำไรให้องค์กร (Profitability) ทำให้เห็น top-line และ bottom-line วางรากฐานการเติบโตของธุรกิจ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน

- ช่วยให้องค์กรดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability) ด้วยการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดของเสีย เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy)


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


New Normal คันเร่งสังคมไร้เงินสด

ธุรกิจยุคใหม่ต้อง ‘ไร้สัมผัส’

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transformation โรงงานผลิตพืชผลการเกษตรจากเคมีฟาร์ม สู่ข้าวโพดหวานออร์แกนิก ส่งเสริมเกษตรกรไทย เติบโตไปพร้อมกัน

Transformation โรงงานผลิตพืชผลการเกษตรจากเคมีฟาร์ม สู่ข้าวโพดหวานออร์แกนิก ส่งเสริมเกษตรกรไทย เติบโตไปพร้อมกัน

อาชีพเกษตรกรยุคดิจิทัล เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากการเป็นเพียงผู้ผลิต มีการพัฒนาความรู้ ทักษะ ผสมผสานความรู้ดั้งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่…
pin
386 | 17/05/2024
‘GBY Digital Tech’ สานฝันเด็กไทย ปูทางสู่โอกาสการศึกษาดนตรี และศิลปะผ่าน แพลตฟอร์ม e-Learning Online

‘GBY Digital Tech’ สานฝันเด็กไทย ปูทางสู่โอกาสการศึกษาดนตรี และศิลปะผ่าน แพลตฟอร์ม e-Learning Online

ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกการดำเนินชีวิตของมนุษย์ รวมถึงยังแทรกซึมเข้ามาในระบบการศึกษาไทย ทำให้ปัจจุบัน…
pin
347 | 16/05/2024
จากกองภูเขาเศษหนังเหลือทิ้ง สู่แบรนด์ ‘THAIS’ เครื่องหนังรักษ์โลกสุดคูล

จากกองภูเขาเศษหนังเหลือทิ้ง สู่แบรนด์ ‘THAIS’ เครื่องหนังรักษ์โลกสุดคูล

‘ESG’ กลายเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ที่ผู้ประกอบการทั่วโลก ต่างให้ความสำคัญ และเริ่มนำมาปรับใช้อย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน มีธุรกิจ SME…
pin
767 | 13/05/2024
ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการปรับองค์กรในระยะยาว